ข่าว"ปิยบุตร"พ้อถูกแจ้งความหลายคดี ย้ำศาลวิจารณ์ได้ - kachon.com

"ปิยบุตร"พ้อถูกแจ้งความหลายคดี ย้ำศาลวิจารณ์ได้
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ที่กองบังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)​  ถนนแจ้งวัฒนะ นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกซึ่ง คสช. ได้กล่าวโทษไว้ที่ บก.ปอท. ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ในคดีแถลงการณ์ยุบพรรคไทยรักษาชาติใน 2 ข้อหาคือ 1.ดูหมิ่นศาล และ 2.นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เปิดเผยว่า ขอบคุณกองเชียร์และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรระหว่างประเทศ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ หรือ UNOHCR และนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​ ตนมั่นใจกับกระบวนการยุติธรรมของตำรวจ ซึ่งที่ผ่านมาก่อนที่จะมาเป็นนักการเมืองตนก็เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการวิพากษ์วิจารย์การทำงานของรัฐบาลเป็นปกติ ไม่เคยถูกร้องทุกข์มาก่อน แต่พอตั้งพรรคอนาคใหม่ ได้ไม่ถึงปีกลับถูกกล่าวหามากกว่าพรรคการเมืองอื่น โดยในครั้งนี้จึงต้องดูข้อเท็จจริงว่าตนกระทำความผิดอย่างไร เพราะมั่นใจว่าไม่มีถ้อยคำไหนที่ตนสร้างความเกลียดชัง การถูกแจ้งข้อกล่าวหาในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับพรรคอนาคตใหม่อย่างแน่นอน ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับ นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ บ้างแล้ว  และมีการให้กำลังใจซึ่งกันและกันตนไม่ทราบว่าจะมีผู้สังเกตการณ์จากสถานทูตหรือองค์กรระหว่างประเทศเดินทางมา แต่ได้มีการสอบถามว่าตนถูกดำเนินคดีเพราะอะไร ซึ่งได้มีการสอบถามทุกพรรคการเมือง 


ต่อมา เวลา 13.30 น. นายปิยบุตร เปิดเผยหลังเข้าพบพนักงานสอบสวน ปอท. ว่า ตนได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและจะเขียนคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 9 วัน หรือวันที่ 25 เม.ย. ส่วนกรณี พ.อ.บุรินทร์ ได้แจ้งความเอาผิดตนนั้นพบว่าเป็นฝ่ายกฎหมาย คสช. ได้เป็นผู้มอบอำนาจมาให้ร้องทุกข์ โดยตนตั้งข้อสังเกตว่าคนมาแจ้งความเป็นคน คสช. และ หัวหน้า คสช. ก็เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เป็นคู่แข่งของพรรคอนาคตใหม่ อย่างไรก็ตามกฎหมายทุกฉบับมอบอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายตุลาการและกำหนดให้ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ทั้งนี้ ในข้อหา ม.198 ดูหมิ่นศาล ซึ่งตามกฎหมายอาญานั้นสามารถให้บุคคลใดแจ้งความร้องทุกข์ก็ได้ และอาจเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตเนื่องจากหากตนผิดจริงก็จะเป็นบรรทัดฐานวิพากษ์วิจารณ์องค์กรต่างๆ ทำให้บุคคลที่สามสามารถแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดได้ โดยตนคิดว่ากฎหมายยังมีข้อบกพร่องสำหรับบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.อ.บุรินทร์ แจ้งความเอาผิดตนนั้น จากการตรวจสอบข้อความดังกล่าวไม่พบว่ามีคำที่ตนพูดและไม่มีถ้อยคำใดแสดงถึงการดูหมิ่นศาลแต่อย่างใด นอกจากนี้ ตนมาเป็นนักการเมืองแล้วต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เป็นจริง ซึ่งคิดว่านักการเมืองจากการยึดอำนาจ หรือผู้นำองค์กร ก็ต้องมีความอดทนต่อความคิดเห็นต่างให้ได้เช่นกัน


ด้าน กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ กล่าวว่า ตอนแรกขอพนักงานสอบสวนขยายระยะเวลา 15 วันแต่ทางพนักงานสอบสวนชี้แจงว่ามีการเร่งรัดจากผู้ใหญ่จึงไม่สามารถขยายเวลาได้ เมื่อมีการถามว่าข้อหา ม.198 ดูหมิ่นศาล อย่างไรแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบโดยช่วงเวลาเพียง 9 วันอาจจะไม่ทันต่อการส่งคำให้การและอาจร้องขอต่อชั้นอัยการอีกครั้งหาก พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปเรียบร้อยแล้ว "ทุกศาล วิจารณ์ได้อยู่แล้ว "นายกฤษฎางค์  กล่าว