ข่าวรมว.เกษตรฯ สั่งจับตาพวกฉวยขึ้นราคาสินค้า - kachon.com

รมว.เกษตรฯ สั่งจับตาพวกฉวยขึ้นราคาสินค้า
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 6 ม.ค.นายกฤษฏา บญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้สั่งการศูนย์อํานวยการและบัญชาการสถานการณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศอบ.กษ.) พายุโซนร้อนปาบึก ให้ระดมเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเกษตร โดยเฉพาะการประมง ท้ังประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน เพาะเลี้ยงชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตลอดแนว จึงขอให้เกษตรฯ จังหวัดพิจารณาดำเนินการ เฝ้าระวัง เตือนภัย พื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ พื้นที่ริมเชิงเขา ริมแม่น้ำลำคลอง (พื้นที่มีความล่อแหลม เปราะบางสูง) สำรวจชาวประมง และเกษตรกรให้ได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบที่เกี่ยวข้องจากรัฐอย่างทั่วถึง ทันเวลา โดยให้ระดัมเจ้าหน้าที่สำรวจเป็นรายอำเภอ โดยเฉพาะจังหวัดที่สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ให้เร่งดำเนินการและทำข้อมูลเสนอกองบัญชาการบรรเทาสาธารณภัย กชภอ.และกชภช.พิจารณาประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้เกษตรกรได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด และให้ระวังป้องปรามการฉวยโอกาสขึ้นราคาวัสดุทางการเกษตร หรือกักตุนสินค้า หากพบการฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามกฎหมาย

นายกฤษฏา กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่การเกษตรประสบภัย 13 จังหวัด เกษตรกรรวมทั้งสิ้น 189,688 ราย แบ่งเป็นด้านพืช 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง ปัตตานี ชุมพร เกษตรกร 158,550 ราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 116,823 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 20,437 ไร่ พืชไร่ 2,513 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 93,873 ไร่ ด้านประมง7จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ตราด เกษตรกร 6,653 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำ คาดว่าจะเสียหาย 22,364 ไร่ (บ่อปลา 12,484 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 9,880 ไร่) กระชัง 4,050 ตารางเมตร ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ปัตตานี เกษตรกร 25,138 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,216,681 ตัว แบ่งเป็น โค- กระบือ 46,678 ตัว สุกร 49,993 ตัว แพะ-แกะ 9,021 ตัว สัตว์ปีก 1,110,989 ตัว ส่วนเรือประมง ประสบภัย 8 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ระนอง สงขลา ปัตตานี จำนวน 86 ลำ



ทั้งนี้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2556 ในกรณีเสียหายสิ้นเชิง และ ตาย/สูญหายด้านพืช ช่วยเหลือรายละไม่เกิน 30 ไร่ ข้าว 1,113 บาท พืชไร่ 1,148 บาท พืชสวน 1,690 บาท ช่วยเหลือค่าขนย้ายดินโคลน ไร่ละไม่เกิน 7,000 บาท รายละ 5 ไร่ ช่วยเหลือค่าปรับเกลี่ยพื้นที่ช่วยเหลือ ไร่ละ 700 บาท ไม่เกิน 30 ไร่ ด้านประมง ปลา 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง/ปู หอย ทะเล 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชัง 315 ตรม. ไม่เกิน 80 ตรม. ด้านปศุสัตว์ โค-กระบือ ตัวละ 6,000 บาท-22,000 บาท ไม่เกินสองตัว ยางพารา สมาชิกการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)เสียสภาพสวน ให้ทุนปลูกแทน ไร่ละ 16,000 บาท ช่วยเหลือค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมคอกสัตว์/โรงเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 5,000 บาท

รวมทั้งช่วยเหลือเรือประมงตามระเบียบกรมประมง พ.ศ. 2541/ตามระเบียบก.คลัง พ.ศ. 2556 กรณีเรือความยาวไม่เกิน 10 เมตร ช่วยเหลือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ลำละ 20,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 30,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 66,000 บาท กรณีเรือความยาวเกิน 10 เมตร ช่วยเหลือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 70,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 95,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 200,000 บาท กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบกรมประมงฯ ให้ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า หลังพายุคลี่คลายได้กำชับ เกษตรจังหวัด ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ และ 2 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี ให้ทุกหน่วยงานเฝ้าติดตามข่าวสาร ประเมินสถานการณ์ และรายงานตรงให้ทราบทันที ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้ให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการอารักขาพืช ทั้ง 9 ศูนย์ทั่วประเทศ ผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาเพื่อช่วยป้องกันโรคที่อาจจะเกิดหลังน้ำลดได้ เบื้องต้น65,000 กก. รองรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางการเกษตร กว่า 65,000 ไร่ ขณะนี้ได้ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ สำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือตามเกณฑ์ต่อไป อย่างไรก็ตาม เรื่องจากหลายพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังกระทบกับยางและปาล์ม ระยะแรกนี้จะห้ามคน สัตว์และเครื่องจักรเข้าไปเหยียบย่ำ แล้วให้เร่งระบายน้ำออกเมื่อดินแห้งแล้วค่อยเข้าไปปรับสภาพดินและใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาใส่ลงไปในดินเพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าได้.