ผู้สมัครส.ส.ร้องศาลขอคืนสิทธิกว่า100เรื่อง
การเมือง

เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณาคดีเลือกตั้ง ส.ส. ภายหลัง กกต.ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ภายหลัง กกต.ประกาศรายชื่อ ในวันที่ 16-17 ก.พ. ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ เเต่ศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่รับคำร้องเเละไต่สวนก่อนที่จะส่งศาลฎีกาวินิจฉัยก็ได้เปิดทำการในวันหยุดเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเลือกตั้งเป็นไปอย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธภาพ โดยข้อมูลที่ได้รับรายงานมาพบว่า มีคดีที่มีการยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 16 ก.พ. จำนวน 7 เรื่อง เเละวันที่ 17 ก.พ.จำนวน 16 เรื่อง และเมื่อวานนี้ (18 ก.พ.) จำนวน 83 เรื่อง เป็นการร้องวินิจฉัยสิทธิ ส.ส.เเบบบัญชีรายชื่อจำนวน 8 เรื่อง เเบบเเบ่งเขต จำนวน 75 เรื่อง
ขณะนี้มีคดีเลือกตั้ง ส.ส.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการวมทั้งหมด 106 เรื่อง สำหรับที่ทำการแผนกคดีเลือกตั้งศาลฎีกา จะใช้บัลลังค์ในอาคารศาลฎีกา ถนน แจ้งวัฒนะ สำหรับคดีเลือกตั้ง เมื่อมีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลจะไต่สวนผู้ร้อง ผู้คัดค้าน แล้วส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ซึ่งจะมีองค์คณะพิจารณา 3 คน พิจารณาพิพากษาต่อไป
ทั้งนี้สำหรับปริมาณการร้องคดีที่เกี่ยวกับวินิจฉัยสิทธิในการเลือกตั้งทยอยเข้ามาโดยเมื่อวานนี้ ( 18 ก.พ.) มีการร้องเข้ามามากกว่า 2 วันเเรกเนื่องจากเป็นวันเปิดทำการราชการวันเเรก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ที่มีการร้องเข้ามา เป็นคดียื่นคำร้องกรณีพรรคที่ผู้ร้องเป็นสมาชิกไม่ดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวเเทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ตามมาตรา 145 พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ส่วนที่เหลือก็จะเกี่ยวกับเป็นสมาชิกพรรคเดียวน้อยกว่า 90 วัน คือ ลาออกจากพรรคเดิมแล้วมาเป็นสมาชิกพรรคใหม่ ,ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเลย , เเละกรณีเป็นสมาชิกพรรคมากกว่า 1 พรรค
อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องมีเวลาในการเตรียมเอกสารในการทำคำร้อง โดยตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 49 บัญญัติว่า กรณีที่ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งไม่รับสมัครผู้ใด หรือไม่ประกาศ รายชื่อบุคคลใดเป็นผู้สมัครตามมาตรา 46 ให้บุคคลนั้นมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลฎีกาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ไม่รับสมัครหรือวันที่ประกาศรายชื่อผู้สมัคร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในการดําเนินกระบวนพิจารณา โดยในการพิจารณาและวินิจฉัยของศาลฎีกา ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ก่อนวันเลือกต้ังไม่น้อยกว่า 3 วัน ให้ศาลแจ้งคําวินิจฉัยไปยัง ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งเพื่อดําเนินการตามคําวินิจฉัยต่อไปโดยเร็ว.
ขณะนี้มีคดีเลือกตั้ง ส.ส.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการวมทั้งหมด 106 เรื่อง สำหรับที่ทำการแผนกคดีเลือกตั้งศาลฎีกา จะใช้บัลลังค์ในอาคารศาลฎีกา ถนน แจ้งวัฒนะ สำหรับคดีเลือกตั้ง เมื่อมีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลจะไต่สวนผู้ร้อง ผู้คัดค้าน แล้วส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ซึ่งจะมีองค์คณะพิจารณา 3 คน พิจารณาพิพากษาต่อไป
ทั้งนี้สำหรับปริมาณการร้องคดีที่เกี่ยวกับวินิจฉัยสิทธิในการเลือกตั้งทยอยเข้ามาโดยเมื่อวานนี้ ( 18 ก.พ.) มีการร้องเข้ามามากกว่า 2 วันเเรกเนื่องจากเป็นวันเปิดทำการราชการวันเเรก ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ที่มีการร้องเข้ามา เป็นคดียื่นคำร้องกรณีพรรคที่ผู้ร้องเป็นสมาชิกไม่ดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวเเทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ตามมาตรา 145 พ.ร.ป.พรรคการเมือง 2560 ส่วนที่เหลือก็จะเกี่ยวกับเป็นสมาชิกพรรคเดียวน้อยกว่า 90 วัน คือ ลาออกจากพรรคเดิมแล้วมาเป็นสมาชิกพรรคใหม่ ,ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเลย , เเละกรณีเป็นสมาชิกพรรคมากกว่า 1 พรรค
อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องมีเวลาในการเตรียมเอกสารในการทำคำร้อง โดยตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 49 บัญญัติว่า กรณีที่ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งไม่รับสมัครผู้ใด หรือไม่ประกาศ รายชื่อบุคคลใดเป็นผู้สมัครตามมาตรา 46 ให้บุคคลนั้นมีสิทธิยื่นคําร้องต่อศาลฎีกาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ไม่รับสมัครหรือวันที่ประกาศรายชื่อผู้สมัคร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ในการดําเนินกระบวนพิจารณา โดยในการพิจารณาและวินิจฉัยของศาลฎีกา ให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ก่อนวันเลือกต้ังไม่น้อยกว่า 3 วัน ให้ศาลแจ้งคําวินิจฉัยไปยัง ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งเพื่อดําเนินการตามคําวินิจฉัยต่อไปโดยเร็ว.