กษ.เผยข่าวดีมีพายุจรเข้าไทยพ.ค. เฝ้าระวังพื้นที่แล้งทั่วประเทศ
การเมือง
ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าเฝ้าระวังเขื่อนน้ำน้อยวิกฤติ 6แห่ง เช่นเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนลำนางรอง เขื่อนพระเพลิง ทั้งนี้เขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำใช้การได้เหลือ 2 % ได้มีมตินำน้ำก้นเขื่อนมาใช้ 90 ล้านลบ.ม.ตั้งแต่วันที่20เม.ย.ถึง สิ้นเดือนพ.ค. โดยยังมีวิกฤติน้อยกว่าปี59ที่เคยนำน้ำก้นเขื่อนมาใช้ 120-130ล้านลบ.ม. ในส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน มีปัญหาขาดน้ำอุปโภค บริโภค 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย กาญจนบุรี ราชบุรี ได้ประสานกับราชการต่างๆ กองทัพ กระทรวงมหาดไทย จัดทำบัญชีรายตำบล อำเภอ ปริมาณน้ำบ่อบาดาล ในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก หาแหล่งน้ำใกล้เคียง มาช่วยเหลือพร้อมรถบรรทุกน้ำไว้แล้วเข้าถึงพื้นที่ทันท่วงที อย่างไรก็ตามเบื้องต้นกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าฤดูฝนปีนี้มาล่าไปปลายเดือนพ.ค.และสัปดาห์ที่สามของเดือนอาจมีพายุเข้าไทย แต่มีอิทธิพลปรากฏการณ์เอลณิโญ่อ่อนๆ ยังส่งผล ให้ปริมาณฝนปีนี้ลดลง10% จากปกติปีละ 1.4 พันมม.เหลือ 1.2-1.3พันมม.จึงต้องบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มงวดเพื่อมีน้ำไว้ใช้ถึงฤดูแล้งปีหน้าด้วย โดยสำรองน้ำในเขื่อนไว้ประมาณ1.3 หมื่นล้านลบ.ม.
นายทองเปลว กล่าวว่าพื้นที่ในเขตชลประทานทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำเขื่อนไว้ 2 หมื่นล้านลบ.ม.และหากมีฝนทิ้งช่วง เดือน มิ.ย.-ก.ค.แบ่งเป็นลุ่มเจ้าพระยา 5 พันล้านลบ.ม.โดยจะไม่มีปัญหารุนแรงขาดน้ำอุปโภค บริโภค และกิจกรรมอื่น รวมทั้งพื้นที่ปลูกข้าวรอบที่2 แต่จะมีพื้นที่นาปรังคาดว่าจะเริ่มมีปัญหา4จังหวัด ปลูกแล้ว1.77ล้านไร่ เกินแผน0.39ล้านไร่ และพื้นที่เฝ้าระวัง28จังหวัด ปลูกแล้ว3.34ล้านไร่ เกินแผน0.79ล้านไร่
ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน จะมีพื้นที่มีปัญหารุนแรง ในเรื่องน้ำ อุปโภค บริโภค 4จังหวัด และพื้นที่ที่คาดว่าจะเริ่มมีปัญหา7จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวัง17จังหวัด พื้นที่ปลูกข้าวรอบ2 มีพื้นที่มีปัญหารุนแรง3จังหวัด ปลูกแล้ว0.35 ล้านไร่ เกินแผน 0.11ล้านไร่ พื้นที่คาดว่าจะเริ่มมีปัญหา3จังหวัด ปลูกแล้ว0.08จังหวัด เกินแผน0.02ล้านไร่ พื้นที่เฝ้าระวัง1จังหวัด ปลูกแล้ว0.0269 ล้านไร่ เกินแผน123 ไร่ รวม7จังหวัดเกินแผน0.13ล้านไร่
“ทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูกข้าวเกินแผนและมีความเสี่ยงเกิดความเสียหาย รวม 1.18ล้านไร่ โดยกรมชลประทาน วางมาตราการช่วยเหลือเพื่อให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ จัดสรรน้ำน้ำอีกสองเดือน ปรับแผนการจัดสรรน้ำรายสัปดาห์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ข้าวนาปรัง จัดสรรน้ำและควบคุมการรับน้ำอย่างประหยัด โดยทำความเข้าใจกับชาวนาไม่ให้ปลูกข้าวต่อเนื่องหลังเก็บเกี่ยว “นายทองเปลว กล่าว
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าสำหรับพื้นที่ปลูกข้าวเกินแผน7จังหวัด นอกเขตชลประทาน ที่เสี่ยงมีปัญหารุนแรง3จังหวัด พื้นที่0.35ล้านไร่ ได้แก่ นครพนม พิษณุโลก สุรินทร์ เกินแผน 0.11ล้านไร่ ส่วนพื้นที่เริ่มมีปัญหา 3จังหวัด พื้นที่0.08ล้านไร่ เช่น บุรีรัมย์ ยโสธร และพระนครศรีอยุธยา เกินแผน0.02ล้านไร่ พื้นที่เฝ้าระวัง 1จังหวัด เช่น ปราจีนบุรี เกินแผน 128ไร่ มาตรการช่วยเหลือ สนับสนุนน้ำนอกเขต กรณีมีพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำต้นทุนกรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน น้ำสาธารณะ แหล่งน้ำธรรมชาติ
ในส่วนพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ในเขตชลประทาน ไม่มี จะมีปัญหานอกเขตชลประทาน มีพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรง4จังหวัด เช่น ขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด พื้นที่คาดว่าจะเริ่มมีปัญหา 7จังหวัด เช่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ เลย ชัยภูมิ กาญจนบุรี ราชบุรี และพื้นที่เฝ้าระวัง 17 จังหวัด เช่น พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาฬสินธ์ุ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู
กรมชลประทาน พร้อมส่งเครื่องจักร เครื่องมือช่วยเหลือภัยแล้งทั่วประเทศ โดยเตรียมไว้ที่ศูนย์เครื่องจักรกลทุกพื้น เช่น ศูนย์ที่1 เชียงใหม่ เครื่องสูบน้ำ 165เครื่อง รถบรรทุกน้ำ11คัน เครื่องจักรกลอื่นๆไว้สนับสนุน ศูนย์ส่วนกลาง เครื่องสูบน้ำ 419 เครื่องรถบรรทุก 18คัน และอื่นๆ ศูนย์นนทบุรี เครื่องสูบน้ำ 52 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 12 คัน ศูนย์พระนครศรีอยุธยา เครื่องสูบน้ำ 331 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 16 คัน ศูนย์พิษณุโลก เครื่องสูบน้ำ262 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ13คัน ศูนย์ขอนแก่น เครื่องสูบน้ำ 327 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 9คัน ศูนย์นครราชสีมา เครื่องสูบน้ำ 17 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 18คัน ศูนย์สงขลา เครื่องสูบน้ำ 208 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 14คัน และอื่นๆ รวม 4,850 ชุด.