ห้ามรถมลพิษสูงวิ่งในกรุงเทพฯ แก้ปัญหาฝุ่นพิษคลุมเมือง
การเมือง
พ.อ.อธิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ระดับที่ 1 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละออง มีค่าไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้ส่วนราชการทุกหน่วยต้องดำเนินการตามภารกิจ เพื่อควบคุมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯ/ปริมณฑล และพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับปกติ ระดับที่ 2 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีค่ามากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการเพิ่มและยกระดับมาตรการต่างๆ ให้เข้มงวดขึ้น โดยผู้ว่าฯกทม. และผวจ.ที่มีปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพิ่มจุดตรวจจับควันดำเป็น 20 จุด เข้มงวดตรวจสอบตรวจจับรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)ก่อนออกให้บริการ ไม่ให้มีรถควันดำวิ่ง ปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน B20 เร่งรัดนำน้ำมันดีเซลเทียบเท่ามาตรฐาน EURO 5 มาจำหน่ายในพื้นที่ในกรุงเทพฯ/ปริมณฑล และในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ในช่วงเวลาวิกฤต ขยายพื้นผิวการจราจร ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด ปฏิบัติการทำฝนเทียม ห้ามรถยนต์ที่มีมลพิษสูงสัญจรในพื้นที่กรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นนอก
พ.อ.อธิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ระดับที่ 3 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ยังไม่ลดลงและมีแนวโน้มสูงขึ้น ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.และผวจ.ที่มีปัญหาฝุ่นละออง ใช้กฎหมายที่มีอยู่เข้าไปควบคุมยับยั้งสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และระดับที่ 4 เป็นระดับที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ยังไม่ลดลง และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นกรณีเร่งด่วนพิเศษ และพิจารณากลั่นกรองแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยจะต้องนำเสนอนายกฯเป็นการเร่งด่วน เพื่อพิจารณาในการสั่งการ และ 2.มาตรการระยะกลาง (พ.ศ. 2562 - 2564) พิจารณาปรับวิธีการและปรับลดอายุรถที่เข้ารับการตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี พิจารณาการเพิ่มภาษีรถยนต์เก่า การลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
3. มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 - 2567) ปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน EURO 6 ห้ามนำเข้าเครื่องยนต์ใช้แล้วมาเปลี่ยนแทนเครื่องยนต์เก่าในรถยนต์ กำหนดให้เจ้าของ และผู้ประกอบการที่มีการเผาในที่โล่งในพื้นที่ของโครงการหรือพื้นที่ครอบครองเป็นความผิดอาญา อย่างไรก็ตาม ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าฯกทม.และผวจ.เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในการเข้าควบคุมสถานการณ์ จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และให้จังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน.