ตกบ่ายพระราม2อ่วมหนักฝุ่นพิษขึ้นสีแดง
การเมือง
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม, ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี, ต.คลองหนึ่งอ.คลองหลวง ปทุมธานี, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.ตลาด อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปราการ, ต.บางเสาธงอ.บางเสาธง สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 60 - 135 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานที่บริเวณ เกินมาตรฐานที่บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร, ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
ทั้งนี้คพ. ขอความร่วมมือประชาชนในการช่วยลดฝุ่นละอองอย่างเข้มงวด ด้วยการห้ามใช้รถยนต์ควันดำอย่างเด็ดขาด ห้ามการเผาในที่โล่งทุกประเภทอย่างเด็ดขาด รวมถึงขอความร่วมมือในการลดการใช้รถยนต์โดยสารส่วนบุคคลด้วย โดยขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด อย่าตื่นตระหนก กลุ่มคนทั่วไปสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สำหรับกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็ก คนชรา หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว หมั่นสังเกตอาการ หากผิดปกติให้ไปพบแพทย์ โดยสามารถติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศทันสถานการณ์ ผ่าน เว็บไซด์ www.air4thai.pcd.go.th และ แอพพลิเคชั่น air4thai
นายสนธิ คชวัช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์และธรรมชาติความเป็นอยู่ของประเทศไทยเวลานี้ กำหนดมาตรฐานการเกิดปริมาณฝุ่นPM 2.5 หรือ ฝุ่น 2.5 ไมครอน ไว้ที่ ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.ถือว่าเหมาะสมดีแล้ว แต่ปีหน้า 2563 หรือ เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ค่ามาตรฐาน ก็คงต้องปรับเป็น 35 มคก./ลบ.ม.
"เวลานี้เราอยู่ในฐานะของประเทศกำลังพัฒนา มีรายได้ปานกลาง ค่อนข้างสูง ความจริงที่เป็นอยู่ที่เราเห็นคือ มีการก่อสร้างมากมาย ทั้งตึก และรถไฟฟ้า โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อย่าง กทม.และ ปริมณฑล การกำหนดปริมาณการเกิดฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนไว้ที่ 50 มคก./ลบ.ม.เป็นมาตรฐานของกลุ่มประเทศกลุ่มนี้ เพราะหากไปใช้มาตรฐานที่ 25 มคก./ลบ.ม.ในความเป็นจริงจะทำยากมาก เพราะมาตรฐานดังกล่าว มีประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศในยุโรป เช่น สวิสเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ รวมถึง ญี่ปุ่น เท่านั้น แม้กระทั่งประเทศสหรัฐอเมริกา ยังใช้ค่ามาตรฐานที่ 35 มคก./ลบ.ม. ทั้งนี้ปัญหาที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐานจะอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีสภาพวิกฤติทั้งปี เพราะเมื่อคิดค่าเฉลี่ยทั้งปีแล้ว ประเทศไทยทั้งประเทศมีปริมาณพีเอ็ม 2.5 อยู่ที่ 25-35 มคก./ลบ.ม.อย่างไรก็ตาม เร็วที่สุด คือปีหน้า หรือไม่ก็เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ค่ามาตรฐานฝุ่น พีเอ็ม 2.5 จะต้องปรับเป็น 35 มคก./ลบ.ม. เพราะถือว่า เราได้รับรู้ และเตรียมการที่จะลดปริมาณมลพิษจากแหล่งกำหนดได้พอสมควรแล้ว"นายสนธิ กล่าว
นายสนธิ กล่าวว่า เดิมทีที่กำหนดเอาไว้ว่า เมื่อปริมาณฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกิน 90 มคก./ลบ.ม.ติดต่อกัน 3 วันเมื่อใด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นๆ ประกาศให้เป็นเขตควบคุมเขตรำคาญ ตามพ.ร.บ.สาธารณสุข ฉบับที่ 3 /2560 ได้ทันที แต่วันนี้ได้เปลี่ยนแล้วเป็น 75 มคก./ลบ.ม. ซึ่งให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดว่าจะประกาศครอบคลุมพื้นที่บริเวณไหนอย่างไรบ้าง แต่เมื่อใดที่ตัวเลขขยับเกินกว่านี้ เป็นมากกว่า 100มคก./ลบ.ม. ก็จะใช้มาตรา 9 ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพแวดล้อม พ.ศ.2535 ประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษทันที แต่สิ่งที่เราค่อนข้างจะกังวลมากเวลานี้ก็คือ ความเจ็บป่วยของประชาชน เพราะในต่างประเทศ ทั้งอเมริกา ยุโรปบางประเทศกำหนดเอาไว้ว่าเมื่อใดที่ปริมาณ พีเอ็ม 2.5 เกิน 35 มคก./ลบ.ม. โรงเรียนจะต้องปิดทันที และเมื่อใดที่ขยับไปถึง 55.4 มคก./ลบ.ม.ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ และเด็กๆห้ามออกจากบ้านมาอยู่กลางแจ้ง แต่เวลานี้บ้านเรายังไม่มีความชัดเจน จริงจังในเรื่องนี้ มีข่าวน่ากังวลว่า หลายโรงพยาบาลนั้น หอผู้ป่วยเด็ก มีคนไข้ล้น
เมื่อถามว่า ปีนี้ทำไมสังคมจึง ทั้งตื่นตัวและตื่นตระหนกกันมาก ในเรื่องฝุ่น พีเอ็ม 2.5 ทั้งๆที่เมื่อปี 2561 ปริมาณฝุ่นสูงสุดสูงถึง 130 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กล่าวว่า ประเทศไทยเพิ่งจะมีเครื่องวัดตัวพีเอ็ม 2.5 เมื่อไม่นานนี้เอง โดยปี 2561 เพิ่งจะติดตั้งครั้งแรกแค่ 4 เครื่องเท่านั้น มาปี 2562 นี้ติดตั้ง ไปถึง 40 กว่าจุด และมีการเปิดเผยข้อมูลออกสู่สาธารณะอย่างไม่มีการปิดบัง ทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวมากขึ้น บทเรียนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง 2.5 ไมครอน ในช่วง อากาศปิดในปีนี้จะเป็นบทพิสูจน์ประสิทธิภาพและคุณภาพของคนในระบบราชการด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพในปีหน้า.