กรมสุขภาพจิตจ่อทำMOUมหาลัยฯป้องนศ.ฆ่าตัวตาย
การเมือง
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า การเฝ้าระวังเป็นมาตรการที่ดีที่สุด ป้องกันการฆ่าตัวตายได้ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้หลัก 3 ส คือ 1.สอดส่องมองหา คนใกล้ชิดควรช่วยกันสังเกตคนรอบข้างมีปัญหาหรือไม่ 2.ใส่ใจรับฟัง ซึ่งกลไกทางจิตของคนจะฆ่าตัวตายจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่าและไม่มีใครรับฟัง จึงต้องรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ มีท่าทียอมรับอยากช่วยเหลือ ความคิดอยากฆ่าตัวตายก็จะลดลง และ 3.ส่งต่อ กรณีไม่สามารถช่วยเหลือได้ รวมถึงการใช้เครื่องมือในการประเมินตนเองด้วยหลัก 8Q อย่างไรก็ตาม สถาบันอุดมศึกษาจะเป็นผู้วางเทคโนโลยี และออกแบบบริการ ซึ่งปกติก็มีเจ้าหน้าที่พยาบาล อาจารย์แนะแนว อาจารย์จิตวิทยา อยู่แล้ว แต่เบื้องต้นอาจจัดตั้งเป็นคลินิก เพื่อให้มีศักยภาพในการคัดกรองมากขึ้น ส่วนมาตรการในกลุ่มโรงเรียนนั้น ระบบสุขภาพจิตในโรงเรียนมีอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า ในแต่ละปีจะมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 4,000 ราย และในปี 2561 พบว่ามี 4 จังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ได้แก่ 1.แม่ฮ่องสอน มีการฆ่าตัวตาย 17.55 รายต่อแสนประชากร 2.พัทลุงมีการฆ่าตัวตาย 11 รายต่อแสนประชากร 3.สระแก้ว มีการฆ่าตัวตาย 10.23 รายต่อแสนประชากร และ 4.กาฬสินธุ์ มีการฆ่าตัวตาย 8.9 รายต่อแสนประชากร ทั้งนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วโลกขององค์การอนามัยโลก พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 10 รายต่อแสนประชากร อย่างไรก็ตามในวันที่ 20 มี.ค.ของทุกปี เป็นวันความสุขสากล ซึ่งความสุขที่แท้จริงต้องเกิดจากภายใน ซึ่งจะอยู่ที่วิธีในการคิด ได้แก่ คิดให้ คิดเป็น และคิดดี โดยเฉพาะความสุขที่เกิดจากการทำประโยชน์ และมีคุณค่า ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขที่ยาวนาน ยิ่งการช่วยคนที่มีปัญหาทางใจ.