ข่าวแจงหน้ากากอนามัยN95ใช้เฉพาะคนทำงานกลางแจ้ง - kachon.com

แจงหน้ากากอนามัยN95ใช้เฉพาะคนทำงานกลางแจ้ง
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 14 ม.ค. นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงกรณีมีรายงานข่าวว่าหน้ากากอนามัย เอ็น 95 ขาดตลาดเพราะประชาชนตื่นตัวในการป้องกันฝุ่นละอองเล็กพีเอ็ม 2.5 ไมครอน ที่พบเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลติดต่อกันหลายวัน ว่า มีหน้ากากอย่างหนึ่งที่สามารถใช้แทนหน้ากากเอ็น 95 ราคาพอๆ กันคือหน้ากากที่ใช้ป้องกันพิษ แต่เหมาะสำหรับคนที่ต้องรับควันพิษมากกว่า อย่างเช่นตำรวจจราจร คนทั่วไปไม่มีความเสี่ยงไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ทั้งนี้ จริงแล้วการใช้หน้ากากอนามัยเอ็น 95 ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ดี แต่ไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก คนที่ควรจะใช้หน้ากากชนิดนี้ควรเป็นคนที่ทำงานกลางแจ้งในพื้นที่เสี่ยง อาทิ กรรมกรก่อสร้าง จักรยานยนต์รับจ้าง และบรรดาพ่อค้า แม่ค้าในพื้นที่นั่น มากกว่า

รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ส่วนประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานกลางแจ้ง หรือแค่สัญจรผ่านพื้นที่เสี่ยงในเวลาไม่นานอาจจะไม่ต้องกังวลมากก็ได้ แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยโรคหอบ อาจจะต้องสวมหน้ากากป้องกันตัวเอง เพราะฝุ่นละอองขนาดเล็กอาจจะเข้าไปทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาฝุ่นละอองไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา และไม่ได้เกิดขึ้นทุกพื้นที่ ถ้าอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากพื้นที่เสี่ยงที่ค่าฝุ่นละอองไม่เกิน

นพ.ดนัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทางรมว.สาธารณสุขสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยจึงได้สั่งการให้มีการติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดว่ามีอาการรุนแรงหรือไม่ ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหรือไม่  ดังนั้นทางกรมอนามัยจึงได้ประสานขอข้อมูลไปยังโรงพยาบาลสังกัดกทม. รวมถึงโรงพยาบาลสังกัดอื่นๆ ที่ อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ว่ามีปริมาณคนไข้เพิ่มขึ้นแค่ไหน ซึ่งล่าสุดจากข้อมูลการใช้บริการในโรงพยาบาลต่างๆ นั้นไม่พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงไม่ได้มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

“ที่จริงแล้วฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและแสดงออกชัดเจนส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นขนาดพีเอ็ม 10 ไม่ครอน มากว่าซึ่งจะถูกดักจับด้วยเมือกและขนจมูก ระบบหลอดลม แต่ฝุ่นขนาดพีเอ็ม 2.5 ไมครอนนั้นขนาดเล็กมาก จะไม่ถูกดักจับแต่ลงไปถึงเนื้อปอด เข้าหลอดเลือด จะทำให้กระทบกับโรคเดิมที่เป็นอยู่ให้มีอาการรุนแรงขึ้น อาการถี่ขึ้น เช่น ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจะมีอาการหายใจติดขัด ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการหอบถี่ขึ้น รุนแรงขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอาการเหนื่อยหอบ เป็นต้น และในระยะยาวเนื่องจากมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม ซึ่งการอักเสบนี้ทำให้จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะมะเร็งปอด” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว