'ศาลยุติธรรม'สแตนบายรับคำร้องคดีเลือกตั้งวันหยุด
การเมือง

เมื่อวันที่ 18 ก.พ. นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณาคดีเลือกตั้ง ส.ส. ภายหลังที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศบัญชีรายชื่อรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ภายหลังจาก ที่ กกต.ประกาศรายชื่อ ในวันที่ 16-17 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ซึ่งศาลชั้นต้นมีหน้าที่รับคำร้องเเละไต่สวนก่อนที่จะส่งศาลฎีกาวินิจฉัยก็ได้มีการเปิดทำการในวันหยุดเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเลือกตั้งเป็นไปอย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธภาพ โดยจากข้อมูลที่ได้รับรายงานมาพบว่า มีคดีที่มีการยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา มีจำนวน 7 เรื่อง เเละวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา มีจำนวน 16 เรื่อง รวมทั้ง 2 วัน มีจำนวน 23 เรื่อง ซึ่งขณะนี้ คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพิจารณาของศาลฎีกา
“คดีส่วนใหญ่ที่มีการร้องเข้ามา 2 วันเเรก จะเป็นคดียื่นคำร้องกรณีพรรคที่ผู้ร้องเป็นสมาชิกไม่ดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวเเทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดตาม มาตรา 145 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ส่วนที่เหลือก็จะเกี่ยวกับเป็นสมาชิกพรรคเดียวน้อยกว่า 90 วัน (ลาออกจากพรรคเดิมแล้วมาเป็นสมาชิกพรรคใหม่) ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเลย เเละกรณีเป็นสมาชิกพรรคมากกว่า 1 พรรคการเมือง” นายสุริยัณห์ กล่าว
นายสุริยัณห์ กล่าวต่อว่า สำหรับคดีเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกา จะเป็นลักษณะคดี เช่น กรณีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัครหรือเพิ่มชื่อเป็นผู้สมัคร, กรณีผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัครหรือเพิ่มชื่อเป็นผู้สมัคร, กรณีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ กกต. ที่ให้ถอนการรับสมัครตามคำร้องของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือผู้สมัครอื่น เเละกรณีผู้อำนวยการเขตการเลือกตั้งขอให้ถอนชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็นที่คาดการณ์กันว่าจะมีปริมาณการร้องคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตในการเลือกตั้งเขามาหลายรูปเเบบ เเละปริมาณที่มากทางสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีการเตรียมความพร้อม
โดยมีการอบรมเเละเเจกคู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการส่วนวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้ง ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อใช้เป็นแนวทางและวิธีปฏิบัติในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาและศาลชั้นต้นที่ได้รับมอบหมายให้ไต่สวนพยานแทน รวมถึงความพร้อมในส่วนของบุคคลากรและเครื่องมือสื่อสารในการติดต่อระหว่างศาลเพื่อรองรับคดีเลือกตั้งที่จะเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลฎีกาไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาคารสถานที่ งบประมาณ อัตรากำลัง รวมถึงจะใช้เทคโนโลยีในการประชุมซักซ้อมความเข้าใจให้แก่บุคลากรในศาลยุติธรรมเพื่อให้พร้อมที่สุดในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ทุกฝ่ายด้วยความรวดเร็ว.
“คดีส่วนใหญ่ที่มีการร้องเข้ามา 2 วันเเรก จะเป็นคดียื่นคำร้องกรณีพรรคที่ผู้ร้องเป็นสมาชิกไม่ดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวเเทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดตาม มาตรา 145 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ส่วนที่เหลือก็จะเกี่ยวกับเป็นสมาชิกพรรคเดียวน้อยกว่า 90 วัน (ลาออกจากพรรคเดิมแล้วมาเป็นสมาชิกพรรคใหม่) ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเลย เเละกรณีเป็นสมาชิกพรรคมากกว่า 1 พรรคการเมือง” นายสุริยัณห์ กล่าว
นายสุริยัณห์ กล่าวต่อว่า สำหรับคดีเลือกตั้ง ส.ส.ที่จะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกา จะเป็นลักษณะคดี เช่น กรณีผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัครหรือเพิ่มชื่อเป็นผู้สมัคร, กรณีผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัครหรือเพิ่มชื่อเป็นผู้สมัคร, กรณีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ กกต. ที่ให้ถอนการรับสมัครตามคำร้องของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือผู้สมัครอื่น เเละกรณีผู้อำนวยการเขตการเลือกตั้งขอให้ถอนชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็นที่คาดการณ์กันว่าจะมีปริมาณการร้องคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตในการเลือกตั้งเขามาหลายรูปเเบบ เเละปริมาณที่มากทางสำนักงานศาลยุติธรรมได้มีการเตรียมความพร้อม
โดยมีการอบรมเเละเเจกคู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการส่วนวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้ง ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อใช้เป็นแนวทางและวิธีปฏิบัติในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาและศาลชั้นต้นที่ได้รับมอบหมายให้ไต่สวนพยานแทน รวมถึงความพร้อมในส่วนของบุคคลากรและเครื่องมือสื่อสารในการติดต่อระหว่างศาลเพื่อรองรับคดีเลือกตั้งที่จะเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลฎีกาไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาคารสถานที่ งบประมาณ อัตรากำลัง รวมถึงจะใช้เทคโนโลยีในการประชุมซักซ้อมความเข้าใจให้แก่บุคลากรในศาลยุติธรรมเพื่อให้พร้อมที่สุดในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ทุกฝ่ายด้วยความรวดเร็ว.