เปิดช่องต่างด้าวนั่งบอร์ดนายจ้าง-สหภาพแรงงาน
การเมือง
นอกจากนี้ กรณีที่มีลูกจ้างร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพจ้างงานให้สามารถลงชื่อร้องเรียนได้โดยจำนวนต้องไม่น้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียน และมีการเพิ่มกำหนดระยะเวลาในการรับข้อเสนอให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องสามารถเจรจาภายใน 5 วันจากเดิมกำหนดไว้เพียง 3 วัน ขณะที่การระงับข้อพิพาทแรงงาน เพิ่มระยะเวลาให้แจ้งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายใน 48 ชั่วโมง จากเดิม 24 ชั่วโมง และหากตกลงกันไม่ได้ ให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไปหรือจะเจรจากันเอง ส่วนการปิดงานและการนัดหยุดงานนั้น มีการกำหนดให้นายจ้างอาจปิดงาน หรือลูกจ้างอาจนัดหยุดงานได้ แต่จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
พล.ท.วีรชน กล่าวต่อว่าว่า ส่วนคณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยมีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และผู้แทนจากสภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในเรื่องสมาคมนายจ้าง มีการเพิ่มหลักการใหม่ให้กรรมการสมาคมนายจ้างที่ไม่มีสัญชาติเป็นกรรมการได้ สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ขณะเดียวกันในเรื่องการจัดตั้งสหภาพแรงงานมีการเปลี่ยนหลักการ จากเดิมใช้วิธียื่นคำขอจดทะเบียน เป็นให้ลูกจ้างจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คนมีสิทธิยื่นขอรับใบสำคัญรับรองการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และลูกจ้างต่างด้าวมีสิทธิเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเสมอภาค อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นมีการกำหนดหลักการคุ้มครองลูกจ้าง เช่น คุ้มครองลูกจ้างไม่ให้นายจ้างเลิกจ้าง โยกย้ายหน้าที่ในการทำงาน และลดค่าจ้าง หรือใช้วิธีการที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น.