ข่าวกษ.สั่งด่วนลดสวนยางพารา-ปาล์ม ปลูกกล้วยหอม-กาแฟ-พืชผัก - kachon.com

กษ.สั่งด่วนลดสวนยางพารา-ปาล์ม ปลูกกล้วยหอม-กาแฟ-พืชผัก
การเมือง

photodune-2043745-college-student-s
เมื่อวันที่1 พ.ค. นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ส่งไลน์ด่วนเรื่อง ข้อแนะนำในการทำงานตามภารกิจและบทบาทใหม่ให้ประสบความสำเร็จ (Coaching Tips) ถึงปลัดกระทรวงฯและผู้บริหารทุกกรม รวมทั้งกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าฯนายอำเภอทุกจังหวัด ตามที่ได้กำหนดให้หน่วยงานในสังกัด กษ. ในพื้นที่และในส่วนกลางได้ปรับภารกิจและบทบาทใหม่ให้ครอบคลุมทั้งงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและงานด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนเพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผลผลิตหรือมีตลาดรองรับผลผลิตซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำที่ทำให้เกษตรกรมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากในการพยุงราคาสินค้าเกษตรในรูปแบบโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาภาระการเงินและการคลังของประทศ นั้น

รมว.กษ. ขอทบทวนแนวทางและวิธีการทำงานดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้ชี้แจงผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ Web Conference ไปทุกจังหวัดแล้วอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้ 1.ขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร่วมกับเกษตรจังหวัดไปขอพบ ผวจ. ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) ตามพ.ร.บ. เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานตามภารกิจและบทบาทใหม่ของหน่วยงานในสังกัด กษ. เพื่อให้ผวจ. ได้พิจารณาสนับสนุนแนวทางการทำงานดังกล่าวซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานของหน่วยงาน กษ. ในจังหวัดได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนในจังหวัดมากขึ้น รวมทั้ง ผวจ. อาจสนับสนุนงบประมาณพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการและหรือจากองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) มาใช้สนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจและบทบาทใหม่ของหน่วยงาน กษ. ภายในจังหวัดได้ด้วย

2.เนื่องจากคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) มีองค์ประกอบที่มาจากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน จึงขอให้ใช้การประชุม อ.พ.ก. ในการตกลงกันเพื่อจัดกลุ่มงานและมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานต่างๆ ไปปฏิบัติในรูปคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force)  3.ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินงานตามภารกิจใหม่นี้ ขอให้เกษตรจังหวัดได้แนะนำและประสานงานให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรสมัยใหม่ (Young Smart Farmers) ที่เป็นบุตรหลานของเกษตรกรในพื้นที่และผ่านการอบรมจากสำนักเกษตรจังหวัดแล้วให้เข้ามามีบทบาทร่วมในการทำหน้าที่ทั้งฝ่ายส่งเสริมการผลิตและฝ่ายประสานงานระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่เข้ามารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ด้วย 4.ในการทำงานตามภารกิจและบทบาทข้างต้นเมื่อ อ.พ.ก. สามารถประสานและเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายเกษตรกรผู้ผลิตกับฝ่ายการตลาดได้แล้ว ก็อาจจะพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ให้สอดคล้องหรือสนองตอบต่อนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” รวมทั้งการนำมาขยายผลหรือต่อยอดโครงการและแผนงานการเกษตรสำคัญๆซึ่ง รมว.กษ. ได้สั่งการหรือมอบหมายไปแล้วให้ต่อเนื่องกันได้

5.เมื่อกลุ่มเกษตรกรเริ่มมีความเข้มแข็งหรือผลผลิตเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นแล้ว ขอให้สหกรณ์จังหวัดเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้มีตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรเข้ามาทำหน้าที่ในการติดต่อเพื่อขายผลผลิตกับภาคเอกชนโดยตรงแทนหน่วยงานรัฐต่อไป 6.ขอให้ที่ประชุม อ.พ.ก. จังหวัด นำข้อมูลที่ได้จากคณะทำงานเฉพาะกิจในข้อ 2.1 และ 2.2 ประเมินสถานการณ์และปัญหาการเกษตรของพื้นที่ในด้านต่างๆ เพื่อพิจารณาว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตทางการเกษตรของพื้นที่การเกษตรที่ไม่เหมาะสม ไปใช้พื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนที่เกษตร (Agri-Map) หรือลดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวไปทำการเกษตรแบบผสมผสานหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริหรือลดการทำเกษตรกรรมจากชนิดหนึ่งไปทำการเกษตรชนิดใหม่ที่เป็นความต้องการของตลาดเพื่อลดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด (Over Supply) เช่น ลดพื้นที่สวนยางพาราหรือสวนปาล์ม ไปปลูกกล้วยหอม กาแฟ หรือพืชผัก แซมระหว่างแถวต้นยางพารา หรือต้นปาล์ม หรือลดพื้นที่การทำนาปรัง ไปปลูกพืชตระกูลถั่วหรือข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ตลาดต้องการ เป็นต้น

7.ในส่วนกลาง นั้น ขอให้ ปล.กษ. จัดกลุ่มงานและมอบหมายภารกิจให้สำนักงานปลัด/กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่าและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจรวมทั้งองค์การมหาชนในสังกัด กษ. ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับภารกิจงานในพื้นที่เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานอำนวยการและสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้แบ่งเป็นกลุ่มงานดังนี้ 8.ขอให้คณะทำงานเฉพาะกิจในข้อ 2.1 และ 2.2 ที่มอบหมายโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) และกลุ่มงานส่วนกลาง ที่แต่งตั้งโดย ปล.กษ. รายงานข้อมูลความก้าวหน้าและสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดทั้งหมด ให้กับ ปล.กษ. โดยขอให้สำนักงานปลัดกระทรวง กษ. ออกแบบรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลและเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างทันท่วงที 9.ขอมอบหมายให้ ผต.กษ. ทุกเขตได้ไปติดตามการทำงานของหน่วย กษ.ในพื้นที่ว่าได้ดำเนินการตามภารกิจข้างต้นไปแล้วอย่างไรหรือไม่โดยเฉพาะภารกิจตามข้อ 1 และข้อ 2 นั้น ขอให้ตรวจสอบและกำชับเป็นรายจังหวัดว่าหน่วยงาน กษ. ทุกจังหวัดต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค.นี้.