ข่าวตรวจเข้มฝุ่นพิษ-ควันดำถึงมี.ค. หากวิกฤตขรก.ทำงานที่บ้า่น - kachon.com

ตรวจเข้มฝุ่นพิษ-ควันดำถึงมี.ค. หากวิกฤตขรก.ทำงานที่บ้า่น
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ในพื้นที่กทม.และปริมณฑล. ปริมาณ PM2.5 ลดลงจากเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกันเกือบทุกพื้นที่ คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยมีค่าฝุ่นละอองอยู่ที่ 44-83 มคก./ลบ.ม. โดยปริมาณ PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) แบ่งเป็นพื้นที่ริมถนนจำนวน 22 สถานี และพื้นที่ทั่วไป จำนวน 13 สถานี

สำหรับพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานเริ่มมีผลกระทบสุขภาพ ได้แก่ บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ, แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิกรุงเทพฯ, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ, แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ, ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม, ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี, ต.คลองหนึ่งอ.คลองหลวง ปทุมธานี, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดงสมุทรปราการ, ต.บางเสาธงอ.บางเสาธง สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร, ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 
ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 62 - 123 มคก./ลบ.ม.เกินมาตรฐานที่บริเวณ ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ

สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา1. คพ. จัดประชุมแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 จากยานพาหนะ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมธุรกิจพลังงานสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมการขนส่งทางบก บก.จร. บช.น. ขสมก. กทม. จากที่ประชุมสรุปมาตรการแก้ไข PM2.5 โดย มาตรการมาตรการเร่งด่วน เช่น ห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งเข้าพื้นที่กรุงเทพชั้นกลางตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ทันทีจนถึงเดือนมี.ค. ห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่วิ่งเข้าพื้นที่ กทม.ชั้นนอกตามระยะเวลาที่กำหนด, เร่งรัดนำน้ำมันเทียบเท่ามาตรฐาน EURO 5 (กำมะถันไม่เกิน 10 ppm) มาจำหน่ายในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลในช่วงเวลาวิกฤต ให้ข้าราชการทำงานที่บ้านหรือสลับวันในการทำงานที่บ้าน เพื่อลดจำนวนรถยนต์ในท้องถนน และขอความร่วมมือบริษัทเอกชนในการดำเนินการเช่นกัน

สำหรับมาตรการระยะกลางและระยะยาว ได้แก่ เร่งรัดการบังคับใช้มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงให้เทียบเท่ามาตรฐาน EURO 5 (กำมะถันไม่เกิน 10 ppm) ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2564 เร่งรัดการบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ขนาดเล็กและรถยนต์ขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน EURO 6 ภายในปี พ.ศ. 2566 ปรับปรุงมาตรฐาน PM2.5 ค่าเฉลี่ยรายปีในบรรยากาศ ในปีที่มีการบังคับใช้มาตรฐาน EURO  2. บก.จร. ร่วมกับกรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.จร. ลงพื้นที่ตรวจควันจากท่อไอเสียรถประจำทาง ขสมก. ณ อู่จอดรถประจำทาง พระราม9 ถนนวัฒนะธรรม โดยมีการนำเครื่องตรวจวัดควันดำมาทำการตรวจวัดค่าควันดำที่ออกมาจากท่อไอเสียรถประจำทางที่อยู่ภายในอู่จำนวน 68 คัน ไม่พบรถเมล์ควันดำ 

3. กระทรวงคมนาคม สั่งการให้ ขสมก. ใช้ไบโอดีเซล B20 ในรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ จำนวน 2,075 คัน ภายในวันที่ 1 ก.พ. 62 4. กทม. ได้ดำเนินการกวาดล้างถนนอย่างต่อเนื่องทุกเขตทุกว 5. ผลการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 62 ไม่มีฝนตกจากการปฏิบัติการ 6. กอ.รมน. จะขับเคลื่อน สนับสนุนและเข้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงาน ทั้งพื้นที่กรุงเทพ และต่างจังหวัด ในสัปดาห์หน้า โดยเน้นการตรวจการบริหารจัดการและประเมินประสิทธิภาพกระบวนการบำบัดอากาศเสีย และน้ำเสียของโรงงาน ที่มีโรงงานเป้าหมาย ได้แก่ โรงงานที่มีหม้อไอน้ำ plant ผลิตปูนซีเมนต์ โรงงานหล่อหลอมโลหะ รวมถึงโรงงานที่เคยถูกร้องเรียนปัญหาฝุ่นละออง

ทั้งนี้จากโมเดลคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ของ คพ. คาดการณ์ว่าในวันที่ 2 ก.พ. ปริมาณ PM2.5 มีแนวโน้มลดลงในหลายพื้นที่ อีกทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ดำเนินมาตรการในการบรรเทาสถานการณ์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง อาทิเช่น การประกาศปิดโรงเรียน และสถานศึกษาต่างๆ ซึ่งส่งผลให้การจราจรคล่องตัวและลดแหล่งกำเนิดมลพิษ การตรวจจับควันดำอย่างเข้มข้นโดยความร่วมมือของ บก.จร. กรมการขนส่งทางบก และกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองลดลง.