ม็อบเกษตรกรเฮ!'กฤษฏา'แก้หนี้สำเร็จ
การเมือง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ดำเนินการหารือร่วมกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สหกรณ์เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน รวมทั้งธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคล จนได้ข้อยุติว่ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสามารถเข้าไปชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์และธนาคารต่าง ๆ แทนเกษตรลูกหนี้ หลังจากนั้นให้เกษตรกรลูกหนี้มาทำสัญญาชำระหนี้ให้แก่กองทุนฟื้นฟูแทน พร้อมอัตราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 0.50 -1.50 บาทต่อปี และโอนหลักทรัพย์ค้ำประกันมาเป็นของกองทุนและคืนหลักทรัพย์เมื่อชำระหนี้ครบตามสัญญา ภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 ปี ซึ่งทำให้สามารถทุเลาความเดือดร้อนในเรื่องหนี้สินเกษตรกร ได้จำนวน 131 ราย คิดเป็นมูลหนี้รวม 121,451,941.93 บาท และยังเห็นชอบให้จัดการหนี้ลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคล อีกจำนวน 10 ราย มูลหนี้รวม 3,237,124.54 บาท และชะลอการดำเนินคดีกับเกษตรกรออกไป 2 ปี เพื่อลดปัญหาการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ ในการชำระหนี้แทนเกษตรกรครั้งนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจะเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 15 วัน หรือไม่เกิน 31 มีนาคม 2562 เพื่อให้สถาบันเจ้าหนี้สามารถปิดบัญชีลูกหนี้ได้ทันในปีงบประมาณ 2561 ของสหกรณ์การเกษตร
นอกจากนี้ในช่วงเดือนส.ค.2561 มีเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ร้องขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจรจากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เจรจาสำเร็จ จึงถือได้ว่าเป็นรัฐบาลแรกที่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ ได้อย่างเป็นระบบโดยไม่เสียวินัยการเงินการคลังของประเทศ
สำหรับข้อมูลขึ้นทะเบียนของเกษตรกรสมาชิก จำนวน 518,992 ราย ยอดหนี้รวม 88,495 ล้านบาท กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ดำเนินการชำระหนี้แทนให้เกษตรกรสมาชิกไปแล้วทั้งสิ้น 29,219 ราย 29,270 บัญชี เป็นเงินกว่า 6,091,709,114.26 บาท เป็นลูกหนี้สหกรณ์ 21,362 ราย 21,392 บัญชี จำนวนเงิน 3,275,141,572.32 บาท รักษาที่ดินทำกิน 4,244 แปลง 33,156 ไร่ 2 งาน 12.7 ตารางวา ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการรักษาที่ดินทำกินให้เกษตรกรส่งต่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป.