ข่าวนักการเมือง ร่วมเสวนาชูแนวคิดสร้างรัฐสวัสดิการ - kachon.com

นักการเมือง ร่วมเสวนาชูแนวคิดสร้างรัฐสวัสดิการ
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจัทร์) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา วิชาการ ในหัวข้อ "(รัฐ) สวัสดิการไทย แค่ไหนถึงจะพอ"ว่า พรรคไทยรักษาชาติ อยากทำให้เกิดประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการที่แท้จริง แต่รายได้ประเทศมีไม่มากเป็นรัฐสวัสดิการได้ยาก หากจะไปสู่จุดนั้นต้องทำประชานิยมโดยเฉพาะกลุ่มเฉพาะด้านว่า ต้องการให้ใคร อย่างไร แล้วค่อยพัฒนาไปเรื่อยๆ หากประเทศมีรายได้มากขึ้นต้องมีการจัดสัดส่วนที่ชัดเจน ว่าจะใช้อะไรในส่วนไหน เท่าไหร่ เพื่อช่วยประชาชน ส่วนตัวอยากเสนอ 3 แนวทาง เพื่อทำให้ประเทศมีรัฐสวัสดิการที่เพียงพอคือ 1.การปรับโครงสร้างประเทศ ต้องโยกย้ายประชาชนภาคการเกษตรให้เป็นประชาชนภาคบริการ เพื่อทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 2.ลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องระวัง ปรับตัว และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และ3.การนำไทยกลับไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพราะจะทำให้ไทยมีการพัฒนาเรื่องการค้าขายให้ดียิ่งขึ้น

ด้าน นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า การแก้จน สร้างคน สร้างชาติ เป็นนโยบายที่ชัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์ และการสร้างรัฐสวัสดิการที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งนโยบายที่จะทำ เช่น การขีดเเส้นความยากจน ไม่ให้ภาคแรงงานมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน โดยจะอุดหนุนผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 120,000 บาทต่อปี กลุ่มเกษตรกร มีการประกันรายได้เกษตรกร มีโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า ให้เบี้ยคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป 1,000 บาท และสิ่งที่ตนคิดอีกอย่าง คือเบี้ยผู้ยากไร้ที่จะได้รับเงินอุดหนุนเดือนละ 800 บาท ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่เหมือนบัตรสวัสดิการแห่งชาติ นอกจากนี้ยังจะเพิ่มเบี้ยให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) เพิ่มขึ้นเป็น 1,200 บาท จากที่เคยได้1,000 บาท

ขณะที่ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า พรคเพื่อไทยมี 6 ข้อที่จะนำเสนอ โดยไม่ทำเพื่อเอาใจคนบางกลุ่ม ดังนั้นการพัฒนาสวัสดิการ คือ 1. สวัสดิการแบบสองขาระหว่าง สวัสดิการที่จะส่งผลสำริดทางอุตสาหกรรมและสร้างสังคม เพื่อลดความเลื่อมล้ำ 2. มุ่งหน้าสวัสดิการถ้วนหน้าทุกมิติ กระจายรายได้จากคนรวยสู่คนรายได้น้อย 3.มีสวัสดิการสองระดับ คือภาครัฐส่วนกลาง และระดับกองทุนของชุมชน หมู่บ้าน 4. เรายืนยันจะใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก5.จะเดินหน้าปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องกับสภาวะความเป็อยู่ โดยคำนึงถึงหลักความจริง และ 6.ลงทุนอย่างมีนัยยสำคัญในการสร้างสวัสดิการช่วงต้นของประเทศ.