ไข้เลือดออกระบาดหนักคร่าชีวิต7ราย ซ้ำป่วยเกือบหมื่น!
การเมือง
นพ.สุขุม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้ให้มีระบบผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านกุมารแพทย์และ อายุรแพทย์ เพราะปัจจุบันผู้ป่วยไข้เลือดออกไม่ได้มีเฉพาะเด็กเท่านั้น แต่ยังพบในผู้ใหญ่ด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าวัยอื่นๆ ถึง 10 เท่า ดังนั้นต้องเข้มงวดในเรื่องนี้ด้วย ให้ระบบการจับคู่พี่เลี้ยงให้กับแพทย์จบใหม่ด้วยเพราะอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับโรค รวมถึงประสานความร่วมมือไปยังร้านขายยา และคลินิกต่างๆ ให้เฝ้าระวังเช่นกัน เพราะพบข้อมูลว่ามีผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ไปซื้อยากินเองโดยที่ไม่ทราบว่าติดเชื้อไข้เลือกออกทำให้โรครุนแรงขึ้น หรือเสียชีวิตเพราะไปรักษาช้า ดังนั้นต้องมีการสังเกตอาการผู้ป่วย หากสงสัยต้องส่งตรวจเลือด และระวังการจ่ายยากลุ่มเอ็นเสด แอสไพริน เพราะจะทำให้โรครุนแรงขึ้น ทั้งนี้หากพบผู้ป่วย 1 รายต้องรีบรายงานข้อมูลจริงเข้าระบบ เพื่อให้รพ.สต.ซึ่งเป็นสถานพยาบาลในชุมชนเข้าไปยังบ้านที่มีผู้ป่วยภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อดำเนินการจำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้เสร็จภายใน 1 วัน และติดตามต่อเนื่องไปจนถึง 28 วัน
จากข้อมูลประกอบการประชุมทางไกลฯ มีรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออก ในช่วง 8 สัปดาห์แรกของปี 2562 เทียบกับ 2561 พบว่าปี 2562 มีผู้ป่วย 9,044 ราย เสียชีวิต 7 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนว่าเสียชีวิตเพราะไข้เลือดออกหรือไม่อีก 8 ราย อัตราป่วยอยู่ที่ 13.69 ต่อแสนประชากร อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 0.17 ส่วนปี 2561 มีผู้ป่วย 3,651 ราย เสียชีวิต 8 ราย อัตราการป่วยอยู่ที่ 5.55 ต่อแสนประชากร และอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 0.22 ทั้งนี้สำหรับข้อมูลการป่วยเฉพาะปี 2562 พบว่าป่วยมากสุดในกลุ่มอายุ 0-4 ปี 576 ราย เสียชีวิต 1 ราย อายุ 5-14 ปี ป่วย 3,522 ราย เสียชีวิต 4 ราย อายุ 15-34 ปี ป่วย3,458 ราย เสียชีวิต4 ราย อายุ 35-59 ปี ป่วย1,215 ราย เสียชีวิต 3 ราย และอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วย 273 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยสรุปผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็วัยผู้ใหญ่ เนื่องจากมีโรคประจำตัว คือความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด เบาหวาน ซื้อยากินเอง ไปรักษาโรคอื่นที่มีการให้ยากลุ่มเอ็ดเสดและสเตียรอยด์
ทั้งนี้ยังมีข้อมูลระบุถึงพื้นที่ที่พบการระบาดของไข้เลือดออกตอนนี้พบพื้นที่ระบาดสีแดง 337 อำเภอ พื้นที่เสี่ยงสีเหลือง 222 อำเภอ โดยพบการระบาดขยายวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่าง เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ และศรีสะเกษ ทั้งนี้จากที่ประชุมได้มีการสั่งดำเนินการป้องกันอย่างเข้มข้นในช่วงต้นปีไปจนถึงเดือนเม.ย. ซึ่งหากทำได้ดีจะช่วยลดการระบาดได้ในช่วงฤดูฝน และอาจจะทำให้ยอดผู้ป่วยไม่สูงถึง 1.5 แสนราย ตามที่มีการคาดการณ์ไว้ในตอนแรก.