เปิดวาร์ป'กัญชา'ถูกกฎหมายต้นแรกของอาเซียน
การเมือง
นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์นั้นต่างชาติดำเนินการมานานกว่าประเทศไทยเป็น 10 ปี ดังนั้นพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ที่เพิ่งประกาศใช้ จึงได้ให้เวลาในช่วง 5 ปี นี้หน่วยงานต่างๆที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ต้องดำเนินการร่วมกับภาครัฐ ดังนั้นในช่วง 5 ปีนี้ จึงเป็นช่วงที่เราต้องเร่งพัฒนา อย่างเรื่องของการปลูกนั้นไม่ใช่ว่าใครมีพื้นที่แล้วจะไปโรยเมล็ดกัญชาลงไปแล้วจะสามารถใช้ได้ แต่การเอากัญชามาทำยาต้องให้ได้เมดิคัลเกรด ซึ่งก็คือต้องมีความปลอดภัย ปราศจากสิ่งปลอมปน ทั้งโลหะหนัก สารเคมี เชื้อรา เป็นต้น และในทุกกระบวนการของการผลิต สกัด ต้องปลอดภัยทั้งหมด และสุดท้ายคือกาารพัฒนาจนมีสายพันธุ์ที่เชื่อได้ว่าให้สารสำคัญที่ได้มาตรฐาน
ซึ่งตนอยากเห็นผลสำเร็จภายใน 2-3 ปีนี้แล้ว แต่เชื่อว่าภายใน 5 ปี นี้ ประเทศไทยจะสามารถนำกัญชามาใช้รักษาโรคหลายๆ โรคได้ รวมถึงการนำไปใช้ในทางการแพทย์แผนไทยด้วย ทั้งนี้เชื่อว่ากัญชาจะกายเป็นพืชเศรษฐกิจได้ในอนาคต ขอย้ำว่านี่ไม่ได้เป็นการกีดกันคนไทยแต่เพื่อปกป้องสิทธิให้คนไทย ฉะนั้นคนที่พูดว่าทำแบบนี้แล้วจะทำให้กัญชาต่างชาติทะลักเข้าประเทศไทยนั้นจึงไม่จริง นอกจากนี้ ขอเตือนว่าการคลากล็อคกัญชายังเปิดให้เฉพาะการแพทย์ และการวิจัยเท่านั้น การนำไปมช้นอกเหนือจากนั้นยังมีความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดเหมือนเดิม
"โครงการที่องค์การเภสัชกรรมดำเนินการอยู่นี้ เป็นเหมือนจุดเร่มต้นของต้นแบบการปลูกกัญชาแบบครบวงจร แต่อจากนี้จะมีอีกหลายหน่วยงาน และหลายโครงการที่จะมาร่วมกันทำเชื่อว่าจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ และผู้ป่วยได้ประโยชน์จริงๆ เข้าถึงได้ เพราะเป็นพันธกิจขององค์การเภสัชที่ต้องให้คนไทยเข้าถึงยาในราคาที่เหมาะสม แต่ต้องเข้าใจว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มียาจากกัญชาที่ผ่านการวิจัยแบบครบถ้วน ชัดเจน ในไทย" นพ.ปิยะสกล กล่าว
ด้านนพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีความกังวลว่าหลังพื้นระยะนิรโทษกรรมผู้ครอบครองกัญชา 90 วันแล้วทางอภ.จะมีผิตภัณฑ์กัญชาให้ผู้ป่วยใช้หรือไม่นั้น เรียนว่าเดิมมีความคิดที่จะพึ่งพากัญชาของกลาง แต่เมื่อมีการนำกัญชาของกลางมาสกัดแล้วพบว่ามีการปนเปื้อนโลหะหนัก สารเคมี ทำให้ไม่สามารถเอามาใช้ได้ ดังนั้นอภ.ถึงได้มีโครงการระยะเร่งด่วนในการปลูกกัญชาเพื่อสกัดใช้ทางการแพทย์เอง วงเงิน 10 ล้านบาท ภายใต้มาตรฐานความปลอกภัยตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ใช้เวลาในการปลูกประมาณ 3-4 เดือน คาดว่าเดือนก.ค.จะสามารถนำมาสกัดเป็นสารสกัดต้นแบบกญชาทางการแพทย์ ชนิดน้ำมันหยดใต้ลิ้นได้ประมาณ 2,500 ขวด ขวดละ 5 ซีซี หรือประมาณ 10,000 ขวดต่อปี นอกจากนี้ยังมีการโครงการปลูกกัญชาทางการแพทย์ในระดับกลุ่มอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ใช้งบประมาณ 164.04 ล้านบาท ที่อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี บนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทั้งปลูกในอาคารและโรงเรือนปลูกพืชเพื่อวิจัย และพัฒนาสายพันธุ์ ที่ให้สารสำคัญสูง และทนต่อโรคต่างๆ และสารมารถปลูกในโรงเรือนปลูกพื้ชที่ลดต้นทุนลงมาได้ สำหรับการปลูกระยะที่ 3 เป็นการผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม โดยเริ่มปลูกและผลิตแบบครบวงจรภายในม.ค. 2564 ที่อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี
ด้านผศ.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้เชี่ยวชาญด้นการเพาะปลูกและปรับปรุงพันธุ์พืช องค์การเภสัชกรรม กล่าววว่า ที่องค์การเภสัชฯ กำลังดำเนินการนี้เป็นการปลูกในอาคาร โดยให้รากลอย ไม่ติดดิน ทำให้ได้รับออกซิเจนสูง รวมถึงควบคุมสิ่งแวดล้อมในการปลูก ซึ่งมีผลต่อปริมาณสารสำคัญ โดยมีการนำเข้ากัญชา 3 สายพันธุ์ที่ให้สารซีบีดีสูง ทีเอชซีสูง และมีสัดส่วนสารซีบีดี และทีเอชซี 1 ต่อ 1 เท่ากัน ทั้งนี้สาเหตุที่ยังไม่ได้ใช้กัญชาสายพันธุ์ไทย เพราะยังไม่เป็นมาตรฐาน ที่ผ่านมาได้มีการเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากแหล่งต่างๆ ยังพบว่ามีความแตกต่าง ความไม่คงที่ของสารสำคัญ จึงยังไม่ได้เอามาใช้ เพราะการจะนำมาใช้เพื่อการรักษาโรคนั้นต้องเป็นวัตถุดิบที่ให้สารสำคัญที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกต้น แทบจะโคลนนิ่งกันมา.