กรมอนามัยแนะอย่าจับเด็กนอนคว่ำเสี่ยงกดการหายใจ
การเมือง
ส่วนท่านอนที่เหมาะสมคือท่านอนหงาย ไม่ใช่นอนคว่ำ เพราะอาจอุดกลั้นทางเดินหายใจ หากต้องการให้เด็กหัวทุย ก็จัดท่านอนตะแคงซ้ายและขวาสลับกันกันไป โดยให้เด็กนอนกอดหมอนข้างเพื่อป้องกันการคว่ำหน้า อย่างไรก็ตามต้องดูช่วงอายุด้วย เพื่อให้เด็กนอนหลับสบายที่สุด โดยเด็กแรกเกิด–4 เดือน ควรนอนตะแคงหรือนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง ทำได้เพียงหันซ้ายและขวา สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวและฝึกการมองได้ วัย 5–6 เดือน สามารถนอนคว่ำได้ และเด็กยกคอได้แล้วเพราะกระดูกคอเริ่มแข็ง แต่ยังต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการอุดกลั้นการหายใจได้ และวัย 7-12 เดือน สามารถนอนได้ทุกท่าเพราะเด็กพลิกตัวด้วยตนเองได้แล้ว ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกตตัวเด็กและสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่เสมอ เช่น บนที่นอนของเด็กจะต้องไม่มีอะไรที่จะมาปิดหน้าได้ระหว่างที่นอนหลับอยู่ โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยชอบคว้าสิ่งของรอบตัว
ด้าน พญ.นนธนวนัณท์ สุนทรา ผอ.สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับเด็กอายุเกิน 1 ปี ที่เริ่มยืนได้นั้น เตียงต้องมีราวกันตกที่มีซี่ราวแนวตั้งตรง ห่างกันไม่เกิน 15 เซนติเมตร ราวกันตกจะต้องมีตัวยึดแน่น เด็กไม่สามารถเหนี่ยวให้เคลื่อนไหวได้เอง ไม่อ้า ไม่เผยอ จนเกิดช่องห่างจากเตียงจนลำตัวเด็กลอดตกได้ เบาะที่นอนต้องพอดีกับเตียงและไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะกับราวกันตก มุมเสาทั้ง มุมต้องเรียบ มีส่วนนูนได้ไม่เกิน 1.5 มิลลิเมตร ผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าต้องไม่มีการตัดตกแต่งให้เกิดร่องและรู นอกจากนี้ จากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 65 เซนติเมตร ทั้งนี้เด็กที่มีความสูงเกิน 89 เซนติเมตร มีความเสี่ยงปีนราวกันตกและตกจากที่สูงได้ดังนั้นต้องระวัง และหมั่นสังเกตหากพบว่าเด็กแน่นิ่ง ตัวซีดหรือเขียวคล้ำ ให้จับเด็กนอนหงาย พยายามปลุก เรียก สังเกตการหายใจโดยดูการเคลื่อนไหวของหน้าอก หน้าท้อง ถ้าเรียกไม่รู้ตัวลักษณะเหมือนไม่หายใจ ให้กดทรวงอกบริเวณสันอกทันที สลับกับการเป่าปากหรือเป่าจมูก-ปากเด็กในเวลาเดียวกันและรีบตามหน่วยฉุกเฉิน 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว.