เพิ่มโทษ'พ.ร.บ.อาหาร'สินค้าโฆษณาเว่อร์เอาผิดยันคนรีวิว
การเมือง
2. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตเพื่อการส่งออกสามารถผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการส่งออกตามข้อกำหนดของประเทศคู่ซื้อได้ โดยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับอาหารให้ผู้อนุญาตทราบ และเก็บเอกสาร หลักฐาน เกี่ยวกับข้อกำหนดของประเทศผู้สั่งซื้อ มาให้ผู้อนุญาตตรวจสอบแทนการขออนุญาตเฉพาะคราว และต้องรายงานให้คณะกรรมการอาหารทราบ ทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการดำเนินการทางการค้ามากขึ้น เพราะกฎหมายเดิมผู้รับอนุญาตผลิตเพื่อการส่งออกจะยกเว้นอาหารประเภทเดียวเท่านั้น คืออาหารควบคุมเฉพาะ เช่น นมผงสำหรับเด็กสามารถผลิตตามาตรฐานต่างประเทศได้ ไม่ต้องมาขออนุญาตผลิต แต่กฎหมายใหม่ ยกเว้นให้อาหารส่งออกทุกประเภท เช่น อาหาควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน อาทิ นม อาหารกระป๋อง ชา สมุนไพร อาหารที่ต้องมีฉลาก อย่าง ลูกชิ้น ไส้กรอก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มข้อยกเว้นเพิ่มเติมจากคุณภาพหรือมาตรฐาน เช่นการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ภาชนะบรรจุ และอาจยกเว้นการขออนุญาตอีกด้วย
3.ให้อำนาจ รมว.สาธารณสุขมีอำนายกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการโฆษณาอาหาร อายุใบอนุญาตโฆษณา และการดำเนินการกับผู้กระทำผิดกับผู้โฆษณา ทันที นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มบทลงโทษกรณีมีการโฆษณา หลอกลวง โออ้วดเกินจริง จากเดิมจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ก็เพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4.การเพิ่มเติมลักษณะอาหารไม่บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการปลอมปนที่เกี่ยวกับความสะอาด หรือปลอมปนยารักษาโรค และปรับทลงโทษหากเจอผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์ จากโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ก็เพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังปรับเรื่องการพิจารณาโดยหากอย.ระบุได้ว่ามีการปลอมปนต่างๆ จริง เช่น ยาลดความอ้วน ให้สั่งลงโทษทันที แทนการที่ต้องเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ส่งฟ้องศาล ซึ่งใช้เวลานานเป็นปี พร้อมกันนี้ยังให้อำนาจเลขาธิการ อย.หรือผู้แทนดำเนินการเปรียบเทียบปรับกับผู้กระทำผิดที่มีอัตราโทษปรับสถานเดียว หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และให้เลขาอย.สั่งทำลายของกลางด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งได้ด้วย
“ในการปรับแก้พ.ร.บ.อาหารครั้งนี้จะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้นจากการที่ให้มีผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณา วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร และเมื่อมีการควบคุมการโฆษณาก็จะทำให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกหลอกลวงด้วย เป็นการแยกแยะให้เห็นชัดเจนระหว่างอาหาร กับยา” พล.ท.วีรชน กล่าว
ด้านผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในการกำกับเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารนั้นจะครอบคลุมถึงลักษณะการสัมภาษณ์ประชาชน โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้ด้วย รวมถึงกรณีศิลปิน ดารา ผู้มีชื่อเสียงต่างๆ ที่ไปรับรีวิวผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมต่างๆ ด้วย และจะไม่สามารถอ้างได้ว่าเพราะตรวจสอบผลิตภัณฑ์แล้วว่ามีเลขอย.รับรองแล้วจึงรับรีววิไม่ได้ เพราะย้ำว่าอย.ไม่เคยให้โฆษณาโออ้วด โดยเฉพาะกรณีที่มีสารต้องห้าม ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์อาหารไม่บริสุทธิที่ตรวจตรวจสอบ จับกุมได้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีการลักลอบผสมยาลดความอ้วน และยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น.