ยันก.ม.ไซเบอร์ไม่รวบอำนาจรัฐ อ้างควบคุมภัยคุกคามประเทศ
การเมือง

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่รัฐสภา นางเสาวณี สุวรรณชีพ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงว่า ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับผ่านการทำประชาพิจารณ์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสนช. คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นและนำมาปรับแก้ไว้ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว สำหรับร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้นยืนยันว่าไม่มีการรวบอำนาจรัฐ เพราะกฏหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมภัยคุกคามไม่ให้มีผลกระทบต่อประเทศ อีกทั้งมีการกำหนดประเภทของภัยคุกคามไว้ชัดเจน ระบบการบริหารระงับยับยั้งต้องอาศัยการบริหารงานโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดูแลสถานการณ์ เพื่อให้เกิดระบบงานที่เป็นมาตรฐาน
นางเสาวณี กล่าวอีกว่า ข้อกล่าวหาว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐเกินไปหรือไม่นั้นขอชี้แจงว่า ไม่มีส่วนใดของกฎหมายที่จะไปใช้อำนาจรัฐในการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเน้นการป้องกันกลุ่มคนที่มีเจตนาไม่ดีเท่านั้น นอกจากนี้ การดำเนินการต้องมีการกำหนดตัวเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อแก้ไขปัญหาระดับต่างๆ โดยการตรวจค้นจะต้องมีคำสั่งศาลก่อนอีกด้วย
ด้านพล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ กรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า กฎหมายไม่ได้มอบหมายให้ภาครัฐไปดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอให้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนประเด็นที่เป็นห่วงว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าไปยึดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์นั้น ยืนยันว่าจะกระทำโดยพลการไม่ได้ ต้องได้รับอำนาจจากศาลก่อน ที่มีการกล่าวหากันก่อนหน้านี้นั้นเป็นข้อมูลเก่า แต่ขณะนี้สนช.ได้ปรับแก้ไขกฎหมายแล้ว.
นางเสาวณี กล่าวอีกว่า ข้อกล่าวหาว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐเกินไปหรือไม่นั้นขอชี้แจงว่า ไม่มีส่วนใดของกฎหมายที่จะไปใช้อำนาจรัฐในการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเน้นการป้องกันกลุ่มคนที่มีเจตนาไม่ดีเท่านั้น นอกจากนี้ การดำเนินการต้องมีการกำหนดตัวเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อแก้ไขปัญหาระดับต่างๆ โดยการตรวจค้นจะต้องมีคำสั่งศาลก่อนอีกด้วย
ด้านพล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ กรรมาธิการวิสามัญฯ กล่าวว่า กฎหมายไม่ได้มอบหมายให้ภาครัฐไปดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอให้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง ส่วนประเด็นที่เป็นห่วงว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าไปยึดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์นั้น ยืนยันว่าจะกระทำโดยพลการไม่ได้ ต้องได้รับอำนาจจากศาลก่อน ที่มีการกล่าวหากันก่อนหน้านี้นั้นเป็นข้อมูลเก่า แต่ขณะนี้สนช.ได้ปรับแก้ไขกฎหมายแล้ว.