ข่าวกรมชลฯวอนชาวนาอีสานงดทำนาปรังหลังแม่น้ำชีแห้งขอด - kachon.com

กรมชลฯวอนชาวนาอีสานงดทำนาปรังหลังแม่น้ำชีแห้งขอด
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 26 ก.พ.นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าวถึงลำน้ำชีแห้งขอดที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดเป็นประจำเกือบทุกปีในตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย ซึ่งบริเวณโค้งน้ำแห้งขอดจนเห็นสันดอนทรายระยะทางประมาณ 200 ม. โดยเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2561/2562 ประมาณ 1,000 ไร่ อาศัยสูบน้ำจากแม่น้ำชีด้วยสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ทำฝายกระสอบทรายขวางกั้นลำน้ำชี ล่าสุดดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งดำเนินการโดย องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง สำหรับหน้าแล้งนี้ เมื่อสิ้นสุดฤดูฝนปี 2561 สำนักงานชลประทานที่ 7 ได้ประชุมร่วมกับสำนักงานชลประทานที่ 6 และ 8 เพื่อเตรียมการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูลประจำปี 2561/2562 และได้จัดประชุมคณะกรรมการเปิด-ปิด บานระบายของเขื่อนยโสธร และเขื่อนธาตุน้อย เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการน้ำและเตรียมรับมือภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากน้ำต้นทุนในลำน้ำและเขื่อนขนาดใหญ่มีน้อย โดยให้ความสำคัญในเรื่องการอุปโภค – บริโภค และการรักษาระบบนิเวศเป็นหลัก พร้อมขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วน ลดการปลูกข้าวนาปรังทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน พร้อมส่งเสริมให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนในฤดูแล้ง นอกจากนี้ สำนักงานชลประทานที่ 7 ได้ดำเนินการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในแม่น้ำชี และขอสนับสนุนน้ำจากสำนักงานชลประทานที่ 6 ในช่วงฤดูแล้งประจำปี 2561/2562 แต่ยืนยันว่า ยังคงมีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอ จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่โรงสูบน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค สาขาอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร พบว่า โรงสูบน้ำเป็นแบบแพลอย ขึ้นลงได้ตามระดับน้ำ ปัจจุบันระดับน้ำลึกประมาณ 3.00 – 4.00 ม. สามารถสูบน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาได้สะดวก สถานการณ์ทั่วไปปกติ

สำหรับเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญของแม่น้ำชีมีเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำตามหลักวิชาการ และสามารถจัดสรรน้ำจากปริมาณน้ำต้นทุนให้สอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อการอุปโภค – บริโภค รักษาระบบนิเวศ และเกษตรกรรมอย่างเพียงพอตลอดลำน้ำชีตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ