สำเร็จ! ฝนหลวงตกหลายจังหวัดแก้แล้ง-หมอกควัน
การเมือง

นายสุรีสีห์ กล่าวอีกว่า ส่วนปฏิบัติการเติมน้ำลงอ่างเก็บน้ำของเขื่อนใหญ่ที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่าร้อยละ 30 ตามที่กรมชลประทานประสานงานมาได้แก่ เขื่อนแม่มอก จังหวัดลำปาง เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ยังคงปฏิบัติการต่อเนื่องเพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองอย่เพียงพอตามแผนบริหารจัดการน้ำ จนถึงฤดูแล้ง 2562/2563

ด้าน นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อยอย่างเขื่อนอุบลรัตน์นั้น ได้กำหนดการใช้เท่าที่จำเป็น โดยปล่อยน้ำระดับต่ำสุดของการผลิตไฟฟ้าของเขื่อน ส่วนเขื่อนกระเสียวและเขื่อนทับเสลาสถานการณ์ดีขึ้น การทำนาปรังซึ่งเกินแผนที่กำหนดไว้ หลังเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจเกษตรกร ตอนนี้ถือว่าทรงตัวแล้ว มีการปลูกใหม่น้อยมาก ส่วนสถานการณ์จังหวัดที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ได้แก่ บางพื้นที่ของจังหวัด เชียงใหม่ ชัยภูมิ นครสวรรค์ เลย กาญจนบุรี ราชบุรี และนครราชสีมา จึงได้นำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำระบบชลประทานมาเสริมเพื่อใช้ผลิตน้ำประปา เช่น อ.พิมายและอ.เฉลิมพระเกียรติ นครราชสีมาสูบน้ำจากแม่มูลและแหล่งน้ำของชลประทาน จังหวัดเชียงใหม่ใช้ฝายแม่แตงลำเลียงน้ำมาให้เขตชุมชน ส่วนในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ก็ใช้รถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้ประชาชน
“หน้าแล้งนี้ไม่ได้รุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายวิตก การการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้มีน้ำเพียงพอใช้ รวมทั้งสำรองไว้ถึงต้นฤดูฝนและกรณีฝนทิ้งช่วง กรมชลฯวางยุทธศาสตร์ในอนาคตที่จะต้องเพิ่มแหล่งน้ำเพื่อรองรับการใช้น้ำที่มากขึ้นของทุกภาคส่วน ล่าสุดทำโครงการผันน้ำมาเติมเขื่อนภูมิพล จังหวัดตากปีละ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจากลำน้ำยวม โดยกั้นน้ำ ก่อนที่จะไหลไปบรรจบแม่น้ำสาละวิน ซึ่งจะสร้างอาคารชลประทาน หรือประตูน้ำกั้นน้ำไว้ และยกระดับน้ำ ใช้ระบบสูบย้อนกลับมาไว้จุดสูงสุดสันเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาตามแรงโน้มถ่วง ลงแม่น้ำปิง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล ปีนี้เริ่มสำรวจพื้นที่เพื่ออกแบบเป็นระบบท่อและอุโมงค์ใต้เขา คาดว่ารวมเวลาก่อสร้างแล้วจะเสร็จในอีก 5 – 6 ปีข้างหน้า ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้แก่ประเทศนั้น รัฐบาลกำหนดเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จเป็นรูปธรรม” นายทองเปลว กล่าว.