ข่าว88โครงการพระราชดำริบรรเทาภัยแล้ง-ท่วมแล้วเสร็จปี67 - kachon.com

88โครงการพระราชดำริบรรเทาภัยแล้ง-ท่วมแล้วเสร็จปี67
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง -ท่วม โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่9 ว่าทรงพระราชทานตลอดการครองราชย์ 70ปี ในด้านการพัฒนาเพิ่มแหล่งน้ำให้กับประชาชน กว่า 2.3 พันโครงการ พระองค์เล็งเห็นการเพิ่มศักยภาพเรื่องน้ำให้กับประเทศ เพราะคนไทยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ในโครงการเหล่านี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน เข้าไปดูแลทำสำเร็จไปแล้วร้อยละ90 เหลืออีก 88โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอน ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะเสร็จปี2567 สำเร็จตามเป้าหมาย 

“เมื่อเร็วๆนี้มีประชาชนมาร้องเรียน 4-5โครงการ ที่จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช ถ้าไม่มีปัญหาอุปสรรคใดจะเสร็จพร้อมกัน ในหลวง ร.9 ทรงทุเลาบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎร ในพื้นที่ได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้เกิดมีความเจริญ เช่นอ. หาดใหญ่ จ.สงขลา เกิดน้ำท่วมประจำ ย่านเศรษฐกิจใหญ่ต้องเสียหายจากน้ำท่วม หนัก 2-3เดือน ประชาชนทุกข์ทรมาน ขยายคลองอู่ตะเภา ทำคลองระบายแยกไปอีก6สาขา ทำให้น้ำท่วมทุเลาไป ทรงกลับมาดูสภาพแวดล้อม ด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ปรากฏว่าปริมาณน้ำฝนมากขึ้น จากภาวะโลกร้อน ฝนตกทีเดียวขึ้นมา2-3พันลบ.ม. ขณะนี้กำลังดำเนินการขยายคลองเฟสสาม พัฒนาคลองอู่ตะเภา ทำให้มีการลงทุนมีมากขึ้น รวมทั้ง เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี รับน้ำห้วยโสมง มาลงแม่น้ำบางปะกง สามารถแก้ปัญหาน้ำเค็มรุกขึ้นไปถึง รพ.อภัยภูเบญฯ เผญิชปัญหาน้ำเค็มมากว่า10ปีต้องซื้อน้ำจืด ทรงเห็นว่า น่าจะทำอ่างกั้นขึ้นไปได้ ได้ใช้เวลา 4-5 ปี ใช้การทำความเข้าใจกับชาวบ้าน จนเสร็จปี2560 กรมชลฯ และคณะกรรมการกปร.ทูลขอพระราชทาน ชื่อใหม่ ในหลวง ร.9 ทรงพระราชทานชื่อ จากเขื่อนห้วยโสมง เป็น นฤบดินทรจินดา ในหลวง ร10 เสด็จไปเปิด แก้ไขน้ำเค็มให้กับพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ปราจีน ได้เพราะอัจฉริยะภาพของพระองค์”นายกฤษฏา กล่าว

รมว.เกษตรฯกล่าวว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เร่งรัดโครงการพระราชดำริทุกโครงการ ประกอบกับทางรัฐบาล ได้ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อำนวยการดูน้ำทั้งประเทศ ซึ่งเมื่อนายกฯนำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าในหลวง 10 ทรงมีพระราชดำรัส ให้ต่อยอด ขยายผลโครงการพระราชดำริ ของ ร.9 เพื่อให้ประชาชนเกิดความสุข เมื่อโครงการทุกแห่ง เสร็ตสิ้น ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค จะไม่มีปัญหา ทั้งน้ำเกษตร และอุตสาหกรรม 

“ทุกคนภาคภูมิใจทุกงาน ที่ทำงานถวายท่าน เมื่อสำเร็จ ประชาชนเห็นประโยชน์ เช่น โครงการขยายคลองอู่ตะเภา จ.สงขลา และเขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี คนไข้ คนทำงานในรพ. ต่างน้ำตาไหล ที่ไม่ขาดแคลนน้ำ ประทับใจทุกโครงการที่พระองค์ท่านทำให้ไว้”นายกฤษฏา กล่าว




รมว.เกษตรฯกล่าวว่าเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปี61-62 ในปีนี้คาดการณ์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) ระบุว่าช่วงแล้ง อาจยาวทุกกว่าทุกปี รวมทั้งอุณหภูมิร้อนกว่า ทำให้เกิดปัญหาสภาพอากาศ หมอกควัน ฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ตนเตรียมมาตรการไว้ เดือน ม.ค. ให้กรมชลฯ ดูปริมาณน้ำ 5ปีย้อนหลัง และปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ 35เขื่อน และเขื่อนขนาดกลาง กว่า 400แห่ง ถึง 31 ธ.ค. มีน้ำ 4.6หมื่นล้านลบ.ม. ขณะนี้มีน้ำใช้การได้ 2.3 หมื่นล้านลบ.ม. จะครอบคลุมทั้งน้ำอุปโภค บริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม แบ่งเป็นสองช่วง จากวันนี้ถึงวันที่31 พ.ค. พื้นที่ชลประทาน 35ล้านไร่ชลประทาน มีน้ำเพียงพอ

“ถ้าฝนไม่ตกแม้แต่หยดเดียว จนถึงเดือน มิ.ย.ก.ค.มีน้ำสำรองอีกช่วง จะบริหารได้มีเพียงพอน้ำกินใช้ การเกษตร ต้องอธิบาย ในภาพเลวร้ายก่อน ประชาชนจะได้สบายใจ การกำหนดปริมาณน้ำการเกษตร ได้ทำมาทุกปี เพาะปลูกนาปรังไม่เกิน 1.6ล้านไร่ ปลูกข้าวเกินแผน 7แสนไร่ หลังเดือน พ.ค.ฝนไม่ตก จะมีปัญหา โดยท่านนายกรัฐมนตรี เห็นใจเกษตรกรที่เชื่อฟังงดทำนาปรัง ไปปลูกพืช ใช้น้ำ น้อย จะได้ช่วยค่าครองชีพไร่ละ 600 บาท รายละไม่เกิน 15ไร่ จะได้ 9 พันบาท ที่ผ่านมาเรามีจุดอ่อน ชักชวนเกษตรกรให้ปลูกแต่หาตลาดไม่ได้ ในปีนี้ปลูกแล้วเราไปดูแลใกล้ชิด ไปเจรจาให้เอกชนมาซื้อราคาประกัน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากเดิมปลูกเพียง 4แสนไร่ เพิ่มมาถึง 9 แสนไร่ อีกทั้งข้าวโพดได้ราคาดีด้วย ชาวนาเปลี่ยนพฤติกรรม เชื่อฟัง กระทรวงเกษตรฯมากขึ้น”นายกฤษฏา กล่าว

รมว.เกษตรฯกล่าวว่าจากนี้จะเข้าหน้าแล้งเต็มที่ได้ให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ อธิบดีชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเษตร แบ่งพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำสามระดับ คือแห้งแล้งรุนแรง 4 จังหวัด น้ำไม่เพียงพออุปโภค บริโภค คือ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สารคาม ศรีษะเกษ และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลน ไม่เพียงพอทำเกษตร 7จังหวัด เชียงใหม่ เลย นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ได้นำกระจายเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำให้ชาวบ้าน ได้นำเครื่องมือเครื่องจักรวางแล้วทุกพื้นที่ ไปช่วยเหลือดูแลตลอดเวลาเต็มรูปแบบ และพื้นที่เสี่ยงเริ่มมีปัญหา 30จังหวัด อาทิ อาทิ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ นครพนม หนองบัวลำภู เป็นต้น

“นายกรัฐมนตรี สั่งย้ำให้ดูแลเรื่องน้ำกินน้ำใช้ทั้งในเขต และนอกเขตชลประทานยืนยันว่าทางกระทรวงเกษตรฯ หน่วยงานเกี่ยวข้อง ดูแลติดตาม ช่วยเหลือประชาขนตลอดเวลา และถ้าฝนไม่ตกเลยมีมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้งให้ทุเลาลงไปได้ ในส่วนการทำฝนหลวง ได้สั่งการว่าถ้ามีความสัมพัทธ์ร้อยละ60ขึ้นบินทันทีแม้ฝนไม่ตกก็ทำให้อากาศชื้นได้ และกระจายหน่วยฝนหลวงไป10แห่ง ครอบคลุม เพ็งเล็งภาคเหนือ ภาคอีสาน ทำงานตลอด24ชม เข้าเงื่อนไขขึ้นทำทันที พร้อมกับติดตามแก้ไขฝุ่นละออง ภาคเหนือ ภาคอีสานด้วย ปัญหาสภาพอากาศมาจากผลกระทบโลกร้อน ทำให้หน้าแล้ง ร้อนจัด มีปัญหา หมอกควัน ปีนี้ประชาชนจึงต้องประสบภัยกับสามสถานการณ์ เจ้าหน้าที่ทุกคนไม่ท้อถอย มีกำลังใจช่วยเหลือประชาชน”นายกฤษฏา กล่าว.