ข่าวแนะรัฐปฏิรูปภาษีแก้ปัญหาพวกหลบเลี่ยง - kachon.com

แนะรัฐปฏิรูปภาษีแก้ปัญหาพวกหลบเลี่ยง
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  นายปริญญา เทวนฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวตอนหนึ่งในการเปิดการเสวนาเชิงปฏิบัติการ "รัฐสวัสดิการเพื่อคนทุกคนเท่าเทียมกัน" ว่า แม้เหตุผลของการยึดอำนาจเข้ามาบอกว่าจะมาปฏิรูปประเทศ ซึ่งรวมถึงเรื่องนี้ด้วยก็ไม่สำเร็จ ประชาชนยังไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ความเหลื่อมล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ รัสเซีย ตุรกี และอินเดีย คนไทยจำนวนร้อยละ 1 ที่ถือครองทรัพย์สินสูงกว่าคนทั้งประเทศ เพิ่มจากร้อยละ 58 เป็นร้อยละ 67 ทั้งที่รัฐสวัสดิการไม่ใช่ทำให้คนเหล่านี้ถือครองมากขึ้นแล้วมาจ่ายคืน แต่หลักการคือต้องให้เขาได้ลดลง แล้วให้คนส่วนมากได้มากขึ้น เพื่อเข้าสามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนคนจำนวนหนึ่งที่ดูแลตัวเองไม่ได้เราค่อยไปดูแล แต่ที่เป็นเช่นนี้ในปัจจุบัน เพราะการเมืองรวมศูนย์ หากไม่รวมศูนย์แบบนี้ คนรายเล็กรายน้อยจะสามารถเข้าถึงมากขึ้น จึงต้องลดความเหลื่อมล้ำและหยุดความยากจน ซึ่งตนหวังว่าการเลือกตั้ง 24 มี.ค.นี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไร สำหรับการลดความเหลื่อมล้ำจะคิดเรื่องรัฐสวัสดิการอย่างเดียวไมได้ มิฉะนั้นจะเป็นประชานิยม รัฐสวัสดิการพื้นฐาน คือปัจจัยสี่ คือ 1.อาหาร ซึ่งเราไม่มีปัญหาเรื่องการมีกิน แต่มีปัญหาเรื่องอาหารปลอดภัย 2.เรื่องที่อยู่อาศัย จะเห็นว่าประเทศมีที่ดินมากพอให้คนมีที่อยู่ ต้องจัดการให้ดี 3.ยารักษาโรค ต้องไม่มีใครตายเพราะความจน และต้องเผื่อแผ่ถึงเพื่อนบ้านที่เข้ามาทำงานในไทยด้วย และ 4.เครื่องนุ่งห่ม หมายถึงเครื่องอุปโภคบริโภค อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่รัฐสวัสดิการต้องคิดถึงคือเรื่องการศึกษา เรื่องเหล่านี้ต้องพูดและเสนอต่อพรรคการเมืองช่วงก่อนเลือกตั้ง หากไปเสนอหลังเลือกตั้งแล้วเขาจะมีเรื่องอื่นที่ต้องฟังอีกมาก จึงหวังว่างานวันนี้จะเป็นอีก 1 เสียงที่พรรคการเมืองจะรับฟังว่าประชาชนต้องการอะไร

ด้านนางผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า การทำรัฐสวัสดิการให้ได้ คือรัฐต้องมีแหล่งรายได้หลักที่ชัดเจนและภาวะเศรษฐกิจที่เติบ ซึ่งในส่วนของรายได้หลักสิ่งที่ต้องทำคือการปฏิรูประบบการเก็บภาษีของประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องไปเพิ่มไม่ แต่ที่ต้องทำคืออุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี แต่ขยายเพิ่มจำนวนคนจ่ายให้ครอบคลุ่มคนที่รายได้ที่ต้องเสียภาษี รวมถึงมีอัตรการจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เมื่อมีการปฏิรูปการเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีรายได้ไปทำรัฐสวัสดิการ หนุนแก่ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน อย่างไรก็ตาม มองว่าความยากของเรื่องนี้มี 2 ส่วนคือ 1. ปัจจัยภายนอก มีบรรษัทต่างชาติเข้ามาค้าขายในไทยจำนวนมา แต่มีการตั้งบริษัทผลิตในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ ทำให้ประเทศไทยไม่ได้อพะไรตรงนี้ ซึ่งจริงๆ ประเทศยุโรปพยายามผลักดันให้มีการกระจายการเสียภาษีมายังประเทศที่มีการไปเปิดบริษัทสาขาในประเทศต่างๆ ด้วย และ 2.ปัจจัยภายในจากการปฏิรปภาษี ซึ่งเข้าใจว่าคนบางกลุ่มไม่อยากให้ปรับเปลียน เพราะต้องกรคงฐานะของตัวเองเอาไว้ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การปล้นคนรวยช่วยคนจน เพราะเป็นการทำรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า นอกจากนี้ต้องยกเลิกระบบอุปถัมภ์ แต่การเกื้อกูลกันต้องยังอยู่ ขจัดคอรัปชั่น คิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่พรรคการเมืองต้องแข่งขันกันนำเสนอ ซึ่งมีหลายโมเดล แต่ย้ำว่าต้องทำแบบถ้วนหน้าครอบคลุ

ด้านนายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า  สถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกทำให้คนชั้นกลางอยู่ยากไปผลักภาระให้ต้องดิ้นรน มีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น ทั้งด้านการศึกษาของลูกหลาน ด้านสาธารณสุข และปัจจัยสี่ ที่รัฐไม่ได้ควบคุมมาตรฐาน ขณะเดียวอาชีพ สำหรับคนชั้นกลางหดตัว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทุกคนตอ้งสร้างหลักประกันให้คนเอง ซึ่งไม่มีอะไรดีกว่าการผลักดันให้สร้างรัฐสวัสดิการที่รัฐต้องดูแลทุกคนบนมาตรฐานเดียวกัน ดีกว่าซื้อประกันเอกชนหรือดิ้นรนให้มีรายได้มากขึ้น เพียงทุกคนเปลี่ยนแนวคิดการจ่ายภาษีเพิ่ม หรือถูกตัดสิทธิการลดหย่อนในกองทุน เช่น แอลทีเอฟ เป็นต้น แต่เรื่องนี้จะสร้างหลักประกันและความมั่นใจได้ว่านี่เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ทุกคนไปพร้อมกัน มีความเสี่ยงน้อย มั่นคงทุกด้านได้เอาเงินคนรวย ให้คนจน หรือคนช้นกลางต้องทำงานหนัก เพราะจริงๆ แล้วจากการศึกษาพบว่าคนจนต้องเสียภาษีสูงกว่าคนรวย เช่น ภาษีจากการซื้อน้ำมัน

ขณะที่นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่องรัฐสวัสดิการมาตลอด มีความเชื่อมั่นบนฐานข้อมูลว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะสร้างรัฐสวัสดิการโดยไม่ได้เป็นการขายฝัน สามารถทำได้วันนี้พรุ่งนี้ด้วยซ้ำ เพราะประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี หากปฏิรูประบบภาษีในอัตราก้าวหน้า จะมีรายได้เข้ารัฐจำนวนมาก แต่คนที่ร่ำรวย เป็นผู้มีอิทธิพล อำนาจทางกาารเงิน พยายามเบี่ยงเบนให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เพิ่มภาระให้คนทำงาน เป็นการอุ้มคนจน แต่หากเราเก็บภาษีคนพวกนี้ให้มีเสียเบาลง เสียงคนทั่วไปก็จะดังขึ้น เช่น สวัสดิการประเทศยุโรปที่มีคนพยายามสร้างภาพว่ารัฐสวัสดิการจะล้ม แต่นักวิชาการประเทศนั้นๆ มองว่าเป็นเหมือนไฟฟ้า น้ำประปา ที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นยกเลิกไม่ได้ มีแต่พัฒนาให้ดีขึ้น.