6วันเซ่นสงกรานต์โคราช-อุดรฯแชมป์ตายอื้อ
การเมือง
นายประสาร กล่าวต่อว่า สำหรับยอดสรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 6 วัน (วันที่ 11 – 16 เม.ย. 62) ปรากฎว่า เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 3,068 ครั้ง ผู้เสียชีวิต จำนวน 348ราย ผู้บาดเจ็บ จำนวน 3,176 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 5จังหวัด ได้แก่ ตรัง พังงา แม่ฮ่องสอน สุโขทัย และอ่างทอง ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ จำนวน 119 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา และอุดรธานี จังหวัดละ 15 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช จำนวน 126 คน
อธิบดีกรมควบคุมประพฤติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงยุติธรรมโดยตรง คือกรณีการควบคุมความประพฤติ ในวันที่ 16 เม.ย.62มีจำนวน 19 คดี เป็นคดีขับรถเมาสุราทั้งหมด สำหรับยอดสะสมสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติ ระหว่างวันที่ 11-16 เม.ย.62 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,642 คดี จำแนกเป็นคดีขับรถขณะเมาสุรา จำนวน 8,481 คดี คิดเป็น ร้อยละ 98.14 คดีชับเสพจำนวน 150 คดี คิดเป็น ร้อยละ 1.73 คดีขับรถแระมาท จำนวน 11 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.13 โดยจังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ มหาสารคราม จำนวน 596 คดี กรุงเทพมหานคร จำนวน480 คดี และนครพนม จำนวน 440 คดี
"ตัวเลข 6 วัน เป็นคดีเมาแล้วขับ 8,400 คดี เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันถือว่าลดลง ซึ่งมาตรการของกระทรวงยุติธรรม เราจะดูแลคนเหล่านี้โดยจะต้องไม่ให้กลับไปทำผิดซ้ำ คือการเมาสุราแล้วขับรถ ส่วนมาตรการเสริมในปีนี้ช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการใช้กำไรอิเล็กทรอนิกส์ใน 389 คน ห้ามออกจากบ้านตั้งแต่เวลา 22.00 - 05.00 น. เพื่อป้องปรามไม่ให้คนเหล่านี้ออกไปดื่มสุราแล้วขับรถ" นายประสาร กล่าว
นายประสาร กล่าวต่อว่า ในวันนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับจากภูมิลำเนาและการท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว แต่อาจมีบางส่วนที่ยังคงเดินทางอยู่ศปถ.ประสานจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนทุกเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ทั้งสถานีขนส่ง ท่าอากาศยาน ท่าเทียบเรือ และสถานีรถไฟทุกแห่งไม่ให้มีผู้โดยสารตกค้าง โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ ให้เข้มงวดการตรวจความพร้อมของรถและพนักงานขับรถ รวมถึงกวดขันไม่ให้มีรถเสริมที่ผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาดนอกจากนี้ ขอให้จังหวัดวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะอำเภอที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง (พื้นที่สีแดงและสีส้ม) เพื่อให้การขับเคลื่อนการสร้างความปลอดภัยทางถนนมีประสิทธิภาพในการลดความสูญเสียได้มากที่สุด.