ข่าว'หมอล็อต'ลุ้นช่วยชีวิต'ลุก Skywalker' แร้งหิมาลัยพลัดหลง - kachon.com

'หมอล็อต'ลุ้นช่วยชีวิต'ลุก Skywalker' แร้งหิมาลัยพลัดหลง
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้าฝ่ายสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงการช่วยชีวิตแร้งหิมาลัยพลัดหลง ว่า ”ลุกแล้ว ลุก Skywalker” ลุ้นกันตัวโก่ง กับการดูแลนกแร้งหิมาลัยอบยพที่บาดเจ็บและพลัดหลงอย่างใกล้ชิดของกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่าและกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่าและกลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า ได้รับแจ้งทางสายด่วน 1362 ว่าพบนกแร้งพลัดหลง ร่างกายอ่อนแรง อยู่ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง 3 หนองแขม เขตบางแค เมื่อวันที่ 20 ม.ค. โดยนายวรพจน์ แสงเทียน เจ้าหน้าที่กู้ภัยบางขุนนนท์ ประเมินว่า แร้งมีอาการคอตก บินไม่ได้ อ่อนแรง โคนจงอยปากมีสีเขียวคล้ำ ตาพล่ามัว หายใจแผ่วเบา จึงได้รีบเร่งนำนกแร้งมามอบที่ฝ่ายสุขภาพสัตว์ป่า เพื่อช่วยเหลือชีวิต 

ทั้งนี้ปัจจัยร่วมสำคัญที่ทำให้แร้งพลัดหลงนั้น ประกอบไปด้วย 1.ปัจจัยเรื่องอายุ แร้งตัวนี้อายุประมาณ 5-7 ปี กำลังเข้าสู่ระยะโตเต็มวัย เรื่องประสบการณ์ในการบินอพยพ อาจมีไม่มาก พลัดหลง 2. ปัจจัยเรื่องอาหาร จากการตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการ พบว่า เกิดภาวะโลหิตจาง ค่าตับสูงและโปรตีนในเลือดต่ำ คาดว่าเกิดจากการอดอาหารเป็นเวลานานและมีการใช้กำลังของกล้ามเนื้อมากเกินไป ซึ่งสอดคล้องกับเส้นทางการบินอพยพของแร้ง ที่ผ่านมานั้นไม่มีแหล่งอาหาร เช่น ซากสัตว์ เป็นต้น และ3. ปัจจัยด้าน สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาจส่งผลต่อเส้นทางการบินอพยพและสุขภาพ เช่นระบบทางเดินหายใจ ตัวที่โตเต็มวัยหรือมีประสบการณ์ในการบินอพยพก็จะบินหลีกเลี่ยงพื้นที่มลพิษ


1
น.สพ.ภัทรพล กล่าวต่อว่า กลุ่มงานสุขภาพสัตว์ป่า สันนิษฐานว่าน่าจะบินพลัดหลงมาเจอสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา อาการโคม่า เจ้าหน้าที่เวรได้ให้น้ำเกลือเข้าใต้ผิวหนังและทำการกกไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและให้อยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเท จากนั้นสัตวแพทย์ประจำคลินิกสัตว์ป่า ได้ให้น้ำเกลือเข้าเส้นและฉีดยาบำรุงให้แก่สัตว์ และได้ทำการเจาะเลือดส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการ และวัดระดับของออกซิเจนในกระแสเลือดโดยใช้เครื่อง pluse oximeter พบว่านกแร้งสามารถยืนและเริ่มกินเนื้อหมูเองได้ ต่อมา

“เมื่อวันที่22 ม.ค.ช่วงเช้าได้ให้สารน้ำ วิตามิน ทางเส้นเลือด และกินซี่โครงไก่ นกแร้งสามารถจิก ฉีก เนื้อกินได้เองตามปกติ ปริมาณอ๊อกชิเจนในเลือดอยู่ในระดับปกติ ล่าสุดวันนี้ ถึงแม้ว่าแร้งจะลุกขึ้นยืนได้ กินอาหารได้เองแล้ว ทางกลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า ยังต้องดูแลอย่างไกลชิดและประสานงานการดูแลร่วมกันกับศูนย์ฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) โดยขอให้ร่วมกันติดตามและให้กำลังใจ เจ้าลุก Skywalker แร้งหิมาลัยตัวนี้และเจ้าหน้าที่ ฝุ่นPM2.5นั้น เป็นปัจจัยร่วมนะครับ #SurvivalTogether”น.สพ.ภัทรพลกล่าว.