กกจ.ชี้ไทยติดตม.เกาหลีใต้เหตุผีน้อยาละวาดหนัก
การเมือง

เมื่อวันที่ 22 เม.ย. นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า สำหรับปัญหาแรงงานที่ลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย (ผีน้อย) ซึ่งที่ผ่านมามีแรงงานผีน้อยกว่าจำนวน 1.2 แสนคน ที่ลักลอบเข้าไปทำงานโดยผิดกฎหมาย โดยที่หน่วยงานรัฐของไทย และเกาหลีใต้ได้ร่วมมือกันประชุมหาแนวทางในการแก้ไขตลอดมา เพื่อไม่ให้กระทบไม่กระทบปัญหาในทุกมิติ โดยเฉพาะปัญหาการท่องเที่ยว ส่วนแนวทางแก้ปัญหา เบื้องที่ผ่านมานั้น จะแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ 1. กลุ่มผีน้อยที่ลักลอบทำงานอยู่แล้ว ออกมารายงานตัวเพื่อกลับประเทศโดยสมัครใจระหว่างวันที่ 1 ต.ค.61-31 มี.ค.62 โดยที่จะไม่ติดแบล็กลิสต์ห้ามเข้าประเทศ 10 ปี มีโอกาสกลับเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องได้อีกครั้ง 2. กลุ่มแรงงานไทยที่จะเดินทางไปทำงานใหม่ ทางกระทรวงแรงงานได้เพิ่มโควตาให้กับแรงงานไทยได้ไปทำงานเพิ่มมากขึ้น กว่าปีละ 5,000 คน และ 3. มาตรการบังคับใช้กฎหมายกับแรงงานที่จะลักลอบไปทำงานที่เกาหลีใต้แบบผิดกฎหมาย โดยมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายและบทลงโทษกรณีที่ลักลอบไปทำงาน ขึ้นบัญชีดำบริษัทและสาย/นายหน้าที่หลอกลวงและดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ป้องกันและตรวจเข้มเพื่อสกัดกั้นการลักลอบไปทำงานที่สนามบินทั้งฝั่งไทยและประเทศเกาหลีใต้ หรือปลายทาง
นางเพชรรัตน์ กล่าวต่อว่า ซึ่งในส่วนของมาตรการสกัดกั้นการลักลอบไปทำงานที่เกาหลีใต้ ตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย.61 - 1 เม.ย. 62ที่ผ่านมา มีแรงงานที่จะเดินทางไปหางานทำที่เกาหลีใต้แล้ว 3,408 คน ระงับการเดินทางไปกว่า 2,503 คน และไม่ระงับการเดินทางไป 905 คน พร้อมทั้งดำเนินคดีกับนายหน้าจัดหางานจำนวน 24 ราย 18 คดี ส่วนมาตราการที่ให้แรงงานไทย (ผีน้อย) สมัครใจกลับประเทศไทยโดยไม่ติดแบล็กลิสต์กับทางการเกาหลีใต้นั้น มีจำนวนแรงงานในกลุ่มดังกล่าวสมัครกลับใจเพียง 1.5 หมื่นคน จาก 1.2 แสนคน นอกนั้นไม่มีการแจ้งความประสงค์เดินทางกลับเข้ามา โดยยืนยันว่ามาตราการดังกล่าวนั้นไม่มีการขยายเวลาเพิ่มให้อีก โดยหลักจากนี้ทางการไมยและเกาหลีใต้ จะใช้มาตราการที่เข้มงวด และไม่มีมาตราการผ่อนผันอีกต่อไป
เมื่อถามถึง ปัญหาล่าสุดที่คนไทยที่เดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ แล้วโดนกักตัวไว้ที่ ตม. พร้อมส่งกลับประเทศไทยยกลำ สาเหตุส่วนหนึ่งหลายง่ายมองว่าเป็นเพราะปัญหาผีน้อยนั้น นางเพชรรัตน์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งปัญหาผีน้อย ส่งผลกระทบต่อการคนไทยที่เดินทางไปเพื่อท่องเที่ยวที่เกาหลีใต้ แต่ทางการไทยเองก็พยายามหามาตราการแนวทางแก้ไขมาโดยตลอด ไม่ได้นิ่งเฉย โดยกระทรวฃแรงงานได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สถานกงสุลเกาหลีประจำประเทศไทย สำนักงาน HRD korea สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์เป็นต้น เพื่อหาแนวทางพร้อมกำชับบริษัทนำเที่ยวที่เห็นว่าหากคนไทยคนไหนที่มีท่าทางเหมือนจะลักลอบเข้าไปทำงานเกาหลีใต้ หรือมีลักษณะจะหนีทัวส์ โดยเน้นให้เขาเห็นว่าการกระทำลักษณะดังกล่าวเป็นการสร้างชื่อเสียงที่เสียหายให้กับประเทศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางการไทยและเกาหลีใต้ก็ต้องหาแนวทางในการแก้ไขต่อไป.