ข่าวแนะจับตาคุมค่ารักษาชงครม. หวั่นเป็นมวยล้มต้มคนดู  - kachon.com

แนะจับตาคุมค่ารักษาชงครม. หวั่นเป็นมวยล้มต้มคนดู 
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 11 ม.ค. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อชท์) และผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีการไฟล์สดผ่านเฟสบุ๊ก “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” หลังเข้าร่วมการหารือด่วนระหว่างกระทรวงพาณิชย์ รพ.เอกชน และเครือข่ายผู้บริโภค  โดยน.ส.สารี กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้มีการนัดประชุมด่วนฉุกเฉิน เพราะหลังจากณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า และบริการ (กกร.) มีมติจะเห็นว่ามีทุนใหญ่พยายามล็อบบี้ไม่ให้ทำเรื่องนี้สำเร็จ ซึ่งยืนยันว่าการกำกับมีความสำคัญ มีความจำเป็น เพราะถ้าดูจากเรื่องร้องเรียน จะเห็นว่าเป็นเรื่องร้องเรียนลำดับที่ 2 ของเรื่องร้องเรียนด้านบริการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่ารักษาพยาบาลแพง ถูกเก็บค่ารักษาพยาบาลทั้งๆ ที่ไม่ควรจะต้องเก็บ และคิดค่าบริการที่อาจะเรียกว่าไม่มีสิทธิคิด

อยากเรียนว่าผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจากการคิดค่าบริการแพง หลายคนบอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ไปใช้บริการที่รพ.ของรัฐ แต่ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอ เพราะหลายครั้งไปใช้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งบางครั้งถูกคิดโดยบอกว่าไม่ได้เป็นวิกฤติฉุกเฉิน จึงถูกคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตราที่แพงมาก ดังนั้นเราอยากให้มีเพดานค่ารักษา และกำกับค่าวิชาชีพด้วย ดูต้นทุนค่ายา เช่น จะให้คิดค่ายาไม่เกินกว่าร้านขายยากี่เท่า นี่คือสิ่งที่เราเรียกร้องและเห็นด้วยว่าให้กระทรวงพาณิชย์เดินหน้านำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้นอยากให้ทุกคนจับตาว่าจะเป็นมวยล้มต้มคนดูหรือไม่ ที่ออกมาเก็บคะแนนแล้วไม่ทำจริง เรื่องนี้เป็นของทุกคน ไม่เฉพาะคนไปใช้รพ.เอกชนเท่านั้น แต่การที่ค่ารักษาในรพ.เอกชนแพงจะกระทบกับบัตรทอง ประกันสังคม สวัสสดิการข้าราชการแน่นอน ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้นแน่นอน ที่สำคัญเราจะถูกดึงแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญไปอยู่รพ.เอกชนหมด รพ.รัฐจะเหลือเพียงหมอจบใหม่ ซึ่งนี่ไม่ใช่สิ่งที่เราคิดไปเอง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ยิ่งรพ.เอกชนเน้นให้เป็นเมดิคอลฮับด้วย ดังนั้นจึงหวังว่าจะเดินหน้าเอาเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม.สัปดาห์หน้าหรือไม่

“ยืนยันว่าตลาดหุ้นไม่ได้เป็นปัญหาเลย อย่างที่บอกว่าตอนนี้บางตัวเคยอยู่แค่ 7 บาท 3 บาท หุ้นไม่ได้เป็นเส้นตรง เพราะฉะนั้นคิดว่าเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องตลาดทุนทั่วไป นี่เป็นเรื่องผิดหวังมากที่รพ.เอกชนอยู่ในตลาดหุ้นมานาน แม้กระทั่งประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แข่งขันทุนนิยมสูงกว่าเรายังไม่ยอมให้รพ.เอกชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เลย เพราะฉะนั้นคิดว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมาก อยากให้กระทรวงสาธารรสุขทำหน้าที่สนับสนุนเรื่องนี้ด้วย ไม่ใช่ออกมาเป็นอุปสรรคหรือขัดขวาง อย่างคำพูดรมว.สาธารณสุขดูหมือนจะไม่ค่อยเห็นด้วยกับกรทำเรื่องนี้ที่บอกว่าการจะกำหนดเป็นสินค้าควบรื่องนี้ต้องมีการคุยกัน แต่ไม่ใช่ลักษณะของการบังคับให้เอกชนต้องทำตาม เพราะค่ารักษาพยาบาลแต่ละแห่งมีหลายอย่างประกอบกัน ต้นทุนต่างกัน ค่าใช้จ่ายต่างกัน ซึ่งเราไม่ได้มีปัญหากับเรื่องพวกนี้ แต่เบื้องต้นต้องทำให้ค่ารักษาพยาบาลต้องสามารถกำกับได้ มีเพดานที่ชัดเจน มีราคากลางที่ชัดเจนที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงรพ.อกชนได้ด้วย

ด้าน น.ส.กรรณิกา กล่าวว่า การที่รพ.เอกชนบอกว่าหุ้นตก จริงๆ แล้วบางเจ้าอยู่ในตลาด 16 บาท บางเจ้าเคยตก 7 บาทก็เคยมาแล้วฉะนั้นเรื่องสินค้าควบคุมไม่ใช่ประเด็น และเป็นเรื่องที่รพ.เอกชนจะปัดความรับผิดชอบไม่ได้ สมาคมรพ.เอกชนมักอ้างว่าจะทำลายการแข่งขันตามเมดิคัลฮับ ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุน แต่ถ้าดูสิงคโปร์ เมดิคัลฮับเขาแข่งขันกับไทยแน่นอน เขารับดูแลคนไข้ต่างประเทศน้อยกว่าไทย แต่จำนวนเงินมากกว่า แต่ประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมาพบปัญหาว่าค่าประกันชีวิต ประกันสุขภาพสูงมาก จนรัฐบาลสิงคโปร์ไม่ทำอะไรไม่ได้ ไม่อย่างนั้นประชาชนเดือดร้อนมากเพราะขึ้นไปมากกว่าเท่าตัว จาก 4,000 ล้านดอลล่าสิงคโปร์ เป็น 11 พันล้านดอลล่าสิงคโปร์ ทำให้ตอนนี้ทั้งรพ.เอกชน รพ.รัฐเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขมาคุยกัน และวิจัยจนชี้ให้เห็นว่ารพ.เอกชนราคาสูงกว่ารพ.รัฐในสิงคโปร์2.5 เท่า ซึ่งถือว่าเล็กน้อยมากถ้าเทียบกับของไทย แต่เขามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เดือดร้อนมาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่ารพ.เอกชนสิงคโปร์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบความโปร่งใสมาก ปรากฏว่าในงานวิจัยชิ้นนั้นพบว่าเป็นเพราะค่าบริการราคาสูง ให้บริการเกินจำเป็น และให้การบริการสุขภาพที่ไม่สมเหตุสมผล จนทำให้ตอนนี้มีคำสั่งให้ร่วมมือกันทำไกด์ไลน์ว่าค่าบริการ ค่ายาควรเป็นเท่าไหร่ หาก รพ.ไหนเก็บราคาสูงเกินก็อธิบายมาว่ามากกว่าเท่าไหร่ ถ้ารพ.เอกชนจะบอกว่าพรีเมียมชั้น 1 ชั้น 2 หรือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่าบอกมา ไม่ใช่บอกว่าไม่ได้ เรื่องความโปร่งใสจะเอาเรื่องแบบนี้มาเปิดเผยไม่ได้ เรื่องนี้อยากให้ติดตามเพราะทุนใหญ่ ล็อบบี้หนักมาก

ขณะที่ ผศ.ภญ.ยุพดี กล่าวว่า ข้อมูลข้อสังเกตเบื้องต้นว่าวันนี้มีภาวะคุกคามเรื่องการควบคุมราคายาเป็นจริง เพราะวันนี้มีการเปิดการประชุมก็มีภาคผู้แทนสมารคมรพ.เอกชน ขึ้นมาพูดประเด็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสข่าวว่าจะมีการควบคุมราค่าบริการและราคายา ซึ่งถ้าหากมองเรื่องความสมดุลของกระทรวงพาณิชย์ เหมือนเสียงในที่ประชุมกังวลว่าจะเทไปที่ความเสียหายของธุรกิจจนลืมความทุกข์ของผู้บริโภค ส่วนตัวมองว่าทุกข์ของผู้ประกอบการเป็นเพียงการขาดทุนกำไร แต่ความทุกข์ผู้ป่วยคือการล้มละลายของชีวิตและครอบครัวได้ ถ้าเทียบน้ำหนักแล้วเทียบกันไม่ได้ ทั้งนี้มีความพยายามให้นำประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการประกาศราคามาใช้ แต่ก็เป็นเพียงเรื่องเดิมที่บอกแค่ราคาแพคเกจแต่ไม่รู้ว่าราคานั้นเป็นธรรมหรือไม่ นั่นเพราะกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีอำนาจในการควบคุมราคาตรงนี้ แต่เป็นอำนาจของกกร. แต่หากกระทรวงพาณิชย์ไม่นไมติกกร.เข้าครม.นั่นแปลว่าสิ่งที่ช่วยกันเคลื่อนไหวเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจะล้มเหลว ดังนั้นต้องช่วยกันติดตาม.