เมื่อวันที่ 3 มี.ค.นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้
านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้
อมและที่ปรึกษาคณะกรรมการยุทธศา
สตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุ
ณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่
งแวดล้อม เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ
ทับลาน เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าก
ลุ่มป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็น และเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ลงพื้นที่สำรวจสัตว์ป่าที่มาใช้
เส้นทางเชื่อมผืนป่าส้นทางหลวง 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัยเป็นครั้งที่
2 บริเวณใต้สะพานยกระดับและหลังคา
อุโมงค์บนเส้นทางหลวง ช่วงกบินทร์บุรี-ปักธงชัย กม.26-29 เป็นครั้งที่ 2 พบรอยสัตว์ป่าหลายชนิดเดินข้ามไ
ปมาบนหลังคาอุโมงค์และมีร่องรอย
เสือโคร่งเตรียมจ่อข้ามเส้นทางด้
วย
“จากการสำรวจ พบรอยใหม่ของกวางและเลียงผาเดิน
หากินข้ามไปมาบนหลังอุโมงค์และพ
บรอยสัตว์ป่ากลุ่มชะมด-อีเห็น เดินริมเส้นทาง ส่วนช้างป่า หมีและกระทิง เจ้าหน้าที่รายงานว่าพบร่อยรอยห
ากินใกล้เส้นทางหลวง 304 ฝั่งป่าทับลานแล้ว และพบร่องรอยเสือโคร่งเดินหากิน
ในป่าทับลานห่างจากเส้นทางหลวง 304 ในระยะไม่เกิน 2 กม. มีแนวโน้มอาจเดินข้ามฝั่งไปป่าเ
ขาใหญ่ในระยะต่อไป ต้องติดตามต่อเนื่อง”นายธีรภัทร
กล่าว
นายธีรภัทร กล่าวอีกว่า สำหรับประโยชน์จากเส้นทางเชื่อม
ผืนป่านั้น 1.เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ ทำให้ผืนป่ามีขนาดใหญ่ต่อเนื่อง
กันเป็นผลดีต่อความสมดุลของระบบ
นิเวศป่าไม้ภาพรวมที่เอื้
อประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้
อมต่อธรรมชาติ 2.เพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำให้สัตว์ป่าเดินข้ามไปมา มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ ลดการสืบพันธุ์เลือดชิด เพิ่มอัตราการอยู่รอดในระยะยาว 3.เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนกั
บสัตว์ป่า ทำให้ประชากรของสัตว์ป่ามีการเค
ลื่อนไปมาได้ในป่าทับลานและป่
าเขาใหญ่ จำนวนสัตว์ป่าไม่หนาแน่นเกินไป เช่นฝูงกระทิงที่รบกวนพื้นที่เก
ษตรกรรมที่ป่าเขาใหญ่และช้างป่
าที่ลงมาทำลายพืชไร่ที่ป่าทั
บลาน รวมทั้งประชากรเสือโคร่งฝั่งป่า
ทับลานที่มีอย่างน้อย 18 ตัว มีแนวโน้มจะเดินข้ามมาหากินในป่
าเขาใหญ่และเป็นตัวช่วยควบคุมสม
ดุลของประชากรกระทิงในเขตห้ามล่
าสัตว์ป่าเขาแผงม้าและป่าเขาใหญ่
ในอนาคต และ 4.เพื่อเป็นภาพลักษณ์และต้นแบบที่
ดีของประเทศไทยในประชาคมโลกที่ดำ
เนินโครงการพัฒนาบนคุณภาพชีวิตที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากกา
รตัดและขยายถนนผ่านป่าอนุรักษ์