ข่าวอย.เรียกคืนยาลดความดัน'ลอซาร์แทน'ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง - kachon.com

อย.เรียกคืนยาลดความดัน'ลอซาร์แทน'ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 15 มี.ค. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทางประเทศสหรัฐและแคนาดาได้เรียกคืนยารักษาโรคความดันโลหิตสูงลอซาร์แทน เนื่องจากพบสารก่อมะเร็งในสารตั้งต้นในการผลิตยาดังกล่าวในหนูทดลอง กลุ่มไนโตรซามีน คือN-Nitroso-Nmethyl-4-aminobutyric Acid (NMBA) บางรุ่นของบริษัท  Hetero Lab Limited (Unit-l) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ผลิตประเทศอินเดีย ในส่วนของประเทศไทยได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่ามีบริษัทผลิตยา 9 แห่งที่นำเข้ายาลอซาร์แทนเข้ามา และมีทะเบียนตำรับที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในประเทศแล้ว นอกจากนี้ ยังมี 1 บริษัทคือ บริษัทเบอร์ลิน ฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี จำกัด ที่ได้เข้าวัตถุดิบตัวที่มีปัญหามาจากประเทศอินเดีย 8 รุ่นการผลิต และผลิตเป็นยาสำเร็จรูปแล้ว 2 ทะเบียนตำรับ รวม 142 รุ่นการผลิต

นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า สำหรับยาสำเร็จรูป 2 ทะเบียนตำรับ ประกอบด้วย 1.LANZAAR 50 ทะเบียนตำรับเลขที่ 1A 20/53 (NG) รวม 81 รุ่นการผลิต ได้แก่ รุ่นการผลิตที่ 1800670 – 1800697, 1800839 – 1800850, 1800927 – 1800942, 1801034 – 1801041, 1801135 – 1801143, 1803285 – 1803291 และ 1803841 และ 2.LANZAAR 100 ทะเบียนตำรับเลขที่ 1A 3/58 (NG)รวม 61 รุ่นการผลิต ได้แก่ รุ่นการผลิตที่ 1800698 – 1800707, 1800788 – 1800797, 1800943 – 1800958, 1800994 – 1801009, 1801236, 1803622 – 1803629 ดังนั้นจึงได้ประสานไปยังร้านขายยา คลินิก และรพ.ให้ดำเนินการติดตามจากผู้ป่วยที่ได้รับยาไปแล้วให้นำกลับมาเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นแทน ส่วนประชาชนตอนนี้ใครที่มียาดังกล่าวอยู่ในมือก็ประสานขอเปลี่ยนยาได้ที่คลินิกหรือรพ.ก็ได้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเตรียมยาตัวใหม่ไปสำรองไว้แล้วเรียบร้อย แต่หากยังไม่สะดวกในการมาเปลี่ยนคืนยาก็ยังสามารถรับประทานต่อไปได้ เนื่องจากเนื่องจากที่พบสารก่อมะเร็งนั้นเป็นการพบในหนูทดลอง

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้วกมีการเรียกเก็บคืนยารักษารักษาโรคความดันโลหิตสูงไปเหมือนกัน ชื่อวาซาร์แทน ส่วนปีนี้ที่เรียกคืนเป็นตัวใหม่ ซึ่งยาตัวอื่นยังสามารถรับประทานได้ประชาชนอย่าขาดยา เพราะเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญหากรักษาไม่ดี หรือขาดยามีโอกาสหัวใจวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นอย่าขาดยา

ด้าน นายสุชาติ จองประเสริฐ ผอ.สำนักยา อย. กล่าวว่า เนื่องจากเจอปัญหามา 2 รอบแล้วในกลุ่มยาลดความดัน ดังนั้นตอนนี้จึงเข้มงวด จึงจะขยายการตรวจสอบในยาลดความดันตัวอื่นด้วยว่ามีแนวโน้มพบปัญหาแบบเดียวกันหรือไม่ พร้อมกันนี้ก็ได้ขอให้ผู้ประกอบการได้ตรวจเข้มสารที่ใช้ผลิตยาลดความดันทุกรุ่นการผลิตด้วย.