กรมชลฯเผยปริมาณน้ำเขื่อนเหลือ44% ยันมีใช้จนถึงฤดูฝน
การเมือง
อย่างไรก็ตามในพื้นที่เขตชลประทานทั่วประเทศ มีการปลูกข้าวรอบ2 เกินแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ทำให้ใช้น้ำเกินแผน ประมาณ 1,000 ล้าน ลบ.ม. จึงต้องดึงปริมาณน้ำที่สำรองช่วงต้นฤดูฝนมาใช้ก่อน โดยเฉพาะใน 32 จังหวัด ปลูกข้าวเกิน 1.18 ล้านไร่ ได้มีการปรับแผนการระบายน้ำให้เหมาะสม และดูแลไม่ให้เกิดความเสียหาย พร้อมกับขอความร่วมมือเกษตรกรงดเพาะปลูกข้าวต่อเนื่องหลังการเก็บเกี่ยว และควบคุมการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง ส่งผลให้สามารถช่วยลดระดับพื้นที่ใช้น้ำเกินแผนลงได้
“ยืนยันว่า ทุกกิจกรรมในพื้นที่เขตชลประทาน โดยเฉพาะการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค การทำการเกษตร และการรักษาระบบนิเวศ น้ำมีปริมาณเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ ถึงสิ้นเดือนเมษยายน และมีปริมาณน้ำสำรองต้นฤดูฝน จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม”นายทองเปลว กล่าว
“แต่พื้นที่นอกเขตชลประทาน 7 จังหวัด ยังน่าเป็นห่วง กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย กาญจนบุรี และราชบุรี เพราะอยู่นอกเขตการบริการของการปะปา และไม่มีแหล่งน้ำที่สามารถลำเลียงน้ำ เพื่อให้การช่วยเหลือได้ จึงได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดทำแผนให้การช่วยเหลือ ส่วนกรมชลประทาน ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ และเครื่องมือต่างๆ รวม 4,850 หน่วย ในพื้นที่เขตชลประทาน และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งทั่วประเทศ พร้อมใช้สนับสนุนภารกิจช่วยเหลือตลอดเวลาช่วงฤดูแล้งนี้ โดยสามารถแจ้งขอความช่วยได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือสายด่วยกรมชลประทาน 1460”อธิบดีกรมชลฯกล่าว
ทั้งนี้การปลูกข้าวรอบ 2 เกินแผนอีก 130,000 ไร่ ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน โดยใช้น้ำจากสถานีสูบน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม ได้มีการเตรียมแผนการช่วยเหลือไว้แล้ว และหากพื้นที่ดังกล่าวประกาศเป็นเขตภัยแล้ง ก็จะได้รับการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันมีการประกาศให้ 3 จังหวัด เป็นพื้นที่ภัยแล้ง ได้แก่ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และตราด
“ได้รณรงค์ให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด ดำเนินการมาต่อเนื่อง โดยรัฐบาลและรมว.เกษตรฯได้จัดทำโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ตั้งเป้าพื้นที่ 2 ล้านไร่ ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ พื้นที่ 7.4 แสนไร่ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะการปลูกข้าวโพเลี้ยงสัตว์ ใช้น้ำเพียง 1 ใน 3 ของการปลูกข้าว อีกทั้งมีการขอความร่วมมือทุกภาคส่วน ให้การใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และประหยัด โดยร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม เป็นการบูรณาการเชิงพื้นที่มาตลอด
นายทองเปลว กล่าวว่าขณะนี้ประชาชน เกษตรกร มีความตื่นตัวช่วยกันประหยัดน้ำ โดยมีดัชนีชี้วัดเช่น พื้นที่การเพาะปลูกข้าว 2 ลดลงหันมาปลูกพืชอื่นใช้น้ำน้อย และทุกชุมชน ช่วยกันสร้างแหล่งน้ำเพื่อกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ เช่น ฝายชะลอน้ำ พร้อมแบ่งปันน้ำกันใช้ ทำให้ปัญหาการแย่งน้ำหมดไป.