ข่าวกกต.สั่งปูพรมเกาะติดว่าที่ผู้สมัครส.ส.ทางการข่าว - kachon.com

กกต.สั่งปูพรมเกาะติดว่าที่ผู้สมัครส.ส.ทางการข่าว
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 8 ม.ค. ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ นายดุษฎี พรสุขสวัสดิ์ รองเลขาธิการ กกต. กล่าวในการประชุมเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง ส.ส. ให้กับผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศ โดยกำชับให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดสั่งเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพราะบางครั้งพฤติกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย  และอาจไม่ได้เกิดจากตัวผู้สมัคร โดยตรง   ซึ่งแม้จะยังไม่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ส.ส. ก็ขอให้เก็บข้อมูลไว้เพื่อเป็นการสืบสวนในทางการข่าว  เพราะหากมีการร้องเรียนที่ กกต.ต้องพิจารณาจะได้นำมาเป็นข้อมูล พยานหลักฐาน ใช้ในภายหลัง   พร้อมระบุว่าจะเสนอให้เลขา กกต.ทำหนังสือถึงปลัด 3 หน่วยงาน   คือ กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงคมนาคม และ กทม  เกี่ยวกับเรื่องกวดขันการปิดป้ายหาเสียงในช่วงที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง   โดยให้ทั้ง 3 หน่วยงานใช้กฎหมายหมายของตัวเองดูแลเรื่องการปิดป้าย ในช่วงที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง    กกต.จึงไม่สามารถไปดำเนินการกับป้ายหาเสียงของว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.  เกรงว่าจะมีปัญหาตามมาเรื่องการลักทรัพย์ และค่าใช้จ่ายในการปลดป้าย   ซึ่งหาก 3 หน่วยงานรับเรื่องไปจะได้มีผลในทางกฎหมาย

นายดุษฎี  ยังกล่าวว่าขอให้ ผอ.เลือกตั้งประจำจังหวัด กำชับให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพื่อเป็นเก็บเป็นข้อมูล   หากมีเรื่องร้องเรียนมา  แต่อย่าไปยืนยันหรือวินิจฉัย ว่าสิ่งใดทำ ทำไม่ได้ เพราะผู้สมัครจะนำไปเป็นหลักฐาน ในการดำเนินการ  รวมทั้งการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดภาคใต้ที่ประสพภัยพิบัติปาบึก ขอให้ให้ไปสังเกตุการณ์   เพราะการลงพื้นที่ช่วยประชาชนไม่ใช่เรื่องผิด แต่ขอให้ดูว่าลงพื้นที่ของนักการเมืองและว่าที่ผู้สมัครมีนัยยะแอบแฝงหรือไม่ ดูได้ง่ายๆว่า ลงพื้นที่ที่ประสพภัย หรือว่าไปในเขตที่ไม่ได้เกิดเหตุ  เพราะอาจมีเรื่องการหาเสียงแฝง

นายดุษฎี ยังกล่าวถึงระงับสิทธิสมัครชั่วคราว (ใบส้ม) ของผู้สมัคร ส.ว. บุรีรัมย์ ว่า  กรณีนี้ กกต.จะทำให้เป็นคดีตัวอย่าง เพื่อใช้สำหรับการเลือกตั้ง  ส.ส.โดยตามกฎหมายแล้ว กกต.จะต้องมีการพิจารณาว่าจะเสนอให้ศาลเพิ่กถอนสิทธิเลือกตั้ง  (ใบแดง) และเพิกถอนสิทธิ์สมัคร (ใบดำ)   โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างที่สำนักงานจะเสนอให้ กกต.พิจารณาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ กกต. หากเห็นว่า เป็นความผิดทางอาญา ก็ส่งไปยังอัยการเพื่อตั้งเรื่องเสนอศาล หรือ จะต้องไปร้องทุกข์กล่าวโทษ แต่ผู้สมัคร ส.ว.รายชี้โชคดีที่การเลือกตั้ง ส.ว. ไม่ได้ถูกล้ม ไป เพราะหากถูกล้มไปด้วยจะต้องถูกเรียกค่าสียหาในการจัดการเลือก ส.ว.ใหม่ 1,300 ล้านบาท.