'กฤษฏา'เปิดพิมพ์เขียวแผนผลิตเกษตรสมัยใหม่4มี.ค.นี้
การเมือง

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง 5 หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯกับบริษัทแอ๊กโกร แอ็กซเชนจ์ จำกัด(ตลาดไท)เพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยและการตลาดนำการผลิต ว่ารัฐบาลเร่งขับเคลื่อนมาตรการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ภาคเกษตรทั้งระบบ โดยขณะนี้ตนได้ร่างพิมพ์เขียวแผนผลิตการเกษตรใหม่ของประเทศ แล้วเสร็จเตรียมชี้แจงผ่านการประชุมระบบทางไกลกับข้าราชการทั่วประเทศ วันจันทร์ที่4 มี.ค.นี้ โดยแผนนี้จะสอดรับกับแผนปฏิรูปภาคเกษตร ในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืน
“ภายใต้นโยบายการตลาดนำการผลิต จะให้ความสำคัญกับ 4พันธมิตร ซึ่งมีกลไกข้าราชการกระทรวงเกษตรฯเป็นตัวหลักที่ตั้งใจทำงานช่วยเกษตรกร ด้วยความเข้มแข็งซื่อสัตย์สุจริต ร่วมกับ เกษตรกรเจ้าของที่ดิน รวมแปลงกันให้ได้ขนาด1พันไร่ขึ้นไป เป็นลักษณะทำใหญ่เพื่อให้เกิดประหยัดต้นทุน และคัดเลือกเกษตรกรเข้มแข็ง หรือลูกหลานเกษตรกรเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นผู้จัดการฟาร์ม เชื่อมโยงกับภาคเอกชน และ บริษัทประชารัฐสามัคคีในทุกจังหวัด นำเครื่องจักรกลการเกษตร แนะนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ หาตลาด และพันธมิตรที่สำคัญขาดไม่ได้ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)ให้เงินทุน สินเชื่อ ซึ่งรูปแบบบริหารแปลงเหมือนลงแขก จะมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย พาณิชย์ อุตสาหกรรม เข้ามาช่วยกันส่งเสริมการแปรรูป หาโรงงาน หรือ ล้ง มาตั้งใกล้ๆแปลง โดยจะดึง กระทรวงต่างประเทศ มาด้วยเพราะจะได้ รู้ราคา ความต้องการตลาดโลก ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการแปลงต้นแบบ6แปลงใน6ภูมิภาค ยืนยันจะทำให้ได้ในรัฐบาลนี้และภายใน4เดือนจะลงมือปลูกพืชต่างๆที่มีอนาคต โดยใช้ต้นแบบจากโมเดลปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนารอบแรก ที่ประสบความสำเร็จแล้วซึ่งเกษตรกรที่เลิกทำนาปรังรอบ2 มาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีกำไรไร่ละกว่า4 พันบาท ”นายกฤษฏา กล่าว

นายกฤษฏา กล่าววต่ออีกว่า นอกจากนี้จะเดินหน้าตามแผนปฏิบัติการ ลด ละ เลิก ใช้3 สารเคมีภายใน 24 เดือน ซึ่งได้ทำหนังสือแจ้งคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งระดมหน่วยงาน 14 กรม 7 รัฐวิสาหกิจ ลงไปช่วยเกษตรกรทำเกษตรปลอดสารพิษโดยวันที่ 4 มี.ค. จะชี้แจงแผนผ่านระบบทางไกลให้กับผู้ว่าฯ76 จังหวัด เพื่อวางเป้าหมายให้สำเร็จตามประกาศกระทรวง และให้สาธารณะชนรับทราบอย่างทั่วถึง
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางรับมือปัญหาภัยแล้ง โดยพื้นที่ในเขตชลประทาน 30 ล้านไร่ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันว่ามีนำเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งบริหารจัดการน้ำได้ และมีเกษตรกร ไม่ทำตามคำร้องขอให้เว้นทำนา มาปลูกพืชใช้น้ำน้อย แต่ยังทำนาปรังต่อเนื่อง ได้ส่งทีมงานไปทำความเข้าใจ ถ้าน้ำไม่พอเกิดความเสียหาย จะไม่ได้รับค่าเยียวยาชดเชยจากรัฐกรณีเกิดภัยพิบัติ ในส่วนนอกเขตชลประทาน ได้เร่งให้ทุกพื้นที่ไปสำรวจมีแหล่งน้ำเท่าไหร่ ให้ได้ปริมาณน้ำมาภายในเดือนนี้ และบริหารจัดการอย่างไรให้เพียงพอไปถึงสิ้นเดือน พ.ค. โดยวันจันทร์ที่4มี.ค. จะแถลงแผนรับมือภัยแล้งไปยัง ผู้ว่าราชการ 76 จังหวัด.
“ภายใต้นโยบายการตลาดนำการผลิต จะให้ความสำคัญกับ 4พันธมิตร ซึ่งมีกลไกข้าราชการกระทรวงเกษตรฯเป็นตัวหลักที่ตั้งใจทำงานช่วยเกษตรกร ด้วยความเข้มแข็งซื่อสัตย์สุจริต ร่วมกับ เกษตรกรเจ้าของที่ดิน รวมแปลงกันให้ได้ขนาด1พันไร่ขึ้นไป เป็นลักษณะทำใหญ่เพื่อให้เกิดประหยัดต้นทุน และคัดเลือกเกษตรกรเข้มแข็ง หรือลูกหลานเกษตรกรเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นผู้จัดการฟาร์ม เชื่อมโยงกับภาคเอกชน และ บริษัทประชารัฐสามัคคีในทุกจังหวัด นำเครื่องจักรกลการเกษตร แนะนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ หาตลาด และพันธมิตรที่สำคัญขาดไม่ได้ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)ให้เงินทุน สินเชื่อ ซึ่งรูปแบบบริหารแปลงเหมือนลงแขก จะมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทย พาณิชย์ อุตสาหกรรม เข้ามาช่วยกันส่งเสริมการแปรรูป หาโรงงาน หรือ ล้ง มาตั้งใกล้ๆแปลง โดยจะดึง กระทรวงต่างประเทศ มาด้วยเพราะจะได้ รู้ราคา ความต้องการตลาดโลก ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการแปลงต้นแบบ6แปลงใน6ภูมิภาค ยืนยันจะทำให้ได้ในรัฐบาลนี้และภายใน4เดือนจะลงมือปลูกพืชต่างๆที่มีอนาคต โดยใช้ต้นแบบจากโมเดลปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนารอบแรก ที่ประสบความสำเร็จแล้วซึ่งเกษตรกรที่เลิกทำนาปรังรอบ2 มาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีกำไรไร่ละกว่า4 พันบาท ”นายกฤษฏา กล่าว

นายกฤษฏา กล่าววต่ออีกว่า นอกจากนี้จะเดินหน้าตามแผนปฏิบัติการ ลด ละ เลิก ใช้3 สารเคมีภายใน 24 เดือน ซึ่งได้ทำหนังสือแจ้งคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งระดมหน่วยงาน 14 กรม 7 รัฐวิสาหกิจ ลงไปช่วยเกษตรกรทำเกษตรปลอดสารพิษโดยวันที่ 4 มี.ค. จะชี้แจงแผนผ่านระบบทางไกลให้กับผู้ว่าฯ76 จังหวัด เพื่อวางเป้าหมายให้สำเร็จตามประกาศกระทรวง และให้สาธารณะชนรับทราบอย่างทั่วถึง
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า สำหรับแนวทางรับมือปัญหาภัยแล้ง โดยพื้นที่ในเขตชลประทาน 30 ล้านไร่ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ยืนยันว่ามีนำเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งบริหารจัดการน้ำได้ และมีเกษตรกร ไม่ทำตามคำร้องขอให้เว้นทำนา มาปลูกพืชใช้น้ำน้อย แต่ยังทำนาปรังต่อเนื่อง ได้ส่งทีมงานไปทำความเข้าใจ ถ้าน้ำไม่พอเกิดความเสียหาย จะไม่ได้รับค่าเยียวยาชดเชยจากรัฐกรณีเกิดภัยพิบัติ ในส่วนนอกเขตชลประทาน ได้เร่งให้ทุกพื้นที่ไปสำรวจมีแหล่งน้ำเท่าไหร่ ให้ได้ปริมาณน้ำมาภายในเดือนนี้ และบริหารจัดการอย่างไรให้เพียงพอไปถึงสิ้นเดือน พ.ค. โดยวันจันทร์ที่4มี.ค. จะแถลงแผนรับมือภัยแล้งไปยัง ผู้ว่าราชการ 76 จังหวัด.