ข่าวฝนหลวงชี้วันนี้งดขึ้นทำฝน เหตุกทม.พ้นวิกฤตฝุ่นแล้ว - kachon.com

ฝนหลวงชี้วันนี้งดขึ้นทำฝน เหตุกทม.พ้นวิกฤตฝุ่นแล้ว
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยถึงการติดตามปฏิบัติการฝนหลวงต่อสู้ภัยฝุ่นละอองพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เป็นวันที่ 21 ว่าเมื่อเวลา7.00 น.ได้ปล่อยบอลลูน ตรวจวัดสภาพอากาศชั้นบน ซึ่งสถานีเรดาร์สัตหีบ ความชื้นการเกิดเมฆ 75% ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ54% ค่ายกตัวมวลอากาศติดลบ3.6 ในระดับที่ดีเอื้อต่อการทำฝน และวันนี้เป็นความโชคดีของคนกรุงเทพ -ปริมณทล ที่ปริมาณค่าฝุ่นละอองถือว่าดีมากๆ เราจึงสแตนบาย ถ้าแนวโน้มค่าฝุ่นละอองมีปริมาณมากขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพ เราจะขึ้นปฏิบัติทันที เพื่อปล่อยเมฆมากรุงเทพ จึงขอติดตามช่วงบ่ายอีกครั้ง

สำหรับสถานีตาคลี จ.นครสวรรค์ ความชื้นสัมพัทธ์ 47% ความชื้นระดับบน 22% ค่าดัชนีลบ1.2 ซึ่งค่าความชื้นน้อยกว่า60% ทำให้การขึ้นปฏิบัติการก่อเมฆเป็นไปได้ยาก จึงติดตามสแตนบายอีกครั้งช่วงบ่าย ถ้าเข้าเงื่อนไขปฏิบัติการเพราะมีแผนช่วยเหลือ พื้นที่จ.นครสวรรค์ พบว่ามีค่าฝุ่นละอออค่อนข้างมาก ส่วนสถานีโพธาราม จ.ราชบุรี ความชื้น 53% ค่าดัชนีลบ1.3 ซึ่งค่าความชื้นไม่เข้าเกณฑ์

นายสุรสีห์ กล่าวว่าในการปฏิบัติภารกิจต่อสู้ฝุ่นละอองในอากาศครั้งนี้ได้พบว่าจากสมมติฐานของกรมฝนหลวง มีความเป็นไปได้ชัดเจน ในช่วงหลายวันที่ทำการขึ้นบินปฏิบัติการก่อเมฆปริมาณมากเท่าที่จะมากได้ พัฒนาก้อนเมฆให้ไหลเข้ากรุงเทพและปริมณฑล สามารถดูดซับฝุ่นละอองในอากาศได้ดีระดับหนึ่ง โดยได้ใช้เครื่องซูปเปอร์คิงส์แอร์ ขึ้นบินตรวจวัดเพื่อวิจัยศึกษาสภาพอากาศใต้ฐานเมฆ ตรวจวัดขนาดอนุภาคสารแขวนลอยในอากาศ ในบริเวณที่มีเมฆ และไม่มีเมฆ มาเปรียบเทียบกัน เพื่อที่จะเป็นข้อยืนยันให้ประชาชนได้ทราบ 

โดยผลจากขึ้นบินตรวจวัดอนุภาคสารแขวนลอย พบว่ากรณีใต้ฐานเมฆ ระดับความสูง 4-5ฟุต พบค่าอนุาภาคแขวนลอยขนาด 0.1-3ไมครอน ในใต้ฐานเมฆมีปริมาณ 3 .8 พันอนุภาคต่อลบ.ซม. ส่วนบริเวณท้องฟ้าโปร่ง 4.9 อนุภาคต่อลบ.ซม.เพราะฉะนั้นจะเห็นความแแตกต่าง บริเวณที่มีเมฆโดยกลไกการเกิดเมฆ ใต้ฐานมีแรงยกตัว หรืออัพดาร์ก มีพลังงานดูดค่าอนุภาคแขวนลอยเข้าไปในก้อนเมฆ ทำให้ค่าอนุภาคใต้ฐานเมฆน้อยว่าบริเวณที่ไม่มีเมฆ เมื่อตรวจในก้อนเมฆ ระดับกลางเมฆ 3.4 พันอนุภาคต่อลบ.ซม. ขณะที่ระดับเดียวกันนอกก้อนเมฆ 4.3พันอนุภาคต่อลบ.ซม. และตรวจระดับยอดเมฆ 8พันฟุต มี1.8 พันอนภาค ท้องฟ้าโปร่ง 2.7พันอนุภาค จะเห็นว่าในช่วงหน้าแล้งทำฝนได้ยาก เราสามารถก่อเมฆให้มีปริมาณก้อนเมฆมากๆมาดูดซับฝุ่นละอองได้ผล.