ข่าวนิด้าโพลเผยปชช.98.08%ไปหย่อนบัตรลต.แน่นอน - kachon.com

นิด้าโพลเผยปชช.98.08%ไปหย่อนบัตรลต.แน่นอน
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของประชาชน  เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชนหลังการเลือกตั้ง 2562” ระหว่างวันที่ 10 – 14 ม.ค.กลุ่มตัวอย่าง 1,253 คน โดยด้านเศรษฐกิจพบว่าร้อยละ 30.09 หวังการแก้ปัญหาปากท้องและหนี้สิน ร้อยละ 16.92 ส่งเสริมราคาสินค้า พืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 15.01 มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ และลดอัตราว่างงาน ร้อยละ 13.25 ลดค่าครองชีพ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำปะปา แก๊ส น้ำมัน ร้อยละ 11.09 การจับจ่ายใช้สอย/ค้าขาย มีความคล่องตัวมากขึ้น ร้อยละ 3.99 ระบุว่า สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ ร้อยละ 3.43 แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 2.79 ส่งเสริมการท่องเที่ยว ร้อยละ 2.47 กระจายการจ้างงานและสร้างรายได้ไม่ให้กระจุกตามหัวเมืองใหญ่ ส่วนร้อยละ 0.80 ไม่คาดหวังอะไร และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ
 
ส่วนด้านการเมือง ร้อยละ 25.30 ระบุว่านักการเมืองที่เสียสละเพื่อประชาชน มีคุณธรรม ร้อยละ 24.42 ได้นายกที่มีความเป็นผู้นำ มีความสามารถในการบริหารประเทศ ร้อยละ 14.45 มีการปฏิรูปการเมือง ปราศจากความขัดแย้ง ร้อยละ 12.21 ดำเนินการการเมืองให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 11.97 นักการเมืองรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ เข้ามาบริหารประเทศ ร้อยละ 8.78 ได้นโยบาย/โครงการใหม่ ๆ ที่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ร้อยละ 2.07 ไม่คาดหวังอะไร ร้อยละ 0.48 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ
 
ด้านกฎหมาย ประชาชน ร้อยละ 43.73 ระบุว่าคือการบังคับใช้กฎหมายเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 25.06 มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จริงจัง ร้อยละ 18.28 ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายมากขึ้น ร้อยละ 11.09 ปรับปรุงกฎหมายให้ทันยุคทันสมัย ร้อยละ 1.28 ไม่คาดหวังอะไร ร้อยละ 0.32 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ ส่วนด้าน ด้านเกษตรกรรม ประชาชน ร้อยละ 43.26 ระบุเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรสูงขึ้น ร้อยละ 14.60 มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ร้อยละ 13.09 ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ร้อยละ 12.05 มีแหล่งหรือตลาดที่แน่นอนในการขายพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 7.26 สามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ร้อยละ 4.63 ไม่มีหนี้สิน ร้อยละ 4.31 มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ร้อยละ 0.56 ไม่คาดหวังอะไร ร้อยละ 0.16 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ
 
ด้านการศึกษา ประชาชน ร้อยละ 29.69 ระบุว่า กระจายโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ร้อยละ 23.78 ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 21.55 โครงการเรียนฟรีถึงปริญญาตรี ร้อยละ 10.62 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เทียบเท่ากับต่างประเทศ ร้อยละ 3.83 ยกเลิกค่าแป๊ะเจี๊ยะ ร้อยละ 3.51 ส่งเสริมการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 3.35 นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับการศึกษา ร้อยละ 2.47 แก้ปัญหาการสอบเข้าในระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 0.96 อื่นๆ ได้แก่ ปลูกฝังเยาวชนไทยให้มีจิตสำนึก มีคุณธรรม และจริยธรรม           แต่บางส่วนไม่คาดหวังอะไร และร้อยละ 0.24 ไม่แน่ใจ           
 
ส่วนสิ่งที่อยากเห็นมากสุดหลังการเลือกตั้ง ร้อยละ 36.79 คือประเทศสงบสุขและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ร้อยละ 22.11 ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ร้อยละ 13.88 ปราศจากการคอร์รัปชัน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ร้อยละ 8.14 ประเทศกลับมาเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของอาเซียน ร้อยละ 5.03 ปราศจากการรัฐประหาร  ประชาชนทุกคนทั้งรวย จนมีสิทธิออกเสียงในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 4.79 การศึกษาที่มีคุณภาพ ร้อยละ 4.07 การบริการสาธารณสุขเท่าเทียมทั้ง ค่ารักษาพยาบาล การบริการด้านสาธารณสุข และร้อยละ 0.08 ไม่คาดหวังอะไร และไม่แน่ใจ ทั้งนี้ร้อยละ 55.47 ระบุว่าความเป็นอยู่ประชาชนหลังเลือกตั้งน่าจะดีขึ้น ร้อยละ 24.42 คิดว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 11.73 ดีขึ้นแน่นอน ร้อยละ 5.91 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.75 ไม่น่าจะดีขึ้น และร้อยละ 0.72 ไม่ดีขึ้นแน่นอน ทั้งนี้ เมื่อถามถึงการไปลงคะแนนเสียง พบว่า ร้อยละ 98.08 ระบุว่าไปแน่นอน ร้อยละ 1.36 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.56 ไม่ไปแน่นอน.