ปชช.80%มอง'กกต.'สอบตก อยากเห็นปท.สงบร้อยละ96
การเมือง

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0 ระบุการเมืองแบบเดิม นายกรัฐมนตรีคนเดิม หรือนายกรัฐมนตรีคนนอก จะนำปัญหาขัดแย้งให้กับคนในสังคมค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 26 ระบุว่า ค่อนข้างน้อย ถึง น้อยที่สุด นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.5 ระบุ การเมืองแบบเดิม นายกรัฐมนตรีคนเดิม หรือ นายกรัฐมนตรีคนนอก จะได้รับการยอมรับจากการเมืองฝ่ายต่าง ๆ ค่อนข้างน้อย ถึง ไม่ยอมรับเลย ในขณะที่ร้อยละ 23.5 ระบุได้รับความยอมรับค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.9 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.9 เห็นด้วยต่อการนำความขัดแย้งต่าง ๆ ไปคุยกันในแกนนำฝ่ายการเมือง มากกว่า นำความขัดแย้งมาสู่กลุ่มประชาชน และที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง ความเชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ในการดูแลความสงบ ความมั่นคงของประเทศที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 ค่อนข้างเชื่อมั่น ถึง เชื่อมั่นมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 16.5 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกือบทุกคนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขไม่อยากเห็นความขัดแย้งรุนแรงบานปลายเกิดขึ้น แนวทางการป้องกันเหตุไม่พึงประสงค์มีอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) ช่วยกันนำความขัดแย้งเชิงอำนาจการเมือง เช่น การจัดตั้งรัฐบาล การเสนอผู้เป็นนายกรัฐมนตรี และอื่นๆ หาทางออกภายในกลุ่มแกนนำการเมืองเสมือนเป็น สภาแบบไม่เป็นทางการ มากกว่าปล่อยความขัดแย้งมาใส่ในกลุ่มประชาชน เพราะจะควบคุมทิศทางได้ยาก 2) ทุกฝ่ายน่าจะหยุดการเติมเชื้อเพลิงเข้ากองไฟแห่งความขัดแย้ง หยุดข่าวลือ (Stop Rumours) แต่หันมารณรงค์ขับเคลื่อนประเทศเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการใช้ถ้อยคำทัศนคติที่ดีต่อกันและหน้าที่พลเมืองที่ดีผ่านการพูดคุยบอกต่อและการพูดคุยในโลกโซเชียล 3) หยุดการกระทำที่ฝ่าฝืนคุณธรรมจริยธรรมทางการเมืองและหยุดฝ่าฝืนเจตจำนงค์ของสาธารณชน ถ้าเป้าหมายหนึ่ง (Goal) อยู่ที่ความสงบมั่นคงของประเทศ วิธีการต่าง ๆ (Means) ต้องไม่นำไปสู่ความขัดแย้งในหมู่ประชาชนเหมือนที่ฝ่ายต่าง ๆ กำลังพยายามทำกันอยู่ตอนนี้ ถ้าหากฝืนทำต่อไป อาจจะต้องเหนื่อยกันอีกหลายเท่าตัวและบ้านเมืองก็จะถอยหลังเพราะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลในการบูรณะฟื้นฟูและเยียวยาประชาชน