เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบั
ญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 โดยระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิ
ราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้
าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่
มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้
โทษ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติ
บางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิ
ทธิและเสรีภาพของบุ
คคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุ
มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบั
นและสอดคล้องตามหลักสากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้
สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติ
ไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ขึ้นไว้ และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถั
ดจากวันประกาศในราชกิจจานุ
เบกษาเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ในพ.ร.บ.ดังกล่าวระบุถึงเหตุ
ผลในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบางบัญญัติที่ไม่ทันต่
อสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ปรากฏผลการวิจัยว่
าสารสกัดจากกัญชาและพืชกระท่
อมมีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่
างมาก ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กัญชาและพืชกระท่อมเป็นยาเสพติ
ดให้โทษในประเภท 5 ที่ห้ามไม่ให้ผู้ใดเสพหรื
อนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่
วยหรือนำไปใช้ประโยชน์
ในทางการแพทย์ และยังกำหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้
ครอบครองด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการรับรองและคุ้
มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รั
บและใช้กัญชาเพื่อประโยชน์
ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ได้รั
บอนุญาต เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ให้ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้
านยาของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิดการผู
กขาดทางด้านยา สมควรแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อเปิดโอกาสให้นำกัญชาและพื
ชกระท่อมไปทำการศึกษาวิจัยและพั
ฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
และใช้รักษาโรคภายใต้การดู
แลและควบคุมของแพทย์ได้
สำหรับสาระสำคัญที่น่าสนใจ อาทิ การกำหนดให้ปลั
ดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย และนายกสภาเภสัชกรรม เป็นกรรมการควบคุมยาเสพติดให้
โทษด้วย เฉพาะในวาระที่เกี่ยวกับกั
ญชาและพืชกระท่อม รวมถึงมาตรา 20 ที่บัญญัติภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บั
งคับ ให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดฯ ประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกั
บการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีกัญชาและพืชกระท่
อมไว้ในครอบครองทุก 6 เดือน ขณะที่มาตรา 21 ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พ.ร.บ.นี้ใช้บั
งคับ การขอรับใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกเฉพาะกัญชาเพื่
อประโยชน์ทางการแพทย์หรือการรั
กษาผู้ป่วย ให้อนุญาตได้เฉพาะกรณีที่ผู้
ขออนุญาตเป็นหน่วยงานของรั
ฐตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
นอกจากนี้ผู้ใดที่มีกัญชาไว้
ในครอบครองเพื่อประโยชน์
ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือการศึกษาวิจัย อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บั
งคับ ไม่ต้องรับโทษโดยจะต้องยื่
นคำขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิ
การคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บั
งคับ แต่ถ้ากรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้กัญชานั้นตกเป็
นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้
ทำลาย
อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/019/T_0001.PDF