ถอยแล้ว!สนช.ยุติพิจารณาร่างพ.ร.บ.ข้าว ยันไร้ใบสั่งนายกฯ
การเมือง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 ก.พ. ที่รัฐสภา เครือข่ายประชาชน People Go Network โดย น.ส.สุภาภรณ์ มาลัยลอย ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ ยื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผ่านนายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครอง และการบริหารจัดการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสนช. เรื่องขอให้สนช.ยุติการพิจารณาร่างกฎหมายทุกฉบับ
โดย น.ส.สุภาภรณ์ กล่าวว่า เป็นเวลาเกือบ 5 ปีที่สนช.เข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรนิติบัญญัติ ซึ่งทางเครือข่ายฯ เห็นว่าการออกกฎหมายตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เป็นการออกกฎหมายอย่างเร่งรัด เร่งรีบ โดยมีร่างกฎหมายที่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ทั้งสิ้น 509 ฉบับ โดยผ่านความเห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายทั้งสิ้น 412 ฉบับ เฉลี่ยแล้วการพิจารณากฎหมายของ สนช.ตกปีละเกือบร้อยฉบับ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2561 ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 77 กำหนดว่าก่อนการร่างกฎหมายทุกฉบับให้รับฟังความเห็นจากประชาชน แต่เท่าที่เห็นกระบวนการรับฟังความเห็นมีช่องทางการสื่อสารอย่างแคบประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงเข้าไม่ถึง ที่สำคัญคือไม่มีการรับฟังความเห็นก่อนการยกร่างกฎหมาย เท่าที่ผ่านมาจะเป็น สนช. ยกร่างกฎหมายแล้วค่อยรับฟังความเห็น กฎหมายไม่มีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านทำให้ประชาชนเกิดความกังวล จึงอยากเรียกร้องให สนช.ยุติการพิจารณากฎหมายทุกฉบับ ขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ควรตั้งกลไกทบทวนกฎหมายทุกฉบับที่ผ่านจาก สนช. อะไรที่ยกเลิกได้ก็ให้ยกเลิกไปก่อน
ต่อมาเวลา 10.30 น. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสนช. ในฐานะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าว พ.ศ... เปิดเผยว่า ตนได้หารือกับทีมงานแล้ว เห็นว่าเมื่อสังคมยังไม่สบายใจ ไม่เข้าใจในตัวร่างพ.ร.บ.ข้าว อาจเกิดเหตุเข้าใจผิด จึงขอเลื่อนการพิจารณาออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะอยากทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าร่างกฎหมายนี้เป็นเจตนาดี ต้องการช่วยเหลือชาวนาจริงๆ เมื่อรัฐบาลใหม่มาจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ขอว่าอย่าโยงเรื่องดังกล่าวถึงนายกรัฐมนตรี เพราะท่านไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สั่งการอะไร แต่เป็นเรื่องที่เราหารือในสภา
"จะไม่หยิบยกมาพิจารณาในสนช.แล้ว เพราะเกรงว่าความขัดแย้งในสังคมจะมีมากขึ้น กลัวเกิดการเผชิญหน้าของฝ่ายสนับสนุน และไม่สนับสนุน เราจึงขอยุติดีกว่า แม้ว่าสนช.มีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่ถ้าดำเนินต่อไปกฎหมายผ่านก็มีปัญหา ไม่ผ่านก็มีปัญหา เราไม่ดื้อรั้น ฟังเสียงประชาชน เมื่อยังไม่เข้าใจ ก็ขอยุติดีกว่า หวังว่าสักวันอาจคิดถึงผมก็ได้ เพราะร่างนี้เป็นประโยชน์" นายกิตติศักดิ์ กล่าว.
โดย น.ส.สุภาภรณ์ กล่าวว่า เป็นเวลาเกือบ 5 ปีที่สนช.เข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรนิติบัญญัติ ซึ่งทางเครือข่ายฯ เห็นว่าการออกกฎหมายตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา เป็นการออกกฎหมายอย่างเร่งรัด เร่งรีบ โดยมีร่างกฎหมายที่เข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ทั้งสิ้น 509 ฉบับ โดยผ่านความเห็นชอบและประกาศเป็นกฎหมายทั้งสิ้น 412 ฉบับ เฉลี่ยแล้วการพิจารณากฎหมายของ สนช.ตกปีละเกือบร้อยฉบับ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2561 ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 77 กำหนดว่าก่อนการร่างกฎหมายทุกฉบับให้รับฟังความเห็นจากประชาชน แต่เท่าที่เห็นกระบวนการรับฟังความเห็นมีช่องทางการสื่อสารอย่างแคบประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงเข้าไม่ถึง ที่สำคัญคือไม่มีการรับฟังความเห็นก่อนการยกร่างกฎหมาย เท่าที่ผ่านมาจะเป็น สนช. ยกร่างกฎหมายแล้วค่อยรับฟังความเห็น กฎหมายไม่มีการประเมินผลกระทบอย่างรอบด้านทำให้ประชาชนเกิดความกังวล จึงอยากเรียกร้องให สนช.ยุติการพิจารณากฎหมายทุกฉบับ ขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ควรตั้งกลไกทบทวนกฎหมายทุกฉบับที่ผ่านจาก สนช. อะไรที่ยกเลิกได้ก็ให้ยกเลิกไปก่อน
ต่อมาเวลา 10.30 น. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสนช. ในฐานะผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าว พ.ศ... เปิดเผยว่า ตนได้หารือกับทีมงานแล้ว เห็นว่าเมื่อสังคมยังไม่สบายใจ ไม่เข้าใจในตัวร่างพ.ร.บ.ข้าว อาจเกิดเหตุเข้าใจผิด จึงขอเลื่อนการพิจารณาออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะอยากทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าร่างกฎหมายนี้เป็นเจตนาดี ต้องการช่วยเหลือชาวนาจริงๆ เมื่อรัฐบาลใหม่มาจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ขอว่าอย่าโยงเรื่องดังกล่าวถึงนายกรัฐมนตรี เพราะท่านไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้สั่งการอะไร แต่เป็นเรื่องที่เราหารือในสภา
"จะไม่หยิบยกมาพิจารณาในสนช.แล้ว เพราะเกรงว่าความขัดแย้งในสังคมจะมีมากขึ้น กลัวเกิดการเผชิญหน้าของฝ่ายสนับสนุน และไม่สนับสนุน เราจึงขอยุติดีกว่า แม้ว่าสนช.มีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่ถ้าดำเนินต่อไปกฎหมายผ่านก็มีปัญหา ไม่ผ่านก็มีปัญหา เราไม่ดื้อรั้น ฟังเสียงประชาชน เมื่อยังไม่เข้าใจ ก็ขอยุติดีกว่า หวังว่าสักวันอาจคิดถึงผมก็ได้ เพราะร่างนี้เป็นประโยชน์" นายกิตติศักดิ์ กล่าว.