เผยฤดูแล้งใช้น้ำแล้วทั่วประเทศ 20,049ล้านลบ.ม.
การเมือง

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า สำหรับจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน ลบ.ม.จากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ 6,500 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบํารุงแดน 400 ล้านลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 400 ล้านลบ.ม. และลุ่มน้ำแม่กลอง 700 ล้าน ลบ.ม.แยกเป็น เพื่อการอุปโภค – บริโภค 1,140 ล้านลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ และอื่นๆ 1,450 ล้านลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 5,410 ล้านลบ.ม.
“ผลการจัดสรรน้ำทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1พ.ย.2561 ถึง ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 20,495 ล้านลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 89 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มนํ้าเจ้าพระยา ใช้น้ำจาก 4เขื่อนหลัก เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ ป่าสักฯ และลุ่มนํ้าแม่กลอง โดยวันนี้ระบายไป 41 ล้านลบ.ม. รวมใช้น้ำไปแล้ว 8,237 ล้านลบ.ม.คิดเป็น ร้อยละ103 ของแผนจัดสรรน้ำ โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง เกินแผน5.5แสนไร่ จากแผนจัดสรรน้ำ 5.30ล้านไร่ มีพื้นที่ปลูกแล้วรวม 5.85ล้านไร่ นอกจากนี้จากแผนปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ 8.03ล้านไร่ ปลูกเกิน 8.74ล้านไร่ อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยว 5.40ล้านไร่ จึงขอความร่วมมือเกษตรกรงดปลูกนาปรังต่อเนื่อง เพื่อไม่นำน้ำสำรองฤดูหน้ามาใช้”นายทองเปลว กล่าว
นายทองเปลว กล่าวต่อว่า กรมชลประทานเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่นาปี นาปรัง อุปโภคบริโภค พืชไร่ ขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2561/2562 จํานวน 1,851 เครื่อง ปัจจุบันได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือตามพื้นที่ จํานวน 198 เครื่อง ในส่วนพื้นที่ปลูกข้าวนาปี พืชไร่ 9 จังหวัด เช่น อุตรดิตถ์ พิจิตร พะเยา ลำปาง น่าน ตาก บุรีรัมย์ เลย พื้นที่ปลูกนาปรัง 22 จังหวัด อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ นครราชสีมา อุดรธานี ศรีสะเกษ นครพนม หนองคาย ยโสธร อุบลราชธานี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง สุพรรณบุรี ราชบุรี และช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เช่น สุโขทัย เชียงราย แพร่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลย นนทบุรี ปทุมธานี ชัยนาท
นายทองเปลว กล่าวว่าขณะนี้มีเขื่อนขนาดใหญ่มีน้ำน้อยกว่า ร้อยละ 30 จำนวน8เขื่อน เช่น เขื่อนห้วยหลวง มีน้ำใช้การ ร้อยละ 21 เขื่อนอุบลรัตน์ ร้อยละ1 เขื่อนลำปาว ร้อยละ 22 เขื่อนลำพระเพลิง ร้อยละ 23 เขื่อนป่าสักฯ ร้อยละ 23 เขื่อนทับเสลา ร้อยละ15 เขื่อนกระเสียว ร้อยละ 6 เขื่อนขุนด่านปราการชล ร้อยละ 23 โดยมติคณะกรรมการร่วมใช้น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ให้ดึงน้ำก้นเขื่อนมาใช้อุปโภคบริโภคตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.นี้
“ยืนยันว่าในพื้นที่เขตชลประทาน จะไม่ขาดแคลนน้ำอย่างแน่นอน แม้จะเกิดปรากฏการณ์แอลนินโญ่ที่จะส่งผลกระทบให้ฤดูแล้งยาวนานกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ได้ถูกจัดสรรอย่างเพียงพอไปจนถึงเดือนพ.ค.62 และยังเพียงพอสำหรับสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนด้วย”นายทองเปลว กล่าว.