'เจ๊หน่อย-ชัชชาติ'สูสี ปชช.หนุนชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯ
การเมือง
นอกจากนี้ ความต้องการเชิงนโยบายเร่งด่วนมากที่สุด จากนักการเมืองช่วงหาเสียงจากคนวัยทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.7 ต้องการความสุขในที่ทำงาน (Happy Workplace) เพิ่มสวัสดิการรายได้ รองลงมาคือร้อยละ 18.3 ระบุแก้เศรษฐกิจประเทศ ร้อยละ 6.5 ระบุระบบประกันสังคม รักษาพยาบาล ร้อยละ 2.2 แก้การเอารัดเอาเปรียบ และร้อยละ 16.3 ระบุ อื่น ๆ เช่น แก้ปัญหาว่างงาน ปัญหาสังคม คอรัปชั่น กฎหมายแรงงาน เป็นต้น
ที่น่าสนใจที่ พรรคเพื่อไทยอาจจะฟังทางนี้ เพราะผลสำรวจที่พบหลังสอบถามประชาชน 3 กลุ่มจุดยืนทางการเมือง ว่า ระหว่าง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคเพื่อไทยควรเสนอชื่อใครให้ประชาชนสนับสนุนเป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า ทั้งคู่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนสูสีมากเกินจะตัดสินใจได้ โดยภาพรวม ร้อยละ 51.0 ระบุเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในขณะที่ร้อยละ 49.0 ระบุเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และเมื่อจำแนกกลุ่มคนตอบออกเป็น สนับสนุนรัฐบาล คสช. ไม่สนับสนุนรัฐบาล คสช. และ กลุ่มพลังเงียบ พบที่น่าสนใจอีก เพราะ กลุ่มคนพลังเงียบร้อยละ 50.5 ระบุเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในขณะที่ร้อยละ 49.5 ระบุเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
นอกจากนี้ กลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาล คสช. ร้อยละ 54.5 ระบุเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล คสช. ร้อยละ 48.7 ระบุเป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในขณะที่ร้อยละ 51.3 ของกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล คสช. ระบุเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดังนั้น การที่จำแนกกลุ่มประชาชนออกเป็นสามกลุ่มดังกล่าวนี้ อาจถูกนำไปใช้วางกลยุทธ์รณรงค์การเปลี่ยนใจ ของฐานสนับสนุนการเมืองในแต่ละกลุ่ม ให้มาสนับสนุนยุทธศาสตร์ การตัดสินใจของประชาชนได้ ในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้เพื่อตอบโจทย์ตามหลักวิชา Brand Switching ได้หรือไม่