ข่าวโรคระบาดปนฝุ่น'ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก'ทำคนป่วยพุ่ง - kachon.com

โรคระบาดปนฝุ่น'ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก'ทำคนป่วยพุ่ง
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่กรมควบคุมโรค นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวในการเสวนา DDC Forum เรื่อง “การเฝ้าระวังสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพที่มาตามฤดูกาล ตลอดจนผลกระทบทางสุขภาพที่คุณอาจมองข้าม” ว่า ในช่วงนี้จะมีโรคที่มากับฤดูกาลทับซ้อนกับปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 คือโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ อย่างไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากป่วยด้วย ได้รับฝุ่นละอองด้วยก็จะทำให้มีปัญหาเรื่องการหายใจได้ อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าหากรับฝุ่นละอองอย่างเดียว แต่ไม่ได้รับเชื้อโรคก็ไม่ได้ทำให้เกิดการป่วยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อีกประการหนึ่งที่มีการสอบถามมาเยอะเรื่องหน้ากากอนามัยชนิดใดควรใช้ครั้งเดียว ชนิดใดที่สามารถใช้ซ้ำได้นั้น เรียนว่าเป็นเรื่องยากที่จะแนะนำเฉพาะเจาะจงเพราะแต่ละคนมีกิจกรรมแต่ละวันแตกต่างกัน แต่ก็อยากเรียนว่าหากเลี่ยงเดินทางไป หรือทำกิจกรรมเช่น ออกกำลังหายในฟื้นที่เสี่ยงได้ก็เลี่ยงดีกว่า  

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผอ.สำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า กรณีไข้หวัดใหญ่นั้นตอนนี้มีแนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้นเหมือนกันทั่วโลก เช่นที่ญี่ปุ่นมีผู้ป่วยเพิ่มสูงมากในรอบ 20 ปี ส่วนสถานการณ์ในไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยมากขึ้นในทุกภูมิภาคและจะเพิ่มต่อเนื่องจนถึงปลายก.พ. นี้ทั้งนี้เฉพาะเดือนแรกของปี 2562 พบผู้ป่วยแล้ว 16,058 คน เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 7-9 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี ตามลำดับ ส่วนโรคไข้เลือดออกยอดผู้ป่วยเดือนแรกของปีพบ 2,834 ราย เสียชีวิต 2 ราย อย่างไรก็ตาม ทางกรมจะมีมาตรากรควบคุม ป้องกันเพื่อไม่ให้ยอดผู้ป่วยเกินจากเป้าหมายคือ 9 หมื่นคน

พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สำหรับกรณีคนที่อาศัยอยู่บนตึกสูงจะมีความเสี่ยงได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กได้มากกว่าคนที่อยู่ชั้นล่างนั้นเรียนว่าหากเป็นคอนโดที่อยู่ที่ติดถนนก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับฝั่นละอองมากกว่าคอนโดที่อยู่ห่างจากถนนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จากการวัดค่าฝุ่นละอองที่ชั้น 28 ของคอนโดแห่งหนึ่ง พบว่าค่าฝุ่นละอองอยู่ที่ 9 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แล้วเมื่อขยับลงมาอีก 5 ชั้นพบว่าปริมาณฝุ่นอยู่ที่ 2-3 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือว่าค่าฝุ่นละอองไม่ได้ต่างกันมาก ดังนั้นไม่อยากให้กังวลกัน โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ติดถนน แต่ก็ขอให้หมั่นทำความสะอาดบ้าน

ด้านนางนงนุช ดันติกรรม นักวิชาการสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากข้อมูลบริษัทกลางที่มีการสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 ช่วงคือระหว่างวันที่ 1-15 ม.ค. และหลัง 15-31 ม.ค. 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่คพ.ประกาศค่าฝุ่นละอองเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยนำมาเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 พบว่า ทั้ง 2 ช่วงมีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ยอดเจ็บ และเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งยังไม่ได้มีการศึกษาโดยละเอียดว่ามีสาเหตุกาเกิดจากอะไรกันแน่ แต่มีข้อสังเกตว่าเกิดจากปัญหาฝุ่นละอองที่ทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นไม่ดีหรือไม่ เพราะเพิ่งมีสถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ดังนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามสิ่งที่อยากฝากคือจะพบคนขับมอเตอร์ไซต์สวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น แต่กลับไม่สวมหมวกกันน็อค ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะมีข้อมูลว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นคนที่ไม่สวมหมวกจะเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงกว่าคนที่สวมหมวกถึง 6 เท่า.