กรมชลฯเร่งสำรวจออกแบบ3อ่างเก็บน้ำจ.กระบี่
การเมือง
ส่วนในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ โดยการต่อยอดศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ หรือ SWOC ที่นอกจากจะใช้ในการประชุมอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำผ่านระบบ VDO Conference แล้ว ยังใช้ในการประชุมคณะทำงานศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และดินถล่มจังหวัดกระบี่ จากพายุปาบึก เมื่อต้นเดือนมกราคม ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการเตรียมพร้อมการรับมืออุทกภัยและภัยแล้ง โดยการพร่องน้ำให้อยู่ในเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ (Rule Curve) ขุดลอกคลองส่งน้ำและอาคารต่างๆ เพื่อช่วยในการระบาย ขุดลอกตะกอนดินหน้าฝายที่ตื้นเขิน ฝายห้วยน้ำแก้ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซ่อมแซมระบบส่งน้ำและอาคารประกอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
กรมชลประทานยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เร่งรัดจัดตั้ง JMC และอาสาสมัครชลประทาน โดยจัดประชุมคณะกรรมการชลประทาน (JMC) โดยมีกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง จัดการประชุมการมีส่วนร่วมในงานก่อสร้าง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน ลดช่องว่างของเจ้าหน้าที่และประชาชนในพื้นที่ และยังน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ส่งเสริมโครงการของเกษตรกร เกษตรทฤษฎีใหม่ จัดทำพื้นที่นำร่อง โคก หนอง นา โมเดล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่งคง
“การลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของโครงการชลประทานกระบี่ ภายใต้แนวทาง RID No.1 ที่จะมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงาน ทั้งการบริหารจัดการน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน รวมทั้งการพัฒนาระบบงานให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อการพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น” รองอธิบดีฯ กล่าว.