สมเด็จพระเทพฯทรงห่วงราษฎร์เหตุปีนี้แล้งนานมากขึ้น
การเมือง

เมื่อวันที่ 4 มี.ค. นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ ประชุมทางไกลผ่านวิดิโอคอนเฟอร์เร้น 76 จังหวัด ถึงการรับมือถสานการณ์ภัยแล้ง โดยระบุว่า กรมชลฯต้องจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำแล้งอย่างเข้มข้น แม้ว่ากรมชลฯจะยืนยันว่าปริมาณน้ำในเขื่อน มีใช้เพียงพอถึงเดือนก.ค. แต่จากข้อมูลสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือจิสด้า และสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) นั้นพบว่าภาวะแล้งแห้งครั้งนี้มีมีองค์ประกอบ2 ประการ คือ ภัยแล้งจะนานขึ้นและอากาศร้อนมากขึ้นกว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา จึงต้องเร่งรับมือภัยแล้งตั้งแต่เดือนมี.ค. พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการบริหารน้ำส่วนกลาง รายงานสถานการณ์น้ำ ทุกวันจันทร์ ซึ่งจะเริ่มสัปดาห์หน้า พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์น้ำแล้ง โดยมีปลัดกระทรวงฯเป็นประธาน เร่งทุกหน่วยงานชี้แจงเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย มอบหมายเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เป็นหลัก ขอความร่วมมือนายอำเภอ กระจายข่าวใช้เสียงตามสาย 7 หมื่นกว่าหมู่บ้าน
นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสมเด็จพระเทพฯทรงรับสั่งกับว่า ปีนี้จะแล้งนานและแล้งมาก ตนจึงขอให้จ.ศรีสะเกศ จ.สกลนคร และจ.สุรินทร์ เตรียมข้อมมูลรับเสด็จ ทั้งนี้หน่วยราชการก็ต้องทำแผนประหยัดน้ำที่เป็นรูปธรรม ประชาสัมพันธ์และเตือนประชาชนเล่นน้ำสงกานต์อย่างพอดี ส่วนกรมฝนหลวงฯต้องปฏิบัติการให้เห็นเป็นมรรคเป็นผล ขึ้นทำฝนเมื่อไหร่ พื้นที่ไหนสำเร็จบ้าง ส่วนกรมชลประทานต้องแยกน้ำเป็น4 ประเภท น้ำกิน-น้ำใช้ น้ำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม น้ำเพื่อการเกษตร และอุตสาหกรรม ในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์น้ำแล้ง โดยมีปลัดกระทรวงฯเป็นประธาน เร่งทุกหน่วยงานชี้แจงเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย มอบหมายเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เป็นหลัก ขอความร่วมมือนายอำเภอ กระจายข่าวใช้เสียงตามสาย 7 หมื่นกว่าหมู่บ้าน
"กลไกหลักเชื่อมโยงจากส่วนกลางไปจังหวัด ผ่านคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ทุกจังหวัด(อกพ.)ที่มีผู้ว่าราชการ หรือรองผู้ว่าฯเป็นประธาน เพื่อประสานกับหน่วยบรรเทาป้องกันสาธารณภัย(ปภ.)ประเมินปริมาณน้ำ น้ำมีเท่าไหร่ อยู่ที่ไหน จำนวนประชาชน พื้นที่เกษตร ที่ใช้น้ำมีเท่าไหร่ คาดการณ์อย่างไร หากฝนไม่มาภายในเดือนก.ค. ต้องมีแผนเผชิญเหตุไว้รองรับวิกฤติทุกจังหวัดต้องสรุปสถานการณ์น้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้รู้ว่ามีน้ำเท่าไหร่ มีใช้ถึงเมื่อไหร่ เพื่อสั่งการทันท่วงที โดยให้ทั้งจังหวัดมีความตื่นตัว สร้างการรับรู้ชาวบ้านร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด และหากสถานการณ์น้ำถึงขั้นวิฤกติ จะแก้ไขบรรเทาภัยแล้งความเดือดร้อนประชาชนอย่างไร เช่น ทำสำรวจเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ รถแจกจ่ายน้ำ ทำบัญชีไว้ทั้งหมดทุกจุด หน่วยไหนมีเท่าไหร่ แต่ละเทศบาล เท่าไหร่ ดูภารกิจเฉพาะหน้า เช่นไปเติมการประปา หอถังสูง เตรียมเครื่องสูบน้ำไปวางจุดเสี่ยง ในบัญชีต้องบอกรายละเอียดลงรายพื้นที่ จัดแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบประจำเครื่องมือ กระจายตามพื้นที่ทำให้เรียบร้อยก่อนเกิดภัย"นายกฤษฏา กล่าว.
นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสมเด็จพระเทพฯทรงรับสั่งกับว่า ปีนี้จะแล้งนานและแล้งมาก ตนจึงขอให้จ.ศรีสะเกศ จ.สกลนคร และจ.สุรินทร์ เตรียมข้อมมูลรับเสด็จ ทั้งนี้หน่วยราชการก็ต้องทำแผนประหยัดน้ำที่เป็นรูปธรรม ประชาสัมพันธ์และเตือนประชาชนเล่นน้ำสงกานต์อย่างพอดี ส่วนกรมฝนหลวงฯต้องปฏิบัติการให้เห็นเป็นมรรคเป็นผล ขึ้นทำฝนเมื่อไหร่ พื้นที่ไหนสำเร็จบ้าง ส่วนกรมชลประทานต้องแยกน้ำเป็น4 ประเภท น้ำกิน-น้ำใช้ น้ำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม น้ำเพื่อการเกษตร และอุตสาหกรรม ในการบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามสถานการณ์น้ำแล้ง โดยมีปลัดกระทรวงฯเป็นประธาน เร่งทุกหน่วยงานชี้แจงเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย มอบหมายเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เป็นหลัก ขอความร่วมมือนายอำเภอ กระจายข่าวใช้เสียงตามสาย 7 หมื่นกว่าหมู่บ้าน
"กลไกหลักเชื่อมโยงจากส่วนกลางไปจังหวัด ผ่านคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ทุกจังหวัด(อกพ.)ที่มีผู้ว่าราชการ หรือรองผู้ว่าฯเป็นประธาน เพื่อประสานกับหน่วยบรรเทาป้องกันสาธารณภัย(ปภ.)ประเมินปริมาณน้ำ น้ำมีเท่าไหร่ อยู่ที่ไหน จำนวนประชาชน พื้นที่เกษตร ที่ใช้น้ำมีเท่าไหร่ คาดการณ์อย่างไร หากฝนไม่มาภายในเดือนก.ค. ต้องมีแผนเผชิญเหตุไว้รองรับวิกฤติทุกจังหวัดต้องสรุปสถานการณ์น้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้รู้ว่ามีน้ำเท่าไหร่ มีใช้ถึงเมื่อไหร่ เพื่อสั่งการทันท่วงที โดยให้ทั้งจังหวัดมีความตื่นตัว สร้างการรับรู้ชาวบ้านร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด และหากสถานการณ์น้ำถึงขั้นวิฤกติ จะแก้ไขบรรเทาภัยแล้งความเดือดร้อนประชาชนอย่างไร เช่น ทำสำรวจเครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ รถแจกจ่ายน้ำ ทำบัญชีไว้ทั้งหมดทุกจุด หน่วยไหนมีเท่าไหร่ แต่ละเทศบาล เท่าไหร่ ดูภารกิจเฉพาะหน้า เช่นไปเติมการประปา หอถังสูง เตรียมเครื่องสูบน้ำไปวางจุดเสี่ยง ในบัญชีต้องบอกรายละเอียดลงรายพื้นที่ จัดแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบประจำเครื่องมือ กระจายตามพื้นที่ทำให้เรียบร้อยก่อนเกิดภัย"นายกฤษฏา กล่าว.