'สธ.'เตรียมพร้อมดูแลผู้ป่วย24 ชม.รับมือ'ปาบึก'
การเมือง
นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า ได้กำชับให้เตรียมความพร้อมใน 5 ด้าน ดังนี้ 1.ป้องกันอาคารสถานที่ อุปกรณ์การแพทย์ ก่อสร้างที่กั้นน้ำในพื้นที่บริการผู้ป่วยหรืออาคารที่สำคัญ เตรียมเครื่องสูบน้ำ ตรวจสอบระบบระบายน้ำไม่ให้อุดตัน เคลื่อนย้ายเวชภัณฑ์ เอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย สำรวจความแข็งแรงสิ่งก่อสร้าง ป้ายประกาศ ไฟส่องสว่าง ตัดแต่งต้นไม้ รื้อถอนสิ่งที่เป็นอันตรายหรือซ่อมแซมให้ปลอดภัย 2.สำรองยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นในการจัดบริการ เช่น ระบบไฟฟ้าสำรอง น้ำมัน ออกซิเจน อาหาร เป็นต้น 3. สำรวจผู้ป่วยที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ และไม่สามารถเดินทางมาสถานบริการได้ เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ออกเยี่ยมบ้านและจ่ายยาให้เพียงพอ 4.เตรียมแผนประคองกิจการ ปรับพื้นที่ให้บริการ กรณีไม่สามารถเปิดบริการได้ และแผนการอพยพเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมทั้งประสานรพ.ข้างเคียงร่วมจัดบริการนอกสถานที่ เตรียมที่พักที่ปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และ5.เตรียมทีมเคลื่อนที่เร็วช่วยเหลือทางการแพทย์ เช่น ทีมปฏิบัติการกู้ชีพฉุกเฉิน (EMS) ชุดปฏิบัติการแพทย์สนามฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติ (MERT : Medical Emergency Response Team) และทีมมินิ-เมิร์ท ทีมฟื้นฟูเยียวยาทางสุขภาพจิต (MCATT) ทีมอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
นพ.สุขุม กล่าวว่า ขณะนี้ ทุกจังหวัดได้เตรียมความพร้อมแล้วโดยเปิดศูนย์ EOC ที่จังหวัด สถานบริการที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้ขนย้ายยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ ไว้ที่สูง สำรองยาเวชภัณฑ์ มีข้อมูลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ข้อมูลผู้ป่วยหนัก มีทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ พร้อมให้การดูแลหากเกิดภาวะฉุกเฉินแล้ว ขณะเดียวกันได้ให้เขตสุขภาพที่ 3 – 6 เตรียมพร้อมให้การสนับสนุนจังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียง และส่วนกลาง โดยกองสาธารณสุขฉุกเฉิน ได้สำรองยาชุดน้ำท่วม 50,000 ชุด ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า หน้ากากอนามัย เสื้อชูชีพ พร้อมให้การสนับสนุนพื้นที่ สามารถประสานงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง.