ข่าวอึ้ง!ไฟป่าโหม9จว.เหนือผลาญกว่า2ล้านไร่ - kachon.com

อึ้ง!ไฟป่าโหม9จว.เหนือผลาญกว่า2ล้านไร่
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่ 23 เม.ย. นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พร้อมด้วยนายสมโภชน์ มณีรัตน์ โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายดุลฤทธิ์ ฤทัยวรุณรัตน์ ผอ.ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ และนางชญานันท์ ภักดีจิตต์ ผอ.กองการบิน สำนักงานปลัดกระทรงทรัพยากรฯ ร่วมแถลงข่าวผลการดำเนินงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ

นายเถลิงศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือปี 2562 มีความรุนแรงกว่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพ ความแห้งแล้งจากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลให้ประเทศไทยมีความแห้งแล้งมากกว่าที่ผ่านมาและปรมิ าณ น้ําฝนในภาคเหนือของประเทศไทย ต่ํากว่าค่าปกติร้อยละ 10 ประกอบกับปริมาณเชื้อเพลิงสะสมที่สะสมจากปีที่แล้วมีจํานวนมาก ซึ่งหากเกิดการเผาจะเกิดการลุกลามของไฟได้ง่าย และสภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขาทําให้ยากต่อการเข้า ดับไฟ ส่งผลให้ปริมาณจุดความร้อนในปี 2562 มีปริมาณมาก และปัญหาหมอกควันจึงมีความรุนแรงกว่าที่ผ่านมา

นายเถลิงศักดิ์ กล่าวว่า โดยการแก้ปัญหา คพ.อยู่ระหว่างดำเนินการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ซึ่งกำหนดไว้ 3 มาตรการ คือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 2.การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง และ3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ

ด้านนายสมโภชน์ กล่าวเสริมว่า จากการวิเคราะห์จุดความร้อนในปี 2562 ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2561-10 เม.ย. 2562 พบจำนวนจุดความร้อนทั้งสิน 6,921 จุด แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 3,154 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 3,040 จุด และพื้นที่เกษตร 727 จุด ทั้งนี้สาเหตุที่มีจุดความร้อนอยู่ในพื้นที่ป่ามากกว่าพื้นที่เกษตร เป็นเพราะพื้นที่เกษตรกรรมเป็นที่ราบใกล้กับทางคมนาคม สามารถการดับไฟได้ทันท่วงที แต่ในพื้นที่ป่ามีลักษณะเป็นเขาสูงชัน เข้าดับไฟลำบากมาก บางพื้นที่ต้องใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าหลายชั่วโมงจึงจะถึงจุดเกิดไฟป่า ส่งผลให้จุดความร้อนเดิมลุกลามขยายเพิ่มขึ้น ทำให้ตรวจพบจุดความร้อนมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หลังจากที่สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่เริ่มลดลง จะเข้าสู่ระยะฟื้นฟูและสร้างความยั่งยืน ซึ่งจะมีการดำเนินการประสานและจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประเมินผลเอเออาร์ (AAR :After action review) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป

ขณะที่นายดุลฤทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาหลักที่ต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุของการเกิดไฟป่าเกิดจากวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากป่า เช่น เก็บของป่า เตรียมพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งมาตรการกำหนดช่วงเวลาห้ามเผา ทำให้ชุมชนเร่งใช้ไฟในกิจกรรมต่าง ก่อนประกาศและสิ้นสุดมาตรการ อย่างไรก็ตามกรมป่าไม้ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนถึงปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีบางชุมชนที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟป่า ดังนั้นกรมป่าไม้จึงต้องสำรวจว่าชุมชนใดที่มีจุดความร้อนเยอะ รวมทั้งตัวบุคคลหากพบเป็นชาวบ้านที่ลักลอบเผาป่าจะขึ้นบัญชีดำ และพิจารณาตัดสิทธิและขาดคุณสมบัติตามเกณฑ์ คทช. ได้

นางชญานันท์ กล่าวว่า กองการบินได้ร่วมสนับสนุนภารกิจดับไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยบินสำรวจรวม 76 เที่ยว ทิ้งน้ำดับไฟ 1,468 เที่ยว ปริมาณ 734,000 ลิตร ทำการบินรวม 232.05 ชั่วโมง โดยการบินสำรวจและทิ้งน้ำดับไฟป่า เป็นการลดความรุนแรงและการกระจายตัวของไฟป่า เนื่องจากบางพื้นที่ไฟโหมแรงภาคพื้นดินไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ทิ้งน้ำเพื่อลดความรุนแรงก่อนที่หน่วยภาคพื้นที่จะเข้าพื้นที่เพื่อดับไฟอีกครั้ง

ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า เปิดเผยข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ 9 จังหวัดภาคเหนือ จากข้อมูลดาวเทียม Landsat-8 ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 16 มี.ค.พบว่า มีพื้นที่เผาไหม้ ทั้งพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เขตสปก. ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ริมทางหลวง พื้นที่เกษตร ชุมชนและอื่นๆ รวม 2,680,634 ไร่ สูงสุดอยู่ที่จ.ตาก รวมพื้นที่เผาไหม้ 791,301 ไร่ จ. ลำปาง รวม 470,009 ไร่ จ.เชียงใหม่ รวม 374,313 ไร่ จ.น่าน รวม 221,300 ไร่ จ.แม่ฮ่องสอน รวม 203,889 ไร่ จ.ลำพูน รวม 190,452 ไร่ จ.แพร่ รวม 176,107 ไร่ จ.พะเยา รวม 150,995 ไร่ และจ.เชียงราย 102,268 ไร่.