'วิษณุ'ยัน'บิ๊กตู่'ลงพื้นที่พบประชาชนไม่เอื้อพปชร.
การเมือง
เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มี ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่ วงหน้าจำนวนมาก ว่า ก็ดีแล้ว เห็นว่ามาใช้สิทธิกันตั้ง 80 เปอร์เซ็นต์ และถือเป็นตัวเลขที่ออกมาดี ถ้าทั้งประเทศได้ระดับนี้ จะน่าพอใจอย่างมาก และความจริงไม่ใช่แค่ตื่นตัวอย่ างเดียว แต่ตื่นเต้นด้วย ส่วนกรณีผู้ใช้โซเชี ยลจำนวนมากท้วงติงการทำหน้าที่ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต. )และเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้ งที่ทำหน้าที่ผิดพลาดหลายอย่าง สับสน โดยเฉพาะการให้บัตรเลือกตั้งผิ ดเขตนั้น เรื่องนี้ตนไม่ทราบ เมื่อผิดพลาดก็ต้องแก้ไขกันไป เพราะใหม่ด้วยกันทั้งนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเราว่างเว้นการเลือกตั้ งมานาน เจ้าหน้าที่ก็อาจจะงงๆ ประชาชนก็ยังงง อยู่ด้วยเหมือนกัน
เมื่อถามว่าสัปดาห์นี้เป็นช่ วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง มีเรื่องที่น่าเป็นห่วงหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีอะไร ก็ปล่อยไปตามเกณฑ์การเมื องและตามกติกาในการเลือกตั้ง กกต.เขายังไม่ห่วงเลย และการที่นายกฯใช้วิธีเปิดคลิ ปส่งไปให้เวทีต่างๆของพรรคพลั งประชารัฐ(พปชร.) ถือว่าไม่ผิดใช่หรือไม่นั้น เรื่องนี้กกต.บอกเองว่าขึ้นเวที เองยังได้เลย และนายกฯก็ระมัดระวังคำพูด รวมถึงการลงพื้นที่ ของนายกฯในฐานะนายกฯไม่ได้เอื้ อประโยชน์ให้พรรคพปชร.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป(ปชช.)กล่าวประเมินสถานการณ์การเมืองหลังเลือกตั้ง ว่ารัฐบาลหน้าจะเป็นรัฐบาลที่มีเสียงเกิน 270 เสียง ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร จะสามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตั้งรัฐบาลมาบริหารได้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับการโหวตจากสองสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปเพื่อบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า โดยประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำหลัก และพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย รวมถึงพรรคอื่นที่มีแนวทางปฏิรูปประเทศต่อเนื่องจากรัฐบาลปัจจุบัน มาเข้าร่วมกันสนับสนุนตั้งรัฐบาล คาดว่าจะได้รัฐบาลใหม่เดือนมิ.ย. ทั้งข้อดีของรัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุน 200กว่าเสียง ทำให้การทำงานผลักดันโครงการต่างๆทำได้เร็ว หมดปัญหาแบ่งมุ้งแบ่งโควตาแต่ละพรรคที่เคยจ้องต่อรองเอาเก้าอี้กระทรวงเกรดเอ แต่อย่างไรหากเกิดเหตุการณ์อ่อนไหวส่งผลต่อบ้านเมือง การตั้งรัฐบาลใหม่ต้องเลื่อนออกไป โดยพล.อ.ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันยังคงมีอำนาจเต็มในการบริหารบ้านเมืองต่อได้
“หลังเลือกตั้ง จะไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากแบบถล่มทลายหรือแลนด์สไลด์ แต่ละพรรคใหญ่ๆได้คะแนนเสียงราวๆ100เสียงต้นๆไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ จึงต้องใช้การรวบรวมเสียงในสภามาจัดตั้งรัฐบาลผสม หากพรรคเพื่อไทย จะจับมือกับ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอนาคตใหม่ พรคเสรีรวมไทย โดยมีพรรคภูมิใจไทย ไปอยู่ด้วย และพรรคเครือข่ายขั้วเดิม ที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาลนี้ เสนอนโยบายล้มเลิกทุกอย่าง รวมเสียงกันได้376เสียงก็จัดตั้งรัฐบาลได้ แต่จะส่งใครนั่งนายกรัฐมนตรี ที่มีความเหมาะสม มีความสามารถพัฒนาบ้านเมือง เดินหน้าไปอย่างมีความสงบและมั่นคง หรือส่งคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ผลัดกันเป็นนายกฯคนละ3เดือน ก็ต้องชี้แจงจุดยืนทางการเมืองชัดเจนต่อสาธารณะชนล่วงหน้าด้วย”นายไพบูลย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวรัฐบาลพระราชทาน นายไพบูลย์ กล่าวว่าไม่ทราบและไม่มีความเห็นใดๆกับเรื่องนี้ ส่วนตนมองว่ากลไกทุกอย่างกำลังเดินหน้า แต่ระหว่างรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ถ้ามีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นนายกฯทำหน้าที่ให้บ้านเมืองมีความเรียบร้อย ก้าวหน้าต่อไปได้ไม่กลับไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่หลายฝ่ายกังวลอีกแน่นอน.
เมื่อถามว่าสัปดาห์นี้เป็นช่
นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป(ปชช.)กล่าวประเมินสถานการณ์การเมืองหลังเลือกตั้ง ว่ารัฐบาลหน้าจะเป็นรัฐบาลที่มีเสียงเกิน 270 เสียง ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร จะสามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีตั้งรัฐบาลมาบริหารได้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับการโหวตจากสองสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปเพื่อบ้านเมืองเดินไปข้างหน้า โดยประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำหลัก และพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรครวมพลังประชาชาติไทย รวมถึงพรรคอื่นที่มีแนวทางปฏิรูปประเทศต่อเนื่องจากรัฐบาลปัจจุบัน มาเข้าร่วมกันสนับสนุนตั้งรัฐบาล คาดว่าจะได้รัฐบาลใหม่เดือนมิ.ย. ทั้งข้อดีของรัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุน 200กว่าเสียง ทำให้การทำงานผลักดันโครงการต่างๆทำได้เร็ว หมดปัญหาแบ่งมุ้งแบ่งโควตาแต่ละพรรคที่เคยจ้องต่อรองเอาเก้าอี้กระทรวงเกรดเอ แต่อย่างไรหากเกิดเหตุการณ์อ่อนไหวส่งผลต่อบ้านเมือง การตั้งรัฐบาลใหม่ต้องเลื่อนออกไป โดยพล.อ.ประยุทธ์ และคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันยังคงมีอำนาจเต็มในการบริหารบ้านเมืองต่อได้
“หลังเลือกตั้ง จะไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากแบบถล่มทลายหรือแลนด์สไลด์ แต่ละพรรคใหญ่ๆได้คะแนนเสียงราวๆ100เสียงต้นๆไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ จึงต้องใช้การรวบรวมเสียงในสภามาจัดตั้งรัฐบาลผสม หากพรรคเพื่อไทย จะจับมือกับ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคอนาคตใหม่ พรคเสรีรวมไทย โดยมีพรรคภูมิใจไทย ไปอยู่ด้วย และพรรคเครือข่ายขั้วเดิม ที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาลนี้ เสนอนโยบายล้มเลิกทุกอย่าง รวมเสียงกันได้376เสียงก็จัดตั้งรัฐบาลได้ แต่จะส่งใครนั่งนายกรัฐมนตรี ที่มีความเหมาะสม มีความสามารถพัฒนาบ้านเมือง เดินหน้าไปอย่างมีความสงบและมั่นคง หรือส่งคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ผลัดกันเป็นนายกฯคนละ3เดือน ก็ต้องชี้แจงจุดยืนทางการเมืองชัดเจนต่อสาธารณะชนล่วงหน้าด้วย”นายไพบูลย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวรัฐบาลพระราชทาน นายไพบูลย์ กล่าวว่าไม่ทราบและไม่มีความเห็นใดๆกับเรื่องนี้ ส่วนตนมองว่ากลไกทุกอย่างกำลังเดินหน้า แต่ระหว่างรวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ถ้ามีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นนายกฯทำหน้าที่ให้บ้านเมืองมีความเรียบร้อย ก้าวหน้าต่อไปได้ไม่กลับไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่หลายฝ่ายกังวลอีกแน่นอน.