วงเสาวนาวิชาการจวกสูตรคำนวนส.ส.มีปัญหา
การเมือง

ส่วนอีกวิธีคือจัดตามจำนวนเต็มตัวเลข 170 กว่า โดยบรรดาพรรคที่ได้ส.ส.เกิน 71,057 ก็จัดตามจำนวนเต็ม 152 ก็มีประเด็นที่ไปเอาเศษ 71,057 จากที่ต่างๆ ซึ่งการตีความจากกรธ.เหมือนว่าจะพอไปได้ แต่ตนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะเป็นการตีความที่มีปัญหาในแง่ รัฐธรรมนูญนี้ออกแบบมาในระบบการเลือกตั้งทุกๆ 71,057 คะแนน ของทุกพรรคหารด้วย 500 จะได้ส.ส.1 คน ซึ่งออกมาแล้วคือ 152 คน ก็ต้องทำตาม (7) ของมาตรา 28 จาก 152 ก็ย่อตามอัตราส่วนให้เหลือ 150 ก็จบ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าพอตีความได้ 2 ทางผลลัพธ์คือหากตีความในแบบที่ตนเห็นว่าถูกต้องแต่ในข้างของพรรคที่ลงสัตยาบรรณกันก็จะไม่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มี 253 คน แสดงว่าพลังประชารัฐไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงถึงครึ่งได้เลย แต่พอใช้สูตรของกรธ. ตัวเลขของพรรคที่ไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์ จะเหลือแค่ 246 เสียง ทำให้มีความเป็นไปได้ขึ้นมาว่าพปชร.จะสามารถตั้งรัฐบาลที่มีเสียงเกิน 250 ได้ทันที
ดังนั้นเมื่อมีการตีความได้ 2 ทางตนคิดว่าก็ต้องมีความเที่ยงธรรม การจะเอาสส.1 คน ยังได้ไม่ครบ กลับเอาไปแจกพรรคที่ได้คะแนนไม่ถึงค่าเฉลี่ย ขึ้นมาก็ถือว่าขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และอย่าลืมว่า (5) ของมาตร 128 นั้นเขียนไว้ว่าจะจัดให้จำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเกินกว่าจำนวนส.ส.พึงมีไม่ได้ ปรากฎว่าพรรคท้ายๆ ได้ 0.4 คนแล้วจะถือว่าได้ ส.ส. 1 คนได้อย่างไร กรณีเป็นไปได้อย่างเดียวคือจัดให้จำนวนเต็มแล้วไม่ถึง 150 ถึงจะเอาเศษจากมากไปหาน้อยตามลำดับ แต่พอจัดแล้วครบเกิน 150 ก็ไม่มีประเด็นที่ต้องไปเอาคนที่ต่ำกว่า 71,057 มา ตนมองว่าการที่กรธ.ตีความแบบนี้ก็ป็นเรื่องของกรธ. แต่คนตีความคือ กกต.จะตีความอย่างไร ท่ามกลางกระแสที่คนเริ่มคลางแคลงใจ ตนไม่ได้บอกว่ากกต.ทำหน้าที่ไม่ดี หรือมีปัญหา แต่การตีความไปในทางใดทางหนึ่งก็จะให้ผลไปอีกแบบหนึ่ง ทั้งนี้ตนมองว่าการเขียนกฎหมายให้ตีความ 2 ทาง คือสิ่งที่อันตรายที่สุด แล้วถึงเวลาเลือกใช้ทางใดทางหนึ่ง เกรงว่าจะเป็นแบบนั้นหรือไม่ นี่เป็นการตั้งคำถาม ซึ่งตนไม่อยากให้เป็นแบบนั้น ถ้าต้องส่งศาลตีความก็เป็นหน้าที่กกต. ส่วนตัวมองว่าเรื่องสูตรควรออกมาชัดเจนก่อนหน้านี้นานแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนเรียกร้องการประกาศรับรองผลในวันที่ 9 ขอให้กกต.ประกาศให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขอย้ำว่าหากมีสิ่งที่มีปัญหาคสรใช้ประบวนการทางศาล อย่าลงมาบนท้องถนน ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ มีเสียงข้างมากก็อย่าไปขวางแล้วเราจะได้เห็นการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยไม่มีมาตรา 44
ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อกติกาที่ออกมาทำให้การเลือกตั้งมีปัญหาก็ต้องให้ศาลตีความอย่างยุติธรรม ออกมาแล้วทึกฝ่ายต้องยอมรับแม้จะไม่ถูกใจ บรรยากาศตอนนี้หากเทียบอดีตหลังดลือกตั้ง 2-3 วันก็ทราบผลใบแดง ใบเหลือง แต่ปัจจุบันเลือกตั้งจบกลายเป็นบรรยากาศที่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเลยว่าหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล แค่จำนวนส.ส. ตกลงแล้วเป็นเท่าไหร่ ตัวเลขก็ไม่นิ่ง ทำให้โอกาสแค่จะเปิดสภายังมองไม่เห็น นั่นหมายความว่าความหวังว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นกุญแจสู่การเมืงปกติกลับวร้างปัญหาใหม่ที่เราไม่เคยเจอ
ดังนั้นต้องตั้งสติ และตั้งคำถามว่าอะไรคือบทเรียนจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าปัญหาทั้งหมดอยู่ที่การออกแบบกติกาทางการเมืองก็ต้องเริ่มคิดถึงการสร้างกติกาที่ดีและเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งเดิมสถาปนิกที่ออกแบบกติกาขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายความมั่นคงทางทหาร ตอนร่างฯ กติกาก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็นแบบนี้ แค่ต้องการให้เพื่อไทยและคู่แข่งไม่สามารถมีส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เท่านั้น ส่วนกรณีที่ว่าจะต้องเลือกตั้งใหม่หรือไม่นั้น ตนมองว่าเป็นการถกเถียงที่ไม่จบ วันนี้สังคมอยากได้คำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้น และต้องมีคนรับผิดชอบ หลังจากนี้ตนมองได้อย่างเดียว่าเป็นการเมืองอายุสั้น
ด้าน ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า คุณสมบัติการเป็นประชาธิปไตยที่สำคัญคือความอดทน ตนยังเชื่อว่าหลัง 9 พ.ค.การเมืองยังมีทางออก ไม่ว่าใครจะเป็นนายกฯ ด้วยสูตรใด คณิตศาสตร์ใดก็ต้องเคารพ ปล่อยให้กลไกรัฐบาลเดินไป บริหารให้ได้ อย่าเรียกร้องระบบอื่นเข้ามา ต้องหยุดตัวเร่งเร้าปฏิกิริยา ไม่ต้องมีคนออกมาเชียร์ข้างถนน อยู่ไม่ได้ก็ยุบ แต่สิ่งสำคัญหลังมีรัฐบาลแล้วสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องมี ต้องได้รับการคุ้มครอง และกลไกที่ถูกออกแบบมาต้องทำงานได้ กลไกการตรวจสอบต้องทำงาน มีหลักนิติรัฐ นิติธรรม สุดท้ายเราต้องมีความหวังว่าจะมีอนาคต อย่าเพิ่งหดหู่ เมื่อมีรัฐบาลและดำเนินกิจกรรม โครงสร้างเศรษฐกิจ สังคมต้องถูกแก้ไข ลดความเหลื่อมล้ำในทุกด้านทั้งเศรษฐกิจและความยุติธรรมได้จริง อย่าทำให้เหลื่อมล้ำมากขึ้น ทั้งนี้ เรียนว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องยากและไม่มีความสมบูรณ์ หากใช้อารมณ์เข้ามาจะกลายเป็นอีกเรื่อง สิ่งสำคัญคือสามารถมีพัฒนาการได้ดังนั้นต้องปล่อยให้มีความต่อเนื่อง โดยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าการเมืองมีทางออก.