ข่าว65วันฝุ่นฟุ้งเสียหาย2หมื่นล้าน! หมอลุยเช็กก่อมะเร็งหรือไม่ - kachon.com

65วันฝุ่นฟุ้งเสียหาย2หมื่นล้าน! หมอลุยเช็กก่อมะเร็งหรือไม่
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการจัดเสวนา “แนวทางและมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทย” โดยนายุสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันนี้ กทม. ฝุ่นหายฟ้าใสแสดงสัญลักษณ์เป็นสีฟ้าทุกพื้นที่ แตกต่างจากช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ทั้งที่จำนวนรถก็มากและติดขัดเหมือนกันไม่ได้แตกต่างกัน รถในกทม.มากกว่า 10 ล้านคันและเพิ่มขึ้นทุกปี แต่สวนทางกับคุณภาพอากาศที่ทุกคนบอกว่าแย่ จำนวนรถเพิ่มขึ้นแต่สารมลพิษหลายตัวกลับลดลงเพราะมีมาตรการต่างๆ ควบคุมมาโดยตลอด รวมทั้งปริมาณค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง  PM 2.5 ปี 60-61 ค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 26-27 มคก./ลบ.ม.ไม่ต่างจากประเทศเกาหลี  จากเดิมที่เคยสูงถึง 35 มคก./ลบ.ม.  เพราะคุณภาพน้ำมันและรถดีขึ้น  อย่างไรก็ตามเวลานี้มีการขับเคลื่อนให้มีกฎหมายอากาศออกมาบังคับโดยเฉพาะซึ่งถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ต้องมีกฎหมายนี้เกิดขึ้น ที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดใน กทม. เกิดขึ้นในระยะสั้นคือเริ่มตั้งแต่เดือน ธ.ค. ใจกลางเมืองจะมีปัญหาเยอะ เพราะตึกสูงบดบัง แต่กทม. ไม่ได้เป็นพื้นที่ค่าฝุ่นสูงที่สุด บริเวณที่สูงคือ บริเวณ จ.สมุทรปราการ ถ.พระราม 2 จ. สมุทรสาคร ส่วนหนี่งของปัญหาบริเวณดังกล่าวมาจาก กทม. เพราะลมพัดจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ แทนที่ค่าฝุ่นจะสูงใน กทม. ก็พัดพาไปบริเวณดังกล่าว ถามว่าในภาพรวมเป็นอย่างไร กทม. จะเกิดปัญหานี้ทุกช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค. หลังเดือน ก.พ.ก็จะลงและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน วนอย่างนี้เป็นข้อมูล 9 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ถามว่าแย่กว่าเดิม ก็ไม่ได้แย่กว่าเดิม มันมาเร็วและไปเร็วกว่าเดิม ตอนนี้อากาศเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว  

นายสุพัฒน์ กล่าวอีกว่า อีกพื้นที่ที่ค่าคือบริเวณ ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี เพราะมีโรงโม่หิน โดยค่าฝุ่นที่สูงมาจาก PM 10  เป็นหลัก ไม่ใช่จากฝุ่น PM 2.5 อย่างไรก็ตามเวลานี้สถานการณ์ฝุ่นเกิดขึ้นในภาคเหนือ เนื่องจากมวลอากาศเคลื่อนผ่าน  ทั้งนี้ปัญหามลพิษทางกอากาศมาจาก 2 ปัจจัย คือการระบายมลพิษ และสภาวะทางอุตุนิยมวิทยา  ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมาสภาพอุตุนิยมวิทยาไม่เอื้อต่อการระบายอากาศ มวลอากาศเย็นต่อสู้กับมวลอากาศร้อนจากทะเล เกิดปัญหาเหมือนมีฝาครอบพื้นที่กทม.เอาไว้ ควันรถก็สะสมอยู่ไม่ลอยไปไหน ตามทฤษฏี เรียกเป็นการผกพันของอุณหภูมิและอากาศ ส่วนฝุ่นจากกัมพูชาลอยมาได้หรือไม่นั้น จากการแบบจำลองสถานการณ์เมื่อวันที่  26-27 ม.ค. ฝุ่นจากกัมพูชาลอยลงทะเล ใกล้เคียงกับแบบจำลองของ คพ. โดยอากาศมาถึงกทม.น่าจะเจือจางลง ซึ่งในช่วงเดียวกันนั้น PM2.5 ที่สระแก้วซึ่งอยู่ติดกัมพูชาอยู่ที่  41 มคก./ลบ.ม. ในขณะที่กทม.ฝุ่นเกิดมาตฐาน 50 มคก./ลบ.ม.อยู่ในระดับสีสส้ม ดังนั้นนักวิชการบางส่วนต้องดูให้ดี

“จากตัวเลขการวิเคราะห์ความเสียหายทางเศรษฐกิจของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ในช่วงเวลาที่เกิดฝุ่น PM 2.5 ใน กทม.และปริมณฑลนั้น ในระยะเวลา 65 วัน สร้างความเสียหายกว่า 2  หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมความเสียหายด้านสุขภาพ ถ้าสะสมทุกปีความเสียหายจะมากขนาดไหน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนคุณภาพน้ำมันที่ต้องลงทุนหลักหมื่นล้านนั้น ถ้าลงทุนแล้วใช้ได้นานก็คุ้มเป็นเรื่องที่โรงกลั่นจะต้องพิจารณา ราคาน้ำมันอาจจะแพงขึ้นไม่ถึง 50 สตางค์ ซึ่งทุกวันนี้ราคาน้ำมันก็เคยขึ้นลงคราวละ 80 สตางค์มาแล้ว ขณะที่ราคารถก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แถมยังมีการแข่งขันลดราคาสู้กัน ดังนั้นมันจึงไม่มีในเรื่องต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงนี้มากนัก”นายสุพัฒน์ กล่าว

 ด้านนพ.ขจรศักดิ์  แก้วจรัส รองอธิยดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา คือเราไม่สามารถทราบภาพรวมการเกิดปัญหาทั้งใน กทม และทั่วประเทศเป็นเท่าไร และแยกไม่ได้สาเหตุการป่วยของประชาชนเกิดจาก PM 2.5 ไข้หวัดใหญ่ระบาดหรือสาเหตุอื่น  ทั้งนี้เรามีการเฝ้าระวัง  22 โรงพยาบาลในกทม และปริมณฑล โดยติดตามตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค. ตอนนี้มีตัวเลขผู้ป่วยอยู่ที่ 1,000 กว่าราย  สิ่งที่เราเห็นคือเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.คนเข้าสู่ระบบคัดรองมากขึ้น โดยเฉลี่ยอายุอยู่ที่ 0-10 ปี และ 50-60 ปี กลุ่มเสี่ยงคือ เด็ก และผู้สูงอายุ ที่มีโรคหอบหืด ถุงลมอุดกลั้น โรคหัวใจสูง โดย จ. สมุทรปราการสูงสุด ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงเป็นประเด็นที่เราพูดคุย ไม่อยากเห็นคนใส่หน้ากากอนามัยไปวิ่งกลางแจ้ง เราบอกว่าเวลาจะไปพื้นที่สาธารณะให้ใส่หน้ากาก แล้วหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย แพทย์ถึงกับน้ำตาตกใน ไม่รู้ว่าท่านประชดหรือต้องการดูแลสุขภาพ ดังนั้นหน่วยราชการต้องสื่อให้ประชาชนเข้าใจใหม่ การออกกำลังกายมีทั้งกลางแจ้งและในอาคารสถาน ถ้าฝุ่นเกินก็ต้องงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง โดยจากนี้ PM 2.5 จะเป็นการสิ่งที่นำมาวินิจฉัยโรคต่างๆ ของแพทย์อีกอย่างหนึ่งในระยะยาวต่อไป เพื่อติดตามการเกิดโรคระยะยาว เช่น มะเร็ง เป็นต้น

ด้านนายยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า ในส่วนการลดมลพิษยานยนต์ มี 4 เรื่องหลัก คือ 1.เทคโนโลยีสะอาด 2.การใช้เชื้อเพลิงสะอาด 3.มาตรการจัดการรถเก่าและการดูแลเครืองยนต์ที่เหมาะสม 4.มาตรการลดระยะเดินทางจากการใช้รถ ทั้งนี้ตนเสนอแนวคิดคือต้องร่วมกันใช้รถอย่างมีประสิทธิภาพ โรงเรียนอาจไม่ต้องเข้าหรือเคารพธงชาติพร้อมกัน ให้ทำงานที่บ้าน หรือในระดับมหาวิทยาลัยในช่วงที่ฝุ่นวิกฤตอาจจะใช้วิธีการสอนผ่านช่องทางออนไลน์หรือไลฟ์สด ซึ่งก็มีบางแห่งทำในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่ต้องรีบทำคือการปรับมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 ในรถทุกประเภท ในอินเดียที่ปัญหาหนักมากข้ามจากยูโร 4 เป็นยูโร 6 เลย นอกจากนั้นต้องส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า รถยนต์อัตโนมัติเพิ่มขึ้น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไข  ทุกคนต้องมีส่วนร่วมไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานรัฐ เราคงไม่อยากหยุดเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ทำอย่างไรให้เจริญเติบอย่างยั่งยืน จึงต้องทำสิ่งเหล่านี้ร่วมกัน ประเทศที่เคยเกิดปัญหาก็แก้ได้ โดยใช้เวลาเป็น 10 ปี แต่คนไทยลืมง่าย ซึ่งเรื่องนี้กต้องทำอย่างต่อเนื่อง

นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ กล่าวว่า วันนี้มีคอนโดสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การจัดการปัญหาก็ต้องปรับไปเรื่อยๆ การเผาในที่โล่งก็เป็นปัญหาที่ต้องจัดการ เป็นแหล่งสำคัญของการเกิดมลพิษเรามีข้อตกลงอาเซียนที่ต้องดูแลร่วมกัน เรามีการเผาพื้นที่เกษตร พื้นที่สูง จากการเดินทางไปประเทศเกาหลี พบว่ามีการตั้งนโยบายที่ชัดเจนว่าจะมุ่งสู่อากาศสะอาดอย่างไรโดยให้ความสำคัญกรุงโซลเป็นพิเศษ ปัญหาเขายากกว่าเราเพราะเป็นภูเขาทั้งนั้น พลังก็ยังใช้ถ่านหินอยู่ และได้รับมลพิษจากเพื่อนบ้านมาด้วย  ทำให้เรามีกำลังใจในการแก้ปัญหา สิ่งที่ตนถามเขาคือมีการกล่าวโทษรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐหรือไม่ เขาไม่กล่าวโทษรัฐบาล แต่คิดว่าจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง เขามีกระทรวงสิ่งแวดล้อมดูแลประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการควบคุมแหล่งมลพิษสำคัญ.