ข่าวลุยวิจับตำรับกัญชารักษาโลก ดันก.ม.เอื้อผู้ป่วยเข้าถึง - kachon.com

ลุยวิจับตำรับกัญชารักษาโลก ดันก.ม.เอื้อผู้ป่วยเข้าถึง
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชุม “เริ่มต้นการวิจัยและสนับสนุนการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์” โดยจะเป็นความร่วมมือกันระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มูลนิธิข้าวขวัญ มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิชีววิถี โดย ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเดินหน้าวิจัยตำรับยารักษาโรคที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ตามสูตรของนายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ใช้งบประมาณจากสกว. และวช. โดยให้ผู้ป่วยได้รับยาต่อเนื่องตามแนวทางของนายเดชา จากนั้นในวันที่ 29-30 เม.ย. นายเดชาจะเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้ใช้กัญชาในการรักษาโรค และจากนั้นจะทำเรื่องขอวิจัยกัญชารักษาโรคในมนุษย์ ให้คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์พิจารณา คาดว่าจะเดินหน้าได้ภายใน 2-3 เดือนนี้  นอกจากนี้ก็จะนำเสนอตำรับยาของนายเดชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาบรรจุเพิ่มตำรับยาที่มีกัญชารักษาโรค ทั้งนี้ผลการวิจัยที่ได้จะมอบให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ  ส่วนระยะยาวจะมีการวิจัยองค์ความรู้เรื่องสารสำคัญในกัญชาต่อไป

นายเดชา กล่าว่า ความตั้งใจของคือให้ผู้ป่วยได้รับยาเร็วที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยเดิมกว่า 5 พันคน ที่กำลังรอยาอยู่ เพราะขาดยามาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. รวมถึงผู้ป่วยใหม่ ดังนั้นให้ตนเป็นอะไรก็ได้ ให้เป็นหมอ ให้เป็นนักวิจัยก็ทำ ส่วนของกลางที่ปปส.จับไปนั้นใช้ไม่ได้เพราะเป็นต้นกัญชา และน้ำปลา 25 ลิตร ดังนั้นที่จะต้องมาใช้สำหรับการวิจัยจะไปขอคัดของกลางที่ปปส.จับมา ซึ่งทราบว่ามีหลายเกรด เกรดเป็นยาก็มี แต่เอามาแล้วก็จะต้องตรวจสอบเรื่องความปลอดภัย เรื่องการปนเปื้อนอีกครั้ง สำหรับการวิจัยนี้เป็นการให้ยากับผู้ป่วยไปเรื่อยๆ และบันทึกเอาไว้ว่าสามารถรักษาอะไรได้บ้าง ทำไปเรื่อยๆ ผลที่ได้ก็จะยกประโยชน์ให้กับสังคม อย่างไรก็ตามเมื่อทำเรื่องการให้ยากับผู้ป่วยแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อคือผลักดันกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์ต่อไป

นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า สิ่งที่กรมฯ ต้องทำคือ 1.พิจารณาคุณสมบัติหมอพื้นบ้านของนายเดชา 2. หากนายเดชาเข้ารับการอบรมผู้ใช้กัญชาแล้ว หากประเมินผ่านก็จะส่งเรื่องให้อย.ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สามารถใช้ได้ 3.พิจารณาน้ำมันกัญชาสูตรของนายเดชาเพิ่มเติมจาก 16 ตำรับยาที่อนุญาตให้ใช้ได้ คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์ ผ่านการประการขึ้นทะเบียนยาแผนปัจจุบันต้องยากขึ้น แต่เข้าใจว่าอภ.-กรมการแพทย์ทำอยู่ การวิจัยในมนุษย์ จะมีกก.จริยธรรมพิจารณา ก่อนจะให้คนไข้ได้ต้องตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเช่นกัน

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา กล่าวว่า ยังมีทางเป็นไปได้ ที่อนาคตไทยจะได้ใช้กัญชาได้ตามหมู่บ้าน รพ.สต. ช่วยชีวิตคนและประหยัดงบประมาณด้านสุขภาพที่วิกฤตอยู่ อย่างไรก็ตาม น้ำมันกัญชาที่จะใช้อยู่นี้คงไม่พอ เพราะเชื่อว่ามีคนใช้จริงเป็นแสนคน ดังนั้นต่อท่อเอาชมรมกัญชาใช้ดินขึ้นมาอยู่บนดิน ก่อนวันที่ 19 พ.ค.ซึ่งพ้นช่วงนิรโทษกรรมกัญชาไปแล้วรวมถึงเปิดช่องให้ผู้เชี่ยวชาญจากชมรมกัญชาเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ด้วย

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต  กล่าวว่า ปัจจุบันคนขึ้นทะเบียนครอบครองน้ำมันกัญชากับอย. ประมาณ 1 พันคน แต่เท่าทีมีโอกาสพูดคุยอาจจะมีคนแอบใช้ 8 แสนคน ถึง 2 ล้านคน ดังนั้นที่ขึ้นทะเบียนยังน้อยมาก สะท้อนว่าหากยังปล่อยให้ใช้ และมีขั้นตอนแบบนี้ จะยังมีคนใช้ใต้ดิน ไร้การตรวจสอบคุณภาพ และราคาแพงอีกจำนวนมาก ทั้งนี้จากวิเคราะห์สถานการณ์ที่คนมาขึ้นทะเบียนน้อยเพราะไม่แน่ใจสถานภาพหลังพ้นช่วงนิรโทษกรรม 19 พ.ค. ดังนั้นต้องทำกรณีอ.เดชาให้ชัดเรื่องการเข้าสู่กระบวนวิจัย และอีกทางคือรัฐต้องแก้กฎหมายอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยใช้ได้คล่อง ยืดหยุ่น โดยเฉพาะช่วงที่ภาครัฐสามารถอำนวยความสะดวกในการให้ยาผู้ป่วยได้.