ข่าว'กฤษฏา'เตรียมถกมาตรการรัมมือภัยแล้งหวั่นภาวะแอลนิโญ่ - kachon.com

'กฤษฏา'เตรียมถกมาตรการรัมมือภัยแล้งหวั่นภาวะแอลนิโญ่
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 3 มี.ค.นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 4 มี.ค.นี้ จะมีการประชุมระบบทางไกลไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด(ผวจ.)ทั้ง 76 จังหวัด และข้าราชการกระทรวงเกษตรฯทุกพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มภัยแล้ง และวางมาตรการรับมือภัยแล้งปีนี้ โดยขณะนี้มีนักวิชาการ คาดการณ์ว่าภัยแล้งปีนี้เกิดภาวะช่วงภัยแล้งยาวนานกว่าที่ปี2557-58 และสภาพอากาศปีนี้เป็นภาวะแอลนิโญ่ ซึ่งกรมชลประทาน ยืนยันปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ มีน้ำใช้การได้ 24,095 ล้านลบ.ม. มีเพียงพอใช้ได้ถึงเดือนพ.ค.และสำรองไว้ต้นฤดูฝนบางส่วน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยสถานการณ์ภัยแล้งที่มาเร็วขึ้น และได้เน้นย้ำให้ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง เร่งช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกร เพื่อบรรเทาผลกระทบให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ที่ผ่านมาสามารถแก้ปัญหาทันท่วงทีในแนวทางทำงานแบบบูรณาการผ่านอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด โดยมี ผวจ. และรองผวจ.เป็นประธาน บริหารงานเชิงรุกทั้งโครงสร้างภาคเกษตร สำหรับปัญหาภัยแล้งในปีนี้ ได้เปิดปฏิบัติการฝนหลวงแล้วพร้อมกับให้กรมฝนหลวงฯตั้งฐานฝนหลวง 20 ชุด เพื่อปฏิบัติการได้ทั่วถึงทุกภูมิภาค และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เร่งชี้แจงเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย งดทำนาปรังต่อเนื่อง พร้อมกับกระทรวงมหาดไทย ช่วยทำความเข้าใจชาวนาด้วย ในปีนี้ข้าวราคาดี อาจไม่เว้นทำปรังรอบสอง เมื่อเกิดภัยพิบัติไม่ได้รับเงินชดเชย

“ก่อนหน้านี้ได้สั่งให้ทุกพื้นที่รณรงค์เกษตรกรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ซึ่งสามารถจูงใจเปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 9 แสนไร่ แต่เป็นห่วงนอกเขตชลประทาน โดยได้ให้ทุกจังหวัด รวบรวมแหล่งน้ำ ทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำกักเก็บ ว่ามีน้ำใช้ได้ถึงเมื่อไหร่ เพียงพอหรือไม่ โดยจะวีดีโอคอนเฟอร์เรนท์ไปยังทุกจังหวัดเร่งสำรวจน้ำในเขื่อน อ่างเก็บน้ำทั้งหมด เทียบปริมาณการใช้ ดูแลเครื่องมือ เตรียมความพร้อมร่วมกับหน่วยงานองค์กรส่วนท้องถิ่น(อปท.) “นายกฤษฏา กล่าว

รมว.เกษตรฯกล่าวอีกว่า ประเมินว่าทั่วประเทศมีน้ำใช้ สำหรับอุปโภค บริโภค แต่สำหรับภาคเกษตร อุตสาหกรรม อาจมีผลกระทบ ทั้งนี้หากเกิดฤดูฝนมาช้าไป 1-2 เดือน จะต้องมีมาตรการการใช้น้ำและในการปล่อยน้ำ อย่างเข้มข้นขึ้น เพราะขณะนี้พื้นที่ปลูกข้าวจากแผน 8 ล้านไร่ แต่,มีการปลูกไปแล้วถึง 11 ล้านไร่.