ข่าว'กฤษฏา'สั่งทุกกรมช่วยเหยื่อปาบึก เร่งฟื้นฟูอาชีพ-พื้นที่เกษตร - kachon.com

'กฤษฏา'สั่งทุกกรมช่วยเหยื่อปาบึก เร่งฟื้นฟูอาชีพ-พื้นที่เกษตร
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่10 ม.ค. นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าศูนย์อํานวยการและบัญชาการสถานการณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศอบ.กษ.) พายุโซนร้อน “ปาบึก"รายงานผลกระทบด้านเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตรประสบภัย 17 จังหวัด เกษตรกรรวมทั้งส้ิน 288,087 ราย แบ่งเป็น ด้านพืช 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ พัทลงุ ชุมพร กระบี่ และยะลา เกษตรกร 231,282 ราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 192,485 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 34,567 ไร่ พืชไร่ 3,884 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ154,034 ไร่

ด้านประมง 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร กระบี่ สตูล  ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เกษตรกร 8,947 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย 30,540 ไร่ (บ่อปลา 19,152 ไร่ บ่อกุ้ง /ปู/หอย 11,388 ไร่) กระชัง 18,777 ตารางเมตร

ด้านปศุสัตว์ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นราธิวาส พัทลุง ชุมพร ยะลา และประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกร 47,858 ราย สัตว์ในพื้นที่ประสบภัย 2,664,683 ตัว แบ่งเป็น โค- กระบือ 93,370 ตัว สุกร 92,042 ตัว แพะ-แกะ 21,411 ตัว สัตว์ปีก 2,457,860 ตัว แปลงหญ้า 3,609 ไร่ สํารวจพบควํามเสียหํายแล้ว 5 จังหวัด เกษตรกร 119 รําย สัตว์ตาย/สูญหาย 2,999 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 68 ตัว สุกร 3 ตัว แพะ-แกะ 131 ตัว สัตว์ปีก 2,797 ตัว 
เรือประมง ประสบภัย 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ระนอง ชุมพร สตูล ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และตราด จำนวน 119 ลำ

ทั้งนี้ กรมชลประทาน เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชบุรี คลองบางสะพาน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คลองหลังสวน คลองท่าแซะ คลองท่าตะเภา คลองชุมพร จังหวัดชุมพร คลองท่าดี และพื้นที่ลุ่มต่ำ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช   การระดมเครื่อสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นท่ีอย่างต่อเนื่องต้ังแต่ วันท่ี 4 ม.ค.62 ถึงปัจจุบัน รวมเครื่องสูบน้ำ 61 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 118 เครื่อง โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 10 วัน  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งสูบน้ำท่วมพื้นที่สวนส้มโอทับทิมสยาม จำนวน 1,600 ไร่ โดยติดต้ังเครื่องสูบน้ำ 18 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 10 เครื่อง รวมทั้งนำรถแบ็คโฮ 6 คัน ก้าจัดเศษสวะในคลองระบายต่างๆ เพื่อให้น้ำไหลลงสู่คลองบาง จากได้สะดวกก่อนระบายน้ำออกสู่ทะเลต่อไป จะเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันนี้



กรมปศุสัตว์ จัดส่งหญ้าพระราชทาน จำนวน 5,418 ฟ่อน (108,360 กก.) ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3,618 ฟ่อน  (72,360 กก.) จังหวัดสงขลา 800 ฟ่อน (16,000 กก.) จังหวัดนราธิวาส 600 ฟ่อน (12,000 กก.) และจังหวัดสุราษฎร์ธานี  400 ฟ่อน (8,000 กก.) หน่วยเฉพาะกิจสัตว์แพทย์เคลื่อนที่ จ้านวน 60 นาย ให้การช่วยเหลือในพื้นที่นครศรีธรรมราช  แจกจ่ายเสบียงสัตว์ 111,960 กิโลกรัม และถุงยังชีพสัตว์ 2,208 ชุด ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี  สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส  อพยพสัตว์ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 อ้าเภอ (ร่อนพิบูลย์ ท่าศาลา) 7 แห่ง โค 1,825 ตัว เกษตรกร 261 ราย 



ปัจจุบันได้อพยพสัตว์กลับเข้าที่พื้นที่ และการเคลื่อนย้ายสัตว์ไปยัง พื้นที่ปลอดภัย จำนวน 244,193 ตัว ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี  สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ และพัทลงุ ปัจจุบันเคลื่อนย้ายสัตว์กลับเข้าพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ปศุสัตว์จังหวัดส่งทีมดูแลและเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยง (สุนัข แมว) ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถตดิ ต่อได้ที่ 075-356254 075-356-454  กรมประมง กองตรวจการประมงจัดชุดเฉพาะกิจ จ้านวน 20 ชุด พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ 223 นาย รถยนต์ 35 คัน เรือตรวจการประมง 54 ลำ ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

กรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนเกษตรกรและสำรวจความเสียหายเบื้องต้น- ออกคำแนะน้าการดูแลสวนยางพารา สวนปาล์ม์น้ำมัน กรมการข้าว ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนเกษตรกรและสำรวจความเสียหายให้คำแนะน้าการเลือกซื้อเมล็ดข้าวพันธุ์ดี 

ส่วนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนสมาชิกสหกรณ์และสำรวยความเสียหายเบื้องต้น ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ สหกรณ์นิคมบางสะพาน  โดยมีสมาชิกสหกรณ์ ประสบภัย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นครศรีธรรมราช สงขลา  และพัทลุง จำนวน 111 แห่ง สมาชิก 19,992 ราย  กรมพัฒนาที่ดิน ผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใชสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 เพื่อสนับสนนุพื้นที่น้ำท่วมขัง ทีมฟื้นฟูจังหวัด เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เพื่อเยี่ยมเยียนเกษตรกร 10 จังหวัด เพชรบุรี กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส ยะลา ระนอง  สงขลา สุราษฎร์ธานี และตราด กว่า 7,700ราย 



ด้านนายสำราญ  สาราบรรณ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต้องรอระดับน้ำลดจึงจะเข้าฟื้นฟูได้ ซึ่งขณะนี้ พื้นที่ส่วน ทั้งสวนส้มโอ สวนยางพารา สวนปาล์ม น้ำลดระดับลงและเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เตรียมพร้อมสำหรับให้เจ้าหน้าที่การเกษตรทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ลงพื้นที่ฟื้นฟู พร้อมทั้งสำรวจความเสียหายเพื่อให้เกษตรกรได้รับเงินช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป แล้ว  สำหรับการแจกจ่ายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า จำนวน 100,000 กิโลกรัม นั้น ได้สั่งการให้ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ซึ่งศูนย์มีความพร้อมและมีเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมสำหรับการแจกจ่ายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า จำนวน 100,000 กิโลกรัม ให้เกษตรกร ในจังหวัดที่ประสบภัย ได้ทันที

"วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เกษตรกรจะนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ใช้ทางดิน โดยใช้เชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมรำ 4 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก) 100กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน และนำส่วนผสมของเชื้อ นำไปโรยพื้นที่การเกษตรหลังน้ำลด ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด ซึ่งมักจะระบาดในพื้นที่น้ำท่วมขัง และเชื้อโรคแพร่กระจายไปกับน้ำ ซึ่งเกษตรกรจำเป็นมากที่จะต้องใช้"นายสำราญ กล่าว.